องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกรายงานว่าชั้นโอโซนที่ช่วยดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์กำลังฟื้นตัว

This graphic shows the data from the Total Ozone Mapping Spectrometer (TOMS) Earth Probe, for the month of October 1999. Areas of depleted ozone over the Antarctic are shown in blue. The hole in the ozone layer over the Antarctic is opening up, with ozone

Your browser doesn’t support HTML5

World Weather Ozone

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ยกย่อง สนธิสัญญามอนทรีออล (Montreal Protocol) แห่งปีคริสตศักราช 1987 ว่าเป็นความสำเร็จที่ยอดเยี่ยม โดย WMO เปิดเผยรายงานที่ถือว่าเป็นข่าวดีหลังจากรายงานผลการประเมินด้านภาวะโลกร้อนชิ้นก่อนหน้านี้ของ WMO ชี้ว่ามีระดับแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ้นไปอยู่ในจุดที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

คุณ Geir Braathen เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์อาวุโสแห่ง WMO กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเป็นครั้งแรกที่รายงานของ WMO พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของปริมาณโอโซนในชั้นโอโซนโดยรวมทั้งโลก แสดงว่าชั้นโอโซนของโลกกำลังเริ่มฟื้นตัว ชั้นโอโซนอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกเป็นระยะทางราว 40 กิโลเมตรโดยอยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (stratosphere)

คุณ Braathen กล่าวว่านี่เป็นสัญญาณว่าปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ส่งผลต่อระดับโอโซนกำลังลดลงมา ซึ่งทำให้ปริมาณโอโซนเพิ่มขึ้น ชั้นโอโซนเป็นชั้นบรรยากาศที่บอบบางมากและช่วยดูดซับแสงอัลตร้าไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและพืชบนโลก

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติชี้ว่าสนธิสัญญามอนทรีออลช่วยฟื้นคืนชั้นโอโซนของโลก ซึ่งในทางอ้อมจะช่วยลดจำนวนคนป่วยด้วยโรคมะเร็งผิวหนังลง ช่วยลดอันตรายจากแสงอาทิตย์ต่อดวงตาและระบบภูมิต้านทานร่างกายของคนเรา ตลอดจนช่วยปกป้องสัตว์ป่าและการเกษตรด้วย

สนธิสัญญามอนทรีออลเรียกร้องให้มีการเลิกใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อาทิ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons) เเละ สารฮาลอน (halons) ที่เคยใช้ในตู้เย็น กระป๋องฉีดสเปรย์ โฟมกันความร้อนและสารดับเพลิง
รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกชิ้นล่าสุดนี้พบว่าการเลิกใช้สารเคมีที่เป็นภัยต่อปริมาณโอโซนมีผลทางบวกในการช่วยลดภาวะโลกร้อนเนื่องจากสารเหล่านี้เป็นสารก่อภาวะเรือนกระจก

This undated image provided by NASA shows the ozone layer over the years, Sept. 17, 1979, top left, Oct. 7, 1989, top right, Oct. 9, 2006, lower left, and Oct. 1, 2010, lower right.


แต่คุณ Braathen ชี้ว่ามีการใช้สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (hydrofluorocarbons) เป็นสารเคมีทดแทน เขาชี้ว่าแม้สารเคมีทดแทนนี้จะไม่ทำลายโอโซนแต่ก็เป็นสารก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกเช่นกันเพียงแต่มีผลให้เกิดภาวะเรือนกระจกในระดับต่ำกว่าสารเคมีดั้งเดิม นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมชั้นโอโซนจึงเริ่มฟื้นตัว เขาเชื่อว่าปริมาณโอโซนทั่วโลกน่าจะยังเพิ่มขึ้นต่อไปหากยังปฏิบัติตามสนธิสัญญามอนทรีออลกันอย่างเคร่งครัด


อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าผลเสียของสารเคมีทดแทนต่อภาวะโลกร้อนอาจจะรุนแรงขึ้นได้หากมีการใช้ในปริมาณมาก

คุณ Braathen กล่าวว่า มีปริมาณสารไฮโดร คลอโร ฟลูออโร คาร์บอน เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นราว 7 เปอร์เซ็นต์ต่อปีซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แม้ว่าในปัจจุบัน ยังไม่ส่งผลต่อภาวะอากาศโลกแต่หากยังคงเพิ่มขึ้นในอัตรานี้อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสิบปีข้างหน้า สารทดแทนเหล่านี้จะส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างแน่นอน

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกยกย่องว่าความร่วมมือนานาชาติมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการกอบกู้ชั้นบรรยากาศโอโซนและได้เร่งเร้าให้มีความร่วมมือแบบเดียวกันนี้เพื่อหาทางรับมือกับปัญหาที่ท้าทายมากขึ้นจากภาวะโลกร้อน