ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว: จีนใช้การ์ตูนล้อเลียนการเมืองเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกาจริงหรือ?


สำนักข่าวซินหัวของจีน ใช้การ์ตูนเสียดสีการเมือง เพื่อล้อเลียนประเด็นนโยบายสหรัฐฯ ทั้งภายในและต่างประเทศ ในรูปแบบภาษาอังกฤษ
สำนักข่าวซินหัวของจีน ใช้การ์ตูนเสียดสีการเมือง เพื่อล้อเลียนประเด็นนโยบายสหรัฐฯ ทั้งภายในและต่างประเทศ ในรูปแบบภาษาอังกฤษ

การ์ตูนล้อเลียนการเมืองที่มุ่งวิจารณ์ทางการจีนนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามบนโลกอินเตอร์เน็ต แต่สื่อรัฐบาลจีนได้หันไปใช้เครื่องมือนี้ เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อและเพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนของสหรัฐฯ บนสื่อสังคมออนไลน์ตะวันตก ซึ่งทีมตรวจสอบข่าว Polygraph ได้ค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้มานำเสนอ

Beijing Weaponizes Political Cartoons to Reach Western Audiences with Anti-U.S. Propaganda.
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:14 0:00

ในช่วงสงครามเย็น รัฐบาลต่างใช้การ์ตูนล้อเลียนการเมือง เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในประเด็นภายในและต่างประเทศ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้วสำหรับรูปแบบการทูตสาธารณะและสื่อแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน การ์ตูนลักษณะนี้ยังคงเป็นเครื่องมือเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อสำหรับระบอบเผด็จการมากมาย รวมทั้งจีน

การใช้การ์ตูนล้อเลียนการเมืองได้ถูกโหมกระพือ ผ่านการถือกำเนิดของ Generative AI

การ์ตูนล้อเลียนการเมือง ที่ล้อเลียนทางการจีนนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามบนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม ในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ตะวันตก สื่อรัฐบาลจีนได้หันไปใช้เครื่องมือนี้ เพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนของสหรัฐฯ

บัญชีนิรนาม Valiant Panda บนสื่อสังคมออนไลน์ X (เดิมคือทวิตเตอร์) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือลักษณะดังกล่าว บัญชีนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2014 แต่มีโพสต์เพียงแค่ 850 ทวีต ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเป้าโจมตีสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรด้วยการล้อเลียนที่มุ่งประสงค์ร้าย

บัญชี Valiant Panda บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ X บัญชีดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อปี 2014 มีโพสต์ 850 ทวีต และมีผู้ติดตามราว 4,400 ราย
บัญชี Valiant Panda บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ X บัญชีดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อปี 2014 มีโพสต์ 850 ทวีต และมีผู้ติดตามราว 4,400 ราย

ทีมตรวจสอบข่าว Polygraph.info ได้ตรวจพบนักเขียนการ์ตูน 5 รายที่อยู่เบื้องหลังบัญชี Valiant Panda

โดย เฉิน เซีย, หลิว รุ่ย และถัง เฟิงเฟ่ย นักข่าวจากสื่อของทางการจีน Global Times หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์รายวันภาคภาษาอังกฤษ ภายใต้การอุปถัมภ์ของหนังสือพิมพ์ People's Daily หนังสือพิมพ์เรือธงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่นำเสนอข่าวสารและบทความเกี่ยวกับประเด็นระหว่างประเทศจากมุมมองของชาตินิยมจีน และเป็นส่วนสำคัญของการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

นอกจากนี้ ยังมีคาร์ลอส ลาทัฟฟ์ นักเขียนการ์ตูนล้อเลียนชาวบราซิล ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานการ์ตูนที่มีธีมแนวคิดต่อต้านชาติตะวันตกและต่อต้านทุนนิยม และวิตาลี พอดวิตสกี นักเขียนการ์ตูนจากรัสเซีย ซึ่งทำการ์ตูนล้อเลียนให้กับสื่อทางการรัสเซีย Sputnik News ใน ประวัติส่วนตัวของเขา ระบุว่า เขาได้ฉายภาพของ “มุมมองของรัสเซียต่อประเด็นต่าง ๆ ของโลก”

นอกเหนือจากฐานผู้ติดตามที่ 4,400 ราย เนื้อหาของ Valiant Panda ถูกแชร์โดยสื่อของทางการจีน เจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานของจีน รวมถึงสถานทูตจีนประจำประเทศต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ Valiant Panda ยังมีเพจเฉพาะในเว็บไซต์ของ Global Times อีกด้วย

ในเนื้อหาการ์ตูนของ Valiant Panda สหรัฐฯ ได้รับการฉายภาพว่าเป็นผู้ร้ายระดับสูงสุด และจีนได้รับการฉายภาพว่าเป็นซูเปอร์ฮีโร่ ทุกสิ่งที่สหรัฐฯ ทำทั้งในประเทศและในระดับโลกถูกมองว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ขณะที่จีนถูกนำเสนอในรูปแบบของแสงนำทางแห่งประชาธิปไตยและเสรีภาพ

ตัวอย่างของเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว ก็มีทั้งการนำเสนอเรื่องการช่วยเหลือยูเครนในการปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย ที่เผยแพร่ในรูปแบบของความหน้าซื่อใจคดและตักตวงผลประโยชน์จากความขัดแย้งระดับโลกของสหรัฐฯ

ผลงานการ์ตูนโดย Valiant Panda ล้อเลียนหนทางที่สหรัฐฯ ตักตวงผลประโยชน์จากความขัดแย้งระดับโลก
ผลงานการ์ตูนโดย Valiant Panda ล้อเลียนหนทางที่สหรัฐฯ ตักตวงผลประโยชน์จากความขัดแย้งระดับโลก

ความรุนแรงจากอาวุธปืน — ผลงานชิ้นโบว์แดงแห่งความฝันอเมริกัน

การประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ — ว่าเป็นเรื่องสองมาตรฐาน และอีกมากมาย

ผลงานการ์ตูนโดย Valiant Panda ล้อเลียนประเด็นด้านนโยบายทั้งในและต่างประเทศของสหรัฐฯ
ผลงานการ์ตูนโดย Valiant Panda ล้อเลียนประเด็นด้านนโยบายทั้งในและต่างประเทศของสหรัฐฯ

เป้าหมายเดียวของ Valiant Panda คือการโจมตีสหรัฐฯ และสร้างภาพให้จีนให้ดูดี ในระหว่างที่เนื้อหาการ์ตูนล้อเลียนของ Valiant Panda บนเว็บไซต์หลักในภาษาจีนกลางนั้น ไม่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าวอยู่เลย เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าผู้ที่พยายามนำเสนอเนื้อหาโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลจีนมองว่าเนื้อหาเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในประเทศ

ในรายงานเมื่อปี 2022 ว่าด้วยการตรวจสอบปฏิบัติการด้านการเผยแผ่อิทธิพลของจีนในระดับโลกของ Freedom House เผยให้เห็นว่า โฆษณาชวนเชื่อในต่างประเทศของรัฐบาลปักกิ่งมุ่งเป้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย ที่รวมทั้งผู้ที่บริโภคข่าวสาร ชาวจีนที่อาศัยในต่างแดน ชุมชนจีนในต่างประเทศ และผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติในจีน

ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสื่อ Global Times เท่านั้น แต่สื่อรัฐบาลจีนอย่างซินหัว ได้ใช้การ์ตูนเสียดสีการเมืองเพื่อล้อเลียนนโยบายทั้งในและต่างประเทศของสหรัฐฯ ในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษเช่นกัน

สื่อซินหัวซึ่งเป็นสื่ออันดับต้น ๆ ของจีน ได้กำหนดรูปแบบการนำเสนอข่าวให้กับสื่อต่าง ๆ ของจีน ว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมืองมากมาย

สื่อซินหัวได้ใช้การ์ตูนล้อเลียนการเมืองในการล้อเลียนประเด็นนโยบายทั้งในและต่างประเทศของสหรัฐฯ ในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของสื่อซินหัว
สื่อซินหัวได้ใช้การ์ตูนล้อเลียนการเมืองในการล้อเลียนประเด็นนโยบายทั้งในและต่างประเทศของสหรัฐฯ ในเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของสื่อซินหัว

สิ่งที่การ์ตูนของสื่อซินหัวเหมือนกับ Valiant Panda ก็คือการไม่หยุดเพียงแค่ล้อเลียนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังลุกลามไปถึงประเด็นด้านสังคมและโศกนาฏกรรมต่าง ๆ เช่น ล้อเลียนประเด็นความรุนแรงจากอาวุธปืนที่เกิดขึ้นในหลายเมืองของอเมริกา

หนึ่งในเนื้อหาการ์ตูนที่ชื่อว่า “วิถีของประเทศที่รักกระบอกปืนฉลองสุดสัปดาห์วันชาติ” ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมปี 2021 และปี 2023

ภาพในการ์ตูนแสดงให้เห็นชาย 2 คนในชุดสูทนักธุรกิจชนแก้วไวน์กันและตะโกนว่า “แด่เสรีภาพ” ระหว่างที่มีมือปืนอยู่ข้าง ๆ พวกเขาและช่วยพูดจบประโยคให้ว่า “ของการยิงปืน”

ยิ่งไปกว่านั้น สื่อ Global Times มีการ์ตูนที่ล้อเลียนสหรัฐฯ ในวันครบรอบเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน หรือ 9/11 เมื่อผู้ก่อการร้ายยึดเครื่องบินพาณิชย์และใช้โจมตีอาคาร์เวิลด์ เทรด เซนเตอร์และตึกเพนตากอนของสหรัฐฯ เมื่อปี 2001

บัญชีทางการของ Global Times ได้แชร์ภาพการ์ตูนผลงานของ เฉิน เซีย และแท็ก Valiant Panda โดยมีข้อความที่ระบุว่า “สหรัฐฯ ยังคงส่งออกความวุ่นวาย 22 ปีหลัง 9/11” ซึ่งเป็นการ์ตูนที่มีรูปเทพเสรีภาพมองลงมาที่แผ่นกระดาษ ที่มีข้อความเขียนว่า “22 ปีหลัง 9/11” ขณะที่เงาของเทพีเสรีภาพด้านหลังนั้นเต็มไปด้วยรูกระสุนและระเบิดขวด โพสต์ดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อ 10 กันยายน และมียอดวิวเกือบ 29,000 ครั้ง

คลิปการ์ตูนเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของสื่อรัฐบาลจีนในการผลักดันโฆษณาชวนเชื่อและข้อมูลบิดเบือนที่ต่อต้านอเมริกา อย่างเช่น ในคลิปวิดีโอสั้นในชื่อว่า “กาลครั้งหนึ่งของไวรัส” สื่อซินหัวได้ล้อเลียนถ้อยแถลงของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับโควิด-19

การ์ตูนดังกล่าวได้พูดถึงคำอธิบายของทรัมป์เกี่ยวกับโควิด-19 ว่า “ก็แค่ไข้หวัดใหญ่” และคำแนะนำให้ “ไม่ต้องสวมหน้ากาก” จากนั้นก็ยกย่องจีนว่าจัดการกับวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างที่เทพีเสรีภาพ ที่เป็นตัวแทนของสหรัฐฯ มีภาพในลักษณะกำลังฉีดยาเข้าเส้นเลือด โดยคลิปดังกล่าวมียอดชม 2.3 ล้านครั้ง

การศึกษาของ University of the Philippines Los Baños อธิบายแนวทางที่จีนใช้การ์ตูนล้อเลียนการเมืองเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ของจีน และโยนความผิดให้กับสหรัฐฯ ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19

การศึกษาในชื่อว่า Visual Propaganda in The Time of COVID-19 ตรวจสอบเนื้อหาการ์ตูนล้อเลียนการเมือง 228 ชิ้นที่สื่อทางการจีนเผยแพร่ในช่วงโควิดระบาด พบว่าหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่สื่อทางการจีนนำมาใช้คือ “โจมตีผู้ที่กล่าวหา” เพื่อตอบโต้การกล่าวหาของทรัมป์ว่าจีนเป็นฝ่ายสร้างและแพร่เชื้อโคโรนาไวรัส

ในการศึกษาพบว่า ธีมการนำเสนอ 2 อย่าง ได้แก่ “สหรัฐฯ ล้มเหลวในการรับมือกับโควิด-19” และ “สหรัฐฯ โหมกระพือข้อมูลบิดเบือนและทฤษฎีสมคบคิด" ปกคลุมเนื้อหาหลัก ๆ ของโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลจีน โดยคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% ของเนื้อหาการ์ตูนที่นำเสนอ

ส่วนกลยุทธ์อื่น ๆ จากสื่อทางการจีน มีทั้ง “โยนความผิด” โดยพบว่า 14.5% ของเนื้อหาการ์ตูนอธิบายอย่างผิด ๆ ว่าโควิด-19 มีต้นตอมาจากสหรัฐฯ และอีก 14.0% ของเนื้อหาการ์ตูนเหล่านี้กล่าวหากสหรัฐฯ ว่าขัดขวางการต่อสู้กับโควิด-19 ของโลก

  • ที่มา: ฝ่าย Polygraph วีโอเอ
XS
SM
MD
LG