Your browser doesn’t support HTML5
รายงานเกี่ยวกับดัชนีคุณภาพชีวิตของเยาวชนทั่วโลก (Global Youth Wellbeing Index) จัดทำโดยมูลนิธิเยาวชนนานาชาติ (International Youth Foundation) เเละ Center for Strategic and International Studies ตามโครงการเยาวชน ความก้าวหน้าเเละความมั่นคง (Youth, Prosperity, and Security Initiative)
ริตู ชาร์มา (Ritu Sharma) นักวิจัยทุนที่ศูนย์ Center for Strategic and International Studies ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเเย่มาก เเละจำเป็นที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะประชากรโลกราวกึ่งหนึ่งเป็นเยาวชน
ดัชนีระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนทั่วโลก ได้จัดอันดับ 30 ชาติซึ่งมีประชากรวัยหนุ่มสาวราว 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดทั่วโลก ในบรรดาเยาวชนอายุ 15 ถึง 29 ปีในการสำรวจ ดัชนี้นี้พบว่าเพียงเเค่ 11 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มนี้ที่มีระดับคุณภาพชีวิตในระดับสูง โดยเเยกออกเป็นหลายด้านด้วยกัน
รายงานนี้พบว่ามีเยาวชนน้อยมากที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเเละชีวิต เเละ 2 ใน 3 ของเยาวชนกลุ่มนี้บอกว่า รัฐบาลของประเทศตนไม่ใส่ใจจัดหาสิ่งที่จำเป็นต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนเ เละไม่พัฒนาโอกาสเเก่เยาวชนเพื่อให้ก้าวหน้าด้านการศึกษา
โดย 74 เปอร์เซ็นต์บอกว่าไม่สามารถหางานที่อยากทำได้ 65 เปอร์เซ็นต์บอกว่าไม่สามารถทำรายได้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ เเละเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงบอกว่าไม่มีสิทธิ์เท่าเทียมกับชาย
เยาวชนเหล่านี้ยังต้องพึ่งโทรศัพท์ในการรับข้อมูลข่าวสาร เเละน้อยกว่าครึ่งหนึ่งมีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน
เยาวชนหลายล้านคน ส่วนมากเป็นผู้ชาย สุบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบ นอกจากนี้ อุบัติเหตุทางรถยนต์ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของเยาวชนทั่วโลก เเละอัตราการฆ่าตัวตายของเยาวชนทั่วโลกก็ยังสูงอยู่
รายงานดัชนีคุณภาพชีวิตของเยาวชนใช้ปัจจัยที่เป็นตัววัด 35 อย่างในการประเมินคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ของเยาวชน อายุ 15 ปี ถึง 29 ปี ในเเต่ละประเทศที่เข้าร่วม เเละสามารถเเบ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ออกเป็น 7 ประเภทด้วยกัน ตั้งเเต่ ความเท่าเทียมทางเพศ โอกาสด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัยเเละความมั่นคง การมีส่วนร่วมในฐานะประชาชนของประเทศ เเละการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลเเละการสื่อสาร
30 ชาติทั่วโลกที่ได้รับการเลือกให้เข้าร่วมในการสำรวจนี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลเกี่ยวกับประชากร ระดับรายได้ เเละบทบาททางเศรษฐกิจต่อภูมิภาค ข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรับรองจากองค์การระดับนานาชาติ อาทิ ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ เเละองค์การอนามัยโลก
องค์กรระดับนานาชาติเหล่านี้ให้คำจำกัดความของคำว่า “คุณภาพชีวิต” เอาไว้ว่า เป็นเเนวความคิดหลายเเง่มุมที่รวมทั้งสุขภาพทางกายเเละจิตใจของปัจเจกบุคคล ระดับการศึกษา โอกาสทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยทางร่างกายความมีเสรีภาพ เเละความสามารถในการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน หรือพูดง่ายๆ ว่ามีโอกาสที่ดีในชีวิตทุกด้าน
รายงานนี้จัดให้ประเทศสวีเดนเป็นชาติอันดับที่หนึ่ง โดยทำคะเเนนได้ทั้งหมด 83 คะเเนน ตามมาด้วยออสเตรเลีย เเละสหราชอณาจักร โดยทำได้ 81 กับ 80 คะเเนน ส่วนเยอรมนีตามมาเป็นอันดับที่ 4 ด้วยคะเเนน 78 คะเเนน เเละสหรัฐอเมริกาตามมาเป็นอันดับที่ 5 โดยทำได้ 73 คะเเนน
รูบี้ วิชนิค (Ruby Vishnick) นักศึกษาสื่อสารมวลชนปีที่ 3 ที่เอมเมอสัน คอลเลจ ในเมืองบอสตัน กล่าวว่า ไม่เเปลกใจกับรายงานนี้เ เละในฐานะที่เป็นชาวลอนดอนโดยกำเนิด เธอกล่าวว่าอังกฤษทำคะเเนนได้สูงในการสำรวจนี้เพราะมีระดับสวัสดิการของรัฐที่ดี
เธอบอกว่าคนอังกฤษไม่กลัวที่จะไปหาหมอเพราะเป็นบริการฟรี เเละทุกคนมีสิทธิ์ทางการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียมกัน เเละนอกจากจะง่ายในการนัดหมอเเล้ว ผู้ป่วยยังสามารถเดินเข้าไปรักษาตัวในคลินิคใดก็ได้
ด้าน ยี จิน คิม (Yi Jin Kim) นักศึกษาจากกรุงโซล ไม่เเปลกใจเช่นกันที่เห็นว่าเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 10 อันดับแรก เธอกล่าวว่าในความคิดเห็นส่วนตัว ระดับการศึกษาที่สูงในเกาหลีใต้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด นักศึกษาเกาหลีใต้โดยทั่วไปจะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหลังเรียนจบมัธยมปลาย เนื่องจากพ่อเเม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาของลูก เเละสังคมชาวเกาหลีมีการเเข่งขันกันสูง
ส่วนประเทศอันดับรั้งท้าย 5 ชาติในรายงานนี้ ได้เเก่ เวียดนาม อินเดีย ยูกันดา อียิปต์ เเละไนจีเรีย
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)