ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คนนอกไม่อยากเข้า? หนุ่มสาวจีนวิวาห์น้อยสุดเป็นสถิติใหม่


A couple waits to participate in a staged mass wedding, organised as part of a matchmaking event to inspire singles to get married, in a suburban area of Shanghai May 18, 2013.
A couple waits to participate in a staged mass wedding, organised as part of a matchmaking event to inspire singles to get married, in a suburban area of Shanghai May 18, 2013.

สถิติการแต่งงานของชาวจีนเมื่อปี 2022 ต่ำที่สุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติอย่างเป็นทางการ ตามรายงานของสื่อท้องถิ่นเมื่อวันอาทิตย์ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเข้าประตูวิวาห์ที่ลดลงต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ข้อมูลในเว็บไซต์ของกระทรวงกิจการพลเรือนของจีน ชี้ให้เห็นว่า เมื่อปีที่แล้วมีบ่าวสาวชาวจีนจูงมือจดทะเบียนสมรส 6.83 ล้านคู่ ลดลงจากปีก่อนหน้านั้น 800,000 คู่

ตัวเลขการแต่งงานที่ลดลงนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการล็อกดาวน์เพราะการระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว ที่ทำให้ประชาชนหลายสิบล้านคนต้องอยู่แต่ภายในอาณาบริเวณที่พักอาศัยของตนเองเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

A Chinese woman dressed with a traditional bride costume, poses during a wedding performance as part of the She Huo festival, to celebrate the Lunar New Year, marking the Year of the Dog, in Hancheng, Shaanxi province.
A Chinese woman dressed with a traditional bride costume, poses during a wedding performance as part of the She Huo festival, to celebrate the Lunar New Year, marking the Year of the Dog, in Hancheng, Shaanxi province.

ปัจจุบัน รัฐบาลจีนกำลังเผชิญกับปัญหาอัตราการเกิดลดลงและจำนวนประชากรหดตัวลง โดยปี 2022 ถือเป็นปีแรกในรอบ 60 ปีที่ประชากรจีนลดลง และคาดว่า จะกลายเป็นแนวโน้มในระยะยาวของการลดลงอย่างต่อเนื่องของจำนวนประชากรจีน

เมื่อปีที่แล้ว อัตราการเกิดของทารกในประเทศจีนอยู่ที่ระดับ 6.77 คนต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน และลดลงจากระดับ 7.52 คนในปี 2021

ตัวเลขประชากรศาสตร์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชาวจีนอาจจะมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้โดยเฉลี่ยต่อหัวของประชากร หรือ "แก่ก่อนจะรวย" เนื่องจากขนาดของกำลังแรงงานที่ลดลง และรัฐบาลต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการดูแลประชากรสูงอายุ

เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลจีนประกาศโครงการนำร่องในมากกว่า 20 เมือง เพื่อกระตุ้นอัตราการเกิดและการแต่งงาน ด้วยการสร้าง "ยุคใหม่" ของวัฒนธรรมการแต่งงานและการมีบุตร เช่น การขยายเวลาลาหยุดสำหรับคู่สมรสใหม่ เป็นต้น

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG