ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว: จริงหรือไม่ ข้อกล่าวหาชาวปาเลสไตน์จัดฉากความสูญเสีย


ภาพที่ถูกบันทึกหน้าจอจากอินสตาแกรม ที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายนำมาอ้างอย่างผิด ๆ ว่าเป็นภาพการจัดฉากความเสียหายในกาซ่า แท้ที่จริงแล้วภาพเด็กหญิงในกรุงอเลปโป ประเทศซีเรีย เมื่อ 27 สิงหาคม 2016 ที่ถูกช่วยชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีทางอากาศของรัฐบาลซีเรีย
ภาพที่ถูกบันทึกหน้าจอจากอินสตาแกรม ที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายนำมาอ้างอย่างผิด ๆ ว่าเป็นภาพการจัดฉากความเสียหายในกาซ่า แท้ที่จริงแล้วภาพเด็กหญิงในกรุงอเลปโป ประเทศซีเรีย เมื่อ 27 สิงหาคม 2016 ที่ถูกช่วยชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีทางอากาศของรัฐบาลซีเรีย
rose_k01

rose_k01

ผู้ใช้งาน X ที่มีเครื่องหมายรับรองสีน้ำเงิน

“ปาลีวูดของปาเลสไตน์ใช้นักแสดงเด็กใกล้จะหมดแล้ว เด็กคนเดิมถูกช่วยชีวิตซ้ำไปซ้ำมา”

เท็จ

ในขณะที่การสู้รบด้วยอาวุธดำเนินไปที่ฉนวนกาซ่า แนวรบออนไลน์ก็เต็มไปด้วยการสร้างโฆษณาชวนเชื่อส่งไปยังผู้เล่นสื่อสังคมออนไลน์นับล้าน หนึ่งในนั้นคือการอ้างว่า ชาวปาเลสไตน์จัดฉากความสูญเสียจากการโจมตี หรือที่เรียกว่า “ปาลีวูด”

คำว่า “ปาลีวูด” คือการสมาสคำระหว่าง “ฮอลลีวูด” และ “ปาเลสไตน์” เป็นคำที่ผู้สนับสนุนอิสราเอลบนแพลตฟอร์ม X ใช้เพื่อสื่อว่ามีการจัดฉากความสูญเสียโดยชาวปาเลสไตน์ด้วยการนำคนมาแสดง เพื่อเอาชนะอิสราเอลในทางการประชาสัมพันธ์

เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซ่าด้วยการโจมตีทางอากาศและตามด้วยการบุกภาคพื้นดิน เพื่อตอบโต้การบุกสังหารชาวอิสราเอลจำนวน 1,400 ราย และจับคนราว 200 คนเป็นตัวประกันโดยฝีมือกลุ่มติดอาวุธฮามาส เมื่อ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขกาซ่าที่อยู่ใต้การปกครองของกลุ่มฮามาส ระบุว่าการโจมตีทางอากาศอย่างหนักจากอิสราเอลได้คร่าชีวิตคนไปแล้วมากกว่า 8,000 คน ในจำนวนนั้นเป็นเด็ก 3,000 คน

อิสราเอลปฏิเสธโดยกล่าวว่ากลุ่มฮามาสกล่าวอ้างเกินจริง ไม่เพียงเท่านั้น ในประเด็นเดียวกันนี้ ยังมีโพสต์โซเชียลมีเดียที่ได้รับการแชร์เป็นจำนวนมาก ที่ระบุว่าภาพความโหดร้ายและการเสียชีวิตในบางที่เป็นการจัดฉาก

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย X ที่ได้รับเครื่องหมายรับรองสีฟ้า ชื่อบัญชี rose_k01 ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 78,000 บัญชี ทวีตข้อความว่า “ปาลีวูดของปาเลสไตน์ใช้นักแสดงเด็กใกล้จะหมดแล้ว เด็กคนเดิมถูกช่วยชีวิตซ้ำไปซ้ำมา” พร้อมภาพเด็กหญิงรายหนึ่งที่ถูกช่วยเหลือโดยผู้ชายต่างรายกัน

อีกบัญชีที่ได้รับการรับรองจาก X คือ ivgiz ที่มีผู้ติดตาม 167,000 คน บัญชี แชร์ภาพเดียวกันพร้อมคำบรรยายเป็นภาษาฮีบรูที่แปลได้ว่า “เธอ (เด็ก) ถูกช่วยชีวิตขณะใส่เสื้อตัวเดียวกันไปกี่ครั้งแล้ว”

Screen capture from X. Some social media users falsely claim the photomontage depicts staged events in the Gaza Strip. It actually shows a Syrian girl who was rescued in Aleppo, Syria, on August 27, 2016, following an airstrike by government forces.
Screen capture from X. Some social media users falsely claim the photomontage depicts staged events in the Gaza Strip. It actually shows a Syrian girl who was rescued in Aleppo, Syria, on August 27, 2016, following an airstrike by government forces.

ภาพดังกล่าวรวมทั้งคำอธิบายในลักษณะคล้ายกัน ถูกเผยแพร่ซ้ำโดยผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับการรับรองใน X รวมทั้งแพลตฟอร์มอื่น ๆ แต่การตรวจสอบของ Polygraph ที่เป็นหน่วยตรวจสอบข่าวของ VOA พบว่าภาพดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกาซ่าแต่อย่างใด

ภาพดังกล่าวถูกถ่ายเมื่อ 27 สิงหาคม 2016 ที่ซีเรีย โดยอามีร์ อัล-ฮาลาบี ช่างภาพที่ถ่ายภาพให้กับสำนักข่าว AFP โดยแต่ละภาพถูกถ่ายในระยะเวลาห่างกันราว 80 วินาที ที่แสดงให้เห็นเด็กหญิงคนหนึ่งถูกช่วยชีวิตและส่งต่อให้กับผู้ชายสามคน

ชุดภาพนี้ไม่ได้เพิ่งถูกใช้สำหรับการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในสงครามครั้งนี้ เพราะทีมปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารที่รัสเซียให้การสนับสนุน เคยใช้ภาพนี้กล่าวหากลุ่มอาสาสมัครหมวกขาวที่ปฏิบัติงานกู้ภัยในซีเรีย โดยหาว่ากลุ่มดังกล่าวจัดฉากวินาศกรรมขึ้น

เนื้อหาอื่น ๆ ที่ถูกแชร์โดยบัญชี X ที่ชื่อ rose_k01 และผู้ใช้งานรายอื่นในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้เองก็มีเนื้อหาในทางเดียวกันที่สื่อว่าชาวปาเลสไตน์จัดฉากวิกฤตเพื่อทำสงครามข้อมูลข่าวสารกับอิสราเอล

อีกหนึ่งตัวอย่าง คือการกล่าวอ้างแบบผิด ๆ ด้วยการกล่าวอ้างว่าซาเลห์ อัลจาฟาราวี ชาวปาเลสไตน์ที่เผยแพร่เรื่องราวความขัดแย้งครั้งนี้ในบล็อกออนไลน์จัดฉากให้ตัวเองเข้ารับการรักษาพยาบาลหลังเกิดเหตุการทิ้งระเบิดโดยอิสราเอล

วิธีการสื่อสารถูกทำด้วยการนำวิดีโอสองชุดมารวมกันเพื่อเปรียบเทียบ โดยด้านขวา มีคนที่ถูกระบุว่าเป็นอัลจาฟาราวีเมื่อวานที่บนเตียงในโรงพยาบาล “เมื่อวาน” และด้านซ้ายมีภาพคนที่ถูกระบุว่าเป็นอัลจาฟาราวี “วันนี้” ทำการถ่ายวิดีโอตัวเองอยู่หน้าอาคารในกาซ่าโดยไม่มีอาการบาดเจ็บใด ๆ

A screen capture from X. This post actually shows two different people (Saleh Aljafarawi, 25, left, and Saeed Zandek, 16, right) and were taken months apart, despite claims it's a "Pallywood" fake.
A screen capture from X. This post actually shows two different people (Saleh Aljafarawi, 25, left, and Saeed Zandek, 16, right) and were taken months apart, despite claims it's a "Pallywood" fake.

การตรวจสอบของ Polygraph พบว่าคนในสองวิดีโอที่นำมารวมกันนั้น เป็นคนละคนกัน โดยคนที่นอนในโรงพยาบาล คือซาอีด ซานเด็ค ชายอายุ 16 ปีที่เสียขาไปหนึ่งข้างจากการถูกอิสราเอลโจมตีในค่ายผู้ลี้ภัยนูร์ ชามส์ เมื่อ 24 กรกฎาคม จากการรายงานของรอยเตอร์ ส่วนคนบันทึกวิดีโอตัวเองนั้น คืออัลจาฟาราวีตัวจริง

อีกกรณีหนึ่ง คือการนำวิดีโอของช่างแต่งหน้าชาวปาเลสไตน์ มาเรียม ซาลาห์ ที่กำลังทำเลือดและบาดแผลปลอมในกิจกรรมการอบรมแพทย์เมื่อปี 2017 ให้กับองค์กรการกุศลจากฝรั่งเศส Doctors of the World มาอธิบายว่าชาวปาเลสไตน์กำลังจัดฉากการสูญเสีย

Polygraph เคยรายงานไปก่อนหน้านี้แล้วว่าการนำภาพหรือวิดีโอเก่ามาใส่คำอธิบายให้เข้าใจผิด เป็นยุทธวิธีในการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในสงครามอิสราเอล-ฮามาส

ทาง Polygraph ได้บันทึกตัวอย่างไว้หลายกรณี ซึ่งรวมถึงการนำเนื้อหาจากสงครามในซีเรีย การทดสอบจรวดของกองทัพเรืออินเดีย และปฏิบัติการของกลุ่มติดอาวุธในฟิลิปปินส์ มาสื่อสารว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสงครามอิสราเอล-ฮามาส


ไม่เพียงเท่านั้น บัญชีผู้ใช้งานที่ได้รับรองเครื่องหมายสีฟ้าจาก X ที่ใช้งานฟีเจอร์ X Premium เป็นประจำ ก็ใช้โซเชียลมีเดียในการกระจายการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ด้วย

การศึกษาเมื่อเดือนตุลาคม 2023 โดยบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล NewsGuard พบว่าผู้ใช้งาน X ที่มีเครื่องหมายรับรองสีฟ้า มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เป็นเท็จ และข้อกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่ได้รับการเผยแพร่จำนวนมาก (ไวรัล) ถึง 74% ในช่วงสัปดาห์แรกของสงครามอิสราเอล-ฮามาส

  • ที่มา: ฝ่าย Polygraph VOA
XS
SM
MD
LG