ผู้ผลิตรถหลายค่ายเร่งผลักดันโครงการรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน

A Mirai fuel cell vehicle by Toyota is displayed at China's International Automobile Exhibition in Guangzhou, China November 18, 2016. (REUTERS/Bobby Yip)

Your browser doesn’t support HTML5

Business News

บริษัทผู้ผลิตรถยักษ์ใหญ่หลายรายประกาศแผนเดินหน้าลงทุนในเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเต็มที่ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า เทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องฟันฝ่าอุปสรรคครั้งใหญ่ให้ได้ เพื่อแข่งขันกับตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ใ

รถพลังงานไฮโดรเจน หรือ รถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิง (fuel cell electric vehicles – FCEVs) คือ รถที่ใช้เซลเชื้อเพลิงเปลี่ยนแก๊สไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งต่างจากรถพลังงานไฟฟ้า (electric vehicles – EVs) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

บริษัทรถ โตโยต้า (Toyota Motors) เพิ่งเปิดตัวรถรุ่นใหม่ของกลุ่มรถพลังงานไฮโดรเจนเมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมเผยแผนที่จะนำเสนอรถรุ่นใหม่ๆ อีกหลายรุ่นภายใต้กลุ่มนี้ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้าด้วย

ขณะเดียวกัน บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (BMW) และ โฟล์คสวาเกน (Volkswagen Group) ของเยอรมนีกำลังทำการพัฒนารถโดยสารส่วนบุคลที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน พร้อมๆ กับการพัฒนารถพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ของตนอยู่เช่นกัน

ส่วนที่เกาหลีใต้ ผู้บริหารของบริษัทรถ ฮุนได (Hyundai) เปิดเผยถึงความสำคัญของการเดินหน้าพัฒนารถยนต์พลังงานไฮโดรเจน ควบคู่ไปกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยบริษัทประกาศเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า ตนมีแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าเซลเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์ต่างๆ เช่น รถบรรทุกขนาดใหญ่และรถโดยสาร ภายในปี ค.ศ. 2028 แล้วด้วย

Kevin Baker, a maintenance technician, drives a hydrogen fuel cell bus out of the terminal, Tuesday, March 16, 2021, in Canton, Ohio. (AP Photo/Tony Dejak)

ทั้งนี้ เทคโนโลยีเซลเชื้อเพลิงนั้น เป็นเรื่องของการใช้ไฮโดรจนผสมกับออกซิเจนเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า อันหมายถึงพลังงานสะอาด แต่ปัจจุบัน รถพลังงานไฮโดรเจนส่วนใหญ่ที่มีอยู่ทั่วโลกยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหินเป็นตัวกำเนิดพลังงาน ซึ่งถือว่ายังคงเป็นระบบที่ก่อมลพิษต่อโลกอยู่ดี

ข้อดีของรถพลังงานไฮโดรเจนอื่นๆ มีอาทิ การที่สามารถเติมเชื้อเพลิงเพื่อใช้งานรถต่อได้รวดเร็วกว่าการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้ามาก และการที่รถประเภทนี้สามารถวิ่งเป็นระยะทางได้ถึง 480 กิโลเมตร หากมีพลังงานจุเต็มถัง

ในส่วนของข้อเสียนั้น มีเรื่องของการหาจุดเติมไฮโดรเจนได้ยาก เพราะยังไม่ค่อยมีผู้ให้บริการในเวลานี้ และต้นทุนที่สูงกว่าซึ่งทำให้ราคารถพลังงานไฮโดรเจนเริ่มต้นที่ราว 50,000 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าราคาเริ่มต้นของรถพลังงานไฟฟ้าที่ประมาณ 30,000 ดอลลาร์พอควร