ชุมชนไทยเกาะติดไต่สวนคดี 'วิชา รัตนภักดี' ถูกทำร้ายเสียชีวิต ที่ ซานฟรานฯ

A group of Thai demonstrator holds the portraits of late Vicha Ratanapakdee, during a rally to raise awareness of anti-Asian violence outside the Hall of Justice, SF, March 4, 2021

Your browser doesn’t support HTML5

Vicha Ratanapakdee Court Hearing

กระทรวงยุติธรรมรัฐบาลกลางสหรัฐฯ สั่งตรวจสอบและสืบสวน จับตามองคดีอาชญกรรมที่อาจเข้าข่ายว่ามีสาเหตุจากการเกลียดชังทางเชื้อชาติที่พุ่งเป้าไปยังชาวเอเชียหลังมีสถิติเหตุรุนแรงต่อชาวเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ความคืบหน้าของคดีฆาตกรรมนายวิชา รัตนภักดี ชายไทยวัย 84 ปี เริ่มการไต่สวนนัดแรกในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแล้ว ท่ามกลางการกลุ่มชาวไทยและชาวนครซาน ฟรานซิสโก ที่เดินทางไปติดตามการพิจารณาคดีและชุมนุมอย่างสงบเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับนายวิชา และเหยื่่ิอความรุนแรงจากความเกลียดชัง

“ผมก็หายใจเหมือนคุณ ผมมีครอบครัว ผมมีคุณปู่คุณย่าคุณตายาย ผู้สูงอายุ ผมจึงสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดเหมือนทุกคน..”

เควิน เอพ์ส (Kevin Epps) ชายชาวอเมริกันผิวดำในนครซาน ฟรานซิสโก บอกความรู้สึกของตัวเอง ในความเข้าใจและเห็นใจในความเจ็บปวดจากการสูญเสียคนในครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างจากทุกคน และแน่นอนว่าเขาอยากเห็นความรัก และความเป็นหนึ่งเดียวของคนชุมชนมากกว่าที่เป็นอยู่

Amos Brown takes part in a demonstration, during a community rally to raise awareness of anti-Asian violence and racist attitudes, outside the Hall of Justice, San Francisco,March 4, 2021.

เควิน เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวผิวดำส่วนหนึ่งที่ออกมาแสดงตัว แสดงความเห็นใจ พบปะและร่วมกล่าวปราศรัย ระหว่างชุมนุมเคียงข้างกับกลุ่มชาวไทยและชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ที่เดินทางไปรวมตัวบริเวณด้านหน้าที่ทำการศาลยุติธรรมรัฐแคลิฟอร์เนีย เขตซาน ฟรานซิสโก เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมและติดตามการพิจารณาไต่สวนของศาล นัดแรกในคดีที่นายวิชา รัตนภักดี ชายไทยวัย 84 ปี ถูกชายวัยรุ่นผิวดำ พุ่งทำร้ายอย่างรุนแรงจนเสียชีวิต

ความอยุติธรรมไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน ก็ล้วนเป็นภัยคุกคามต่อความยุติธรรมในทุกหนทุกแห่ง..
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมืองสหรัฐฯ

เช่นเดียวกับ เอมอส บราวน์ (Amos Brown) ชายชาวผิวดำวัย 80 ปี กล่าว ในช่วงหนึ่งของการปราศรัยเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม

“คุณครูของผม สาธุคุณ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง (นักต่อสู้เรียกร้องสิทธิพลเมืองคนสำคัญในยุคทศวรรษที่ 70) เคยสอนผมในชั้นเรียน เมื่อวันหนึ่งว่า ..ความอยุติธรรมไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน ก็ล้วนเป็นภัยคุกคามต่อความยุติธรรมในทุกหนทุกแห่ง..”

Community members take part in a protest to raise awareness of anti-Asian violence and racist attitudes, outside the Hall of Justice, San Francisco, March 4, 2021.

ก่อนหน้านี้ กลุ่มชุมชนไทยรวมใจ หรือ Thai Unity Community ในนครซาน ฟรานซิสโก และนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวต่อต้านความรุนแรงต่อชาวเอเชียจำนวนหลายสิบคน ได้นัดหมายรวมตัวจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ชุมนุมถือป้ายเรียกร้องความยุติธรรม สวมเสื้อที่สกรีนภาพนายวิชา รัตนภักดี

เรามาเพื่อที่จะสนับสนุนให้คุณลุงวิชา และครอบครัว ได้รับความยุติธรรม นี่คือสิ่งที่เราอยากได้มากที่สุด ...
คลาวเดีย กรชยา มันจันดา ผู้ประสานงาน กลุ่มชุมชนไทยรวมใจ

คลาวเดีย กรชยา มันจันดา ผู้ประสานงาน กลุ่มชุมชนไทยรวมใจ (Thai Unity Community) บอกถึงความสำคัญในการมารวมตัวกันเพื่อแสดงพลังในครั้งนี้ว่า

“..การรวมตัวของคนไทยหรือว่าทุกชุมชนสำคัญมากในการช่วยให้คดีของคุณวิชา หรือ ผู้สูงอายุท่านอื่นๆที่ประสบกับปัญหาการใช้ความรุนแรงคุกคาม เพื่อเป็นการช่วยให้ทางอัยการเขต หรือ District Attorney (D.A.) และทางเคาท์ตี้ (เขตปกครอง) ได้รู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมีคนเห็น มีคนรับรู้ และมีคนใส่ใจ ไม่ใช่ว่าใครจะมาทำอะไรคนของเราได้..เราใม่ได้มาเพื่อที่จะทำร้ายใคร ไม่ได้มาเพื่อที่จะส่งเสียงดัง แต่เรามาเพื่อที่จะสนับสนุนให้คุณลุงวิชา และครอบครัว ได้รับความยุติธรรม นี่คือสิ่งที่เราอยากได้มากที่สุด..”

Leanna Louie ผู้ก่อตั้งกลุ่ม United Peace Collaborative เขื้อสายจีนที่เคลื่อนไหวต่อต้านการเกิดความรุนแรงต่อชาวเอเชีย จัดกิจกรรมอาสาสมัครเดินตรวจตรา สอดส่องดูแลความปลอดภัยในย่านไชน่าทาวน์และย่านคนเอเชียที่นครซาน ฟรานซิสโก มานับปี ก็ออกมาร่วมการชุมนุมกับชุมชนไทยเรียกร้องความยุติธรรมให้กับนายวิชา และการยุติความรุนแรงต่อชาวเอเชีย

Demonstrators take part in a community rally to raise awareness of anti-Asian violence and racist attitudes, outside the Hall of Justice, San Francisco, March 4, 2021.

เช่นเดียวกับ เจอร์รี่ ลาเบิร์น (Jerry Laburn) ชาวไทย-อเมริกัน แกนนำเคลื่อนไหวการเรียกร้อง "ความยุติธรรมเพื่อนายวิชา" จากนครลอส แอนเจลิส เดินทางไกลไปร่วมการชุมนุมในครั้งนี้ เรียกร้องให้อัยการเขต หรือ District attorney ที่รับผิดชอบคดีนี้ตั้งข้อหาฆาตกรรมจากความเกลียดชังเพื่อเอาผิดผู้ต้องหาเพิ่ม

ก่อนหน้านี้ ผู้ต้องหาคดีทำร้ายนายวิชาได้ให้การปฏิเสธความผิดในทุกข้อกล่าวหา ทั้งในคดีฆาตกรรมและใช้กำลังกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ฝ่ายอัยการเจ้าของคดียังไม่ได้ตั้งข้อหาฆาตกรรมอันเนื่องจากความเกลียดชังเชื้อชาติสีผิว หรือ Hate Crime กับผู้ต้องหา โดยระบุว่ายังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ และกล่าวว่าลักษณะแนวโน้มและแรงจูงใจน่าจะเป็นการบันดาลโทสะมากกว่า

Monthanus Ratanapakdee (R) who holds a photograph of her late father Vicha Ratanapakdee and husband Eric Lawson (L) , during a rally for Vicha outside the Hall of Justice, SF, March 4, 2021

ขณะที่ การพิจารณาคดีนัดแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา ยังอยู่ในขั้นตอนการไต่สวนมูลฟ้อง โดยผู้พิพากษายังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาพยานหลักฐาน ว่าเพียงพอที่จะดำเนินคดีผู้ต้องหาหรือไม่ แต่ทางฝ่ายจำเลย คือ นายอองตวน วัตสัน ชายผิวสี วัย 19 ปี ที่ยังคงอยู่ระหว่างถูกควบคุมตัวได้ขอเลื่อนการพิจารณาออกไป เป็น วันที่ 22 มีนาคม โดยกลุ่มชาวไทยในสหรัฐฯยืนยันว่าจะกลับรวมตัวแสดงพลังสนับสนุนอีกครั้ง

Your browser doesn’t support HTML5

ชาวไทยเกาะติดพิจารณาคดี 'วิชา รัตนภักดี' ถูกทำร้ายเสียชีวิต ที่ ซาน ฟรานซิสโก

การเสียชีวิตของนายวิชา รัตนภักดี มีส่วนทำให้เกิดกระแสการเรียกร้องและต่อต้านความรุนแรงที่พุ่งเป้าไปยังชาวเอเชียในสหรัฐฯที่มีสถิติเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจในหลายเมืองทั่วอเมริกา

Anti-Asian Hate Crimes Increased 2019-2020

กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ เตรียมให้การตรวจสอบและสืบสวนในเชิงลึกต่อปัญหาอาชญากรรมจากความเกลียดชังที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกับชาวเชื้อสายเอเชีย โดยมีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เช่น สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ FBI และอัยการของรัฐบาลกลาง ประสานงานกับกับตำรวจท้องถิ่นในแต่ละรัฐ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในคดีอาชญากรรมที่สงสัยว่าอาจมีเหตุมาจากความเกลียดชังทางเชื้อชาติ โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า คำสั่งดังกล่าวเพื่อมุ่งเน้นตอบสนองจากรายงานความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียโดยเฉพาะ