ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว - คลิปวิดีโออุโมงค์กาซ่า ทั้งจริงและปลอม ทำชาวเน็ตสับสนจริงหรือไม่?


ภาพจากคลิปวิดีโอที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีการขึ้นรายละเอียดผิดว่า เป็นภาพภายในอุโมงค์ในกาซ่า
ภาพจากคลิปวิดีโอที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีการขึ้นรายละเอียดผิดว่า เป็นภาพภายในอุโมงค์ในกาซ่า
WorldWarGist

WorldWarGist

ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม เอ็กซ ที่ได้รับ "เครื่องหมายถูกสีฟ้า" ซึ่งหมายถึงได้รับการยืนยันตัวตนแล้ว

“นี่คือกาซ่าโดยฝีมือฮามาส อุโมงค์ขนาดใหญ่ #HamasTerrorist #HamasisISIS #Israel #Gaza #Palestine”

เท็จ

ปัจจุบัน เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการชี้นำความคิดของสาธารณชนเกี่ยวกับสงครามอิสราเอล-ฮามาสอย่างมาก โดยมีอิทธิพบถึงขนาดกลายมาเป็นเครื่องมือขยายความโฆษณาชวนเชื่อและการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนต่าง ๆ ด้วย

และประเด็นหนึ่งที่เป็นตัวอย่างที่ดีของกรณีดังกล่าวที่มีการพูดถึงกันมาที่สุดเมื่อเร็ว ๆ นี้คือ อุโมงค์ลับใต้ฉนวนกาซ่า ซึ่งเป็นเครือข่ายทางเดินและบังเกอร์มากมายซึ่งแผ่ขยายและเชื่อมต่อกาซ่ากับอิสราเอล

ชาวเน็ตบางคนนำคลิปเก่า ๆ จากแหล่งอื่นมารีไซเคิลแล้วกล่าวอ้างอย่างผิด ๆ ว่า เป็นคลิปที่มาจากฉนวนกาซ่า โดยคลิป ๆ หนึ่งกลายมาเป็นไวรัลอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์กันอย่างแพร่หลายทางแพลตฟอร์ม เอ็กซ์ (X) และสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ

บนเอ็กซ์นั้น คลิปวิดีโอที่ว่าถูกผู้ใช้งานที่ผ่านการตรวจสอบตัวตนและได้รับ “เครื่องหมายถูกสีฟ้า” ที่ใช้ชื่อว่า WorldWarGist และระบุว่าเน้นการนำเสนอข้อมูล “สงครามอิสราเอลและปาเลสไตน์” นำมาโพสต์ใหม่ และอ้างว่า ตนต้องการแบ่งปัน “อัพเดทเกี่ยวกับสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์”

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน WorldWarGist โพสต์คลิปวิดีโออีกชิ้นที่แสดงให้เห็นภาพมอเตอร์ไซค์วิ่งไปตามอุโมงค์แห่งหนึ่ง พร้อมข้อความว่า:

“นี่คือกาซ่าโดยฝีมือฮามาส

“อุโมงค์ขนาดใหญ่

“#HamasTerrorist #HamasisISIS

“#Israel #Gaza #Palestine”

คำบรรยายใต้คลิปวิดีโอนี้มีเนื้อหาว่า “ขอต้อนรับสู่กาซ่า”

โพสต์ชิ้นนี้มีผู้เข้ามาชมแล้วกว่า 70,000 ครั้งและกลายมาเป็นหนึ่งใน 30 ทวีตติดอันดับที่เกี่ยวกับอุโมงค์กาซ่าแล้ว

ภาพถ่ายจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงให้เห็นโพสต์ของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ที่ชื่อ WorldWarGist เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 ซึ่งกล่าวอ้างอย่างผิด ๆ ว่า เป็นภาพของอุโมงค์แห่งหนึ่งใต้ฉนวนกาซ่า
ภาพถ่ายจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงให้เห็นโพสต์ของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ที่ชื่อ WorldWarGist เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 ซึ่งกล่าวอ้างอย่างผิด ๆ ว่า เป็นภาพของอุโมงค์แห่งหนึ่งใต้ฉนวนกาซ่า

ผู้ใช้งานเอ็กซ์ที่ได้รับเครื่องหมายถูกสีฟ้าอีกรายที่ชื่อ yarima619 แชร์คลิปวิดีโอเดียวกันนี้เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน โดยมีคำอธิบายว่า “นี่คือกาซ่า” และมีคนชมไปแล้วกว่า 233,000 ครั้ง

ส่วนผู้ใช้งานเอ็กซ์ที่ผ่านการตรวจสอบตัวตนแล้วอีกรายที่ใช้ชื่อ nihaalshuklaa แชร์คลิปแบบเดียวกันในวันที่ 5 พฤศจิกายนเช่นกัน พร้อมคำบรรยายว่า:

ขอต้อนรับสู่กาซ่าของจริง อุโมงค์ภายในเมือง...อุโมงค์ที่ไม่มีจุดสิ้นสุดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ก่อการร้ายฮามาส ผู้คนนับล้านสามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยที่นี่

มีผู้เข้ามาชมโพสต์นี้แล้วถึงกว่า 130,000 ครั้ง

และคลิปวิดีโอชิ้นเดียวกันนี้ก็ถูกผู้ใช้งานติ๊กตอก (TikTok) ที่ใช้ชื่อว่า world.gringo23dz นำไปโพสต์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมและมีผู้เข้าชมแล้วกว่า 10 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่า ตัวเลขการชมวิดีโออื่น ๆ มารวมกันอย่างมากด้วย

ภาพถ่ายจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงให้เห็นโพสต์ของผู้ใช้งานติ๊กตอกที่ชื่อ world.gringo23dz เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่กล่าวอ้างอย่างผิด ๆ เช่นกันว่า เป็นภาพของอุโมงคใต้ฉนวนกาซ่า โดยโพสต์นี้ดึงดูดผู้คนมาชมแล้วกว่า 10 ล้านครั้ง
ภาพถ่ายจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงให้เห็นโพสต์ของผู้ใช้งานติ๊กตอกที่ชื่อ world.gringo23dz เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่กล่าวอ้างอย่างผิด ๆ เช่นกันว่า เป็นภาพของอุโมงคใต้ฉนวนกาซ่า โดยโพสต์นี้ดึงดูดผู้คนมาชมแล้วกว่า 10 ล้านครั้ง

การตรวจสอบพบว่า มีผู้คนอีกหลายสิบคนที่นำคลิปเดียวกันนี้ไปโพสต์ทางติ๊กตอก โดยผู้ที่สนับสนุนปาเลสเตน์บางคนระบุอย่างผิด ๆ ว่า นี่คือคลิปวิดีโอจากฉนวนกาซ่า

โพสต์ที่ว่านี้ยังกระจายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น ยูทูบ (YouTube) เฟซบุ๊ก (Facebook) และสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ด้วย

ก่อนที่สถานการณ์ความขัดแย้งในกาซ่ารอบล่าสุดจะปะทุขึ้นมา มีการแชร์คลิปวิดีโอเดียวกันนี้ที่เป็นแบบยาวออกมา โดยมักมาพร้อมกับคำบรรยายในแบบสยดสยองแต่ไม่ได้มีการแท็กจุดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เลย

คลิปตั้งต้นดั้งเดิมนี้ถูกโพสต์เป็นครั้งแรกทางอินสตาแกรม (Instagram) โดยคิลเลียน โมเรโน ที่ระบุตัวเองว่าเป็นผู้ผลิตเนื้อหาดิจิทัล (digital creator) และนักขี่มอเตอร์โซค์ผจญเส้นทางป่าเขาตัวยง

คำบรรยายคลิปของ โมเรโน นั้น มีเนื้อหาว่า:

“คุณจะลงไปดูที่นั่นไหม คุณจะขี่มอเตอร์ไซค์ลงไปดูจนสุดทางไหม? ที่ข้างนอกนั้น อุณหภูมิไม่ถึง 10 องศาเซลเซี่ยส และอาจพุ่งถึงราว 30 องศาเซลเซียสได้”

โมเรโนนั้นไม่ได้ระบุจุดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของคลิปที่ว่า ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลิปอื่น ๆ ที่หาชมได้ทางยูทูบและแสดงให้เห็นภาพของเหมืองรีวอร์ด (Reward Mine) ซึ่งเป็นเหมืองร้างกลุ่มหนึ่งในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างแถบโลนไพน์ (Lone Pine) และแถบอินดิเพนเดนส์ (Independence) ในอินโยเคาน์ตี้ (Inyo County) รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีส่วนหนึ่งของกลุ่มเหมืองนี้ที่ใหญ่พอจะให้มอเตอร์ไซค์วิ่งผ่านได้

ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์หลายคนนำคลิปวิดีโอเก่า ๆ มารีไซเคิล พร้อมกล่าวอ้างอย่างผิด ๆ ว่า เป็นคลิปของอุโมงค์ของฮามาสด้วย

และคลิปชิ้นหนึ่งที่อ้างว่าเป็นภาพของอุโมงค์ฮามาสแต่ถูกพิสูจน์แล้วว่า เป็นของปลอม แสดงให้เห็นที่จริงแล้วเป็นบังเกอร์สำหรับการเครื่องส่งสัญญาณวิทยุของสวีเดน

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการพิสูจน์ว่า คลิปทั้งหลายนี้เป็นของปลอม นี่ไม่ได้หมายความว่า กลุ่มฮามาสไม่ได้มีเครือข่ายอุโมงค์ซับซ้อนอยู่ในกาซ่า ซึ่งรวมถึงอุโมงค์ที่มีความสามารถเอื้อให้มีการขับพาหนะผ่านได้

เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โมฮัมหมัด บาเกอรี หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำงานของกองทัพอากาศอิหร่าน ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนหลักของฮามาส กล่าวว่า อุโมงค์ต่าง ๆ นั้นมีความยาวรวมกันกว่า 400 กิโลเมตรและมีบางส่วนถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานมอเตอร์ไซค์และพาหนะขนาดใหญ่ได้ด้วย

อิสราเอลประเมินว่า อุโมงค์ฮามาสนั้นน่าจะมีมากถึง 1,300 จุดและครอบคลุมระยะทางกว่า 480 กิโลเมตรทั่วกาซ่า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง 10 กิโลเมตรและยาว 41 กิโลเมตร

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน กองกำลังป้องกันอิสราเอล (Israel Defense Force – IDF) เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ระบุว่า แสดงให้เห็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายอุโมงค์ของฮามาสที่ใต้โรงพยาบาล อัล-ชิฟา ออกมา

IDF ยังเผยแพร่คลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีประทับเวลา (time stamp) วันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่กลุ่มฮามาสทำการโจมตีรุนแรงเข้าใส่อิสราเอล พร้อมระบุว่า คลิปดังกล่าวแสดงเห็นภาพของกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ “ทำการบีบบังคับเคลื่อนย้ายตัวประกันผ่านพื้นที่โรงพยาบาล” ด้วย

อิสราเอลกล่าวว่า กลุ่มฮามาสประหารชีวิตทหารของตนไปอย่างน้อย 1 นายและใช้กำลังควบคุมตัวประกันไว้ราว 240 คนที่ในอุโมงค์ใต้โรงพยาบาล อัล-ชิฟา

นอกจากนั้น อิสราเอลยังเผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นปืนไรเฟิลอัตโนมัติ ตลับกระสุน เสื้อกันกระสุนและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อ้างว่า ยึดมาได้จากโรงพยาบาลแห่งนี้ด้วย

รัฐบาลอิสราเอลกล่าวหากลุ่มฮามาสว่า ใช้โรงพยาบาลชิฟาเป็น “ศูนย์บัญชาการ” ของตน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งฮามาสและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแห่งนี้ปฏิเสธมาโดยตลอด

XS
SM
MD
LG