สหรัฐฯ - จีน โทษกันและกันว่าเป็นต้นเหตุ 'วิกฤติอาหารโลก'

FILE - A man carries a sack of wheat flour imported from Turkey in the Hamar-Weyne market in Mogadishu, Somalia, May 26, 2022. Families across Africa are paying about 45% more for wheat flour as Russia's war in Ukraine blocks exports from the Black Sea.

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ สืบเนื่องจากสงครามในยูเครน โดยจีนและสหรัฐฯ ต่างกล่าวหากันและกันว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้วิกฤติอาหารโลกรุนแรงยิ่งขึ้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สื่อของทางการจีน The China Daily กล่าวหารัฐบาลกรุงวอชิงตัน โดยระบุว่า "ราคาอาหารโลกได้ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการส่งออกธัญพืชของรัสเซียและยูเครนต่างประสบภาวะชะงักงันเนื่องจากอุปสรรคในการขนส่งที่ท่าเรือต่าง ๆ และมาตรการลงโทษจากชาติตะวันตก

ส่วนทางสหรัฐฯ กล่าวหากลับว่า จีนคือผู้กักตุนอาหารรายใหญ่ ซึ่งมีส่วนทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน หลังจากที่ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง กล่าวไว้ว่า ความมั่นคงทางอาหารคือความกังวลที่สุดของรัฐบาลจีน พร้อมเร่งเร้าให้เกษตรกรจีนเพิ่มปริมาณผลผลิตเพื่อรับประกันว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกจะสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติในครั้งนี้

วีโอเอได้สอบถามไปยังทูตสหรัฐฯ จิม โอไบรอัน หัวหน้าสำนักงานความร่วมมือด้านมาตรการลงโทษ ว่า จีนกับสหรัฐฯ จะสามารถร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารโลกในครั้งนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งทูตโอไบรอันตอบว่า "เราต้องการเห็นจีนทำตัวเป็นมหาอำนาจในการช่วยแก้ปัญหาในตลาดอาหารโลกเช่นกัน" "แต่เรากังวลว่าจีนอาจกำลังกักตุนอาหารในประเทศ และใช้วิธีเดินหน้าซื้อธัญพืชในตลาดโลกในช่วงเวลาที่เราต้องการเห็นจีนยื่นมือเข้าช่วยประเทศที่กำลังเดือดร้อนมากกว่า"

แต่บทความในสื่อของทางการจีน Global Times ระบุว่า "เวลานี้จีนผลิตธัญพืชป้อนความต้องการในประเทศมากกว่า 95% ซึ่งเป็นเรื่องไม่จำเป็นเลยที่จีนต้อง 'กักตุนธัญพืช' ในตลาดโลก" พร้อมกล่าวหาสหรัฐฯ ว่า "เป็นตัวการใหญ่เบื้องหลังวิกฤติอาหารโลกในปัจจุบัน ซึ่งต่างจากจีนที่พยายามช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร"

FILE - Scattered grain sits inside a warehouse damaged by Russian attacks in Cherkaska Lozova, on the outskirts of Kharkiv, Ukraine, May 28, 2022. Russia and Turkey voiced support this week for creation of a safe maritime corridor in the Black Sea so Ukraine can export grain, but Russia demanded that the Black Sea be demined and Turkey said allowing the Ukraine exports should be accompanied by easing Western sanctions against Russia.

มาตการลงโทษรัสเซีย คือสาเหตุของวิกฤติอาหาร?

รายงานของธนาคารโลกชี้ว่า ณ วันที่ 1 มิถุนายน ราคาข้าวสาลีและข้าวโพดในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 60% และ 42% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับราคาในเดือนมกราคมปีที่แล้ว

ความกังวลเรื่องวิกฤติอาหารโลกเริ่มขึ้นไม่นานหลังจากรัสเซียบุกรุกยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยรัสเซียและยูเครนล้วนเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก แต่ปริมาณการส่งออกข้าวสาลี ข้าวโพด และน้ำมันทานตะวัน ต่างลดลงมากหลังเกิดสงคราม

ทั้งนี้ ประเทศในแอฟริกาต้องพึ่งพาธัญพืชจากรัสเซียและยูเครนอย่างมากในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งผู้นำประเทศในแอฟริกาบางประเทศได้ตำหนิมาตรการลงโทษของชาติตะวันตกว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤติอาหารที่เกิดขึ้น

ประธานาธิบดียูกานดา โยเวรี มูเซเวนี กล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า "สงครามในยูเครนและมาตรการลงโทษของชาติตะวันตกคือสาเหตุของปัญหาขาดแคลนข้าวสาลี" ส่วนประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ซีริล รามาโฟซา กล่าวว่า "แม้แต่ประเทศที่อยู่วงนอกหรือไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งนี้ก็ยังต้องได้รับผลกระทบจากมาตรการลงโทษที่ตะวันตกนำมาใช้กับรัสเซีย"

ทางด้านประธานสหภาพแอฟริกา แม็กกี ซอลล์ ผู้ซึ่งพบหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระบุว่า ผู้นำรัสเซียพร้อมและต้องการจะเปิดทางให้มีการขนส่งธัญพืชออกจากยูเครน แต่ติดที่มาตรการลงโทษจากชาติตะวันตก ซึ่งผู้นำแอฟริกาผู้นี้เรียกร้องให้ทุกฝ่าย "ยกเลิกมาตรการลงโทษในส่วนของข้าวสาลีและปุ๋ยต่าง ๆ "

แต่ทางทูตโอไบรอัน ของรัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วว่า การพูดถึงมาตรการลงโทษต่อรัสเซียว่าส่งผลกระทบต่อตลาดอาหารโลกนั้นยังมีความเข้าใจผิดอยู่มาก เพราะในความเป็นจริง สหรัฐฯ มิได้ลงโทษการผลิตและส่งออกอาหารและปุ๋ยของรัสเซีย แต่รัสเซียเองที่ขัดขวางเส้นทางการขนส่งอาหารจากยูเครนและรัสเซียลงไปประเทศทางใต้ของแผนที่โลก

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ผู้นี้กล่าวว่า อเมริกาและสหภาพยุโรปพยายามที่จะอำนวยความสะดวกในการส่งออกอาหารจากยูเครนให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ยูเครนส่งออกก่อนสงคราม แต่เพราะรัสเซียได้ยึดครองหรือทำลายแหล่งผลิตธัญพืชของยูเครนไปราว 30% ซึ่งรวมถึงการโจมตีใส่โรงงานแปรรูปและโกดังเก็บธัญพืชขนาดใหญ่หลายแห่ง

ทางด้าน คารี ฟาวเลอร์ ผู้แทนพิเศษสหรัฐฯ ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลก กล่าวว่า "สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนกำลังผลักดันให้ประชากรโลกราว 40 ล้านคนต้องเข้าสู่กลุ่มที่ไม่มีความมั่นคงด้านอาหาร" และว่า ที่ผ่านมายูเครนผลิตอาหารป้อนประชากรโลกราว 400 ล้านคน ซึ่งขณะนี้มีธัญพืชปริมาณมากที่ยังคงค้างอยู่ตามโกดังต่าง ๆ ในยูเครนเพราะไม่สามารถออกจากท่าเรือที่ถูกกองทัพรัสเซียปิดทางหรือขัดขวางอยู่ได้

FILE - A horse cart driver transports wheat to a mill on a farm in the Nile Delta province of al-Sharqia, Egypt, May 11, 2022. Egypt is trying to increase its domestic wheat production as the Russian invasion of Ukraine has strained international supplies of the grain.

เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน ประกาศเพิ่มเงินช่วยเหลือด้านอาหารให้แก่ประเทศตา่ง ๆ โดยเฉพาะในแอฟริกา รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยในประเทศเพื่อชดเชยส่วนที่หายไปของรัสเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ที่สุดในโลก

ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า ได้ให้เงินบริจาค 130 ล้านดอลลาร์แก่องค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติ หรือ FAO ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามรายงานของ Global Times ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการเกษตรของจีน ยืนยันว่า จีนคือผู้บริจาครายใหญ่ให้แก่กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาทางการเกษตร หรือ IFAD ซึ่งช่วยสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการด้านการเกษตรในแอฟริกาหลายโครงการ

  • ที่มา: วีโอเอ