Your browser doesn’t support HTML5
บรรดานักวิชาการเตือนว่า ทะเลจีนใต้อาจจะประสบกับปัญหาสิ่งเเวดล้อมเสื่อมคุณภาพที่เลวร้ายลงในช่วง 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากชาติต่างๆ ที่อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลแห่งนี้ มุ่งเเต่แก่งเเย่งกันครอบครองดินแดนในทะเล เเทนที่จะร่วมมือกันหาทางเก้ไขปัญหา
บรรดานักวิจัยพบว่า มีน้ำมันรั่วไหลจากเรือพานิชย์ต่างๆ การประมงเกินพอดี และเเนวปะการังเสื่อมโทรมลง เพราะการสร้างเกาะเทียมที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ในทะเลจีนใต้ที่กินพื้นที่ 3 ล้าน 5 เเสนตารางกิโลเมตร
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า จีนกับ 10 ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน (ASEAN) ซึ่งรวมทั้ง 5 ประเทศสมาชิกที่กล่าวอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ มีโอกาสในขณะนี้ที่จะรวมเอามาตรการดูแลทางสิ่งเเวดล้อมเข้าไว้ในกรอบข้อปฏิบัติทางทะเล หลังจากได้จัดตั้งแผนงานร่วมกันในเดือนสิงหาคม
Liu Nengye อาจารย์อาวุโสที่มหาวิทยาลัย Adelaide ที่เชี่ยวชาญด้านกฏหมายทางทะเล กล่าวว่า ไม่ว่าจะยกประเด็นอะไรขึ้นมาถกกัน ชาติทั้งหมดจะต้องรวมเอาประเด็นทางสิ่งเเวดล้อมต่างๆ เข้าไปเป็นส่วนสำคัญของกรอบปฏิบัติ เพื่อเสนอเเนวทางปฏิบัติเเก่กิจกรรมต่างๆ ของทุกชาติที่มีชายฝั่งในทะเลจีนใต้ และไม่ว่าชาติเหล่านี้จะเห็นด้วยหรือไม่ ปัญหาสิ่งเเวดล้อมต้องได้รับการจัดการ
นักวิเคราะห์ชี้ว่า หกชาติที่ขัดเเย้งกันด้านการเเก่งเเย่งดินแดนในทะเลจีนใต้ เริ่มตั้งเเต่ไต้หวันไล่ไปทางตะวันตกเฉียงใต้จนถึงสิงคโปร์ ความขัดเเย้งนี้กลายเป็นอุปสรรคต่อการตกลงกันเพื่อยุติและเเก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมทางสิ่งเเวดล้อมในทะเล
ความขัดแย้งด้านสิทธิ์ในทะเลนี้ ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อโอกาสของการจัดตั้งหน่วยงานความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่ควบคุมดูเเลการประมง
Scott Moore ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรทางน้ำ เเห่งโครงการ Water Global Practice เเห่งธนาคารโลก กล่าวว่า ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นในการร่วมมือกัน และยิ่งมีจำนวนสถาบันเข้ามาร่วมมือมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งมีโอกาสสูงขึ้นที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ในการใช้ทรัพยากรที่ต้องเเบ่งปันกันเเละในการจัดการทรัพยากรร่วมอย่างยั่งยืน
จีนกับไต้หวันอ้างสิทธิเหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อ้างสิทธิ์เหนือทะเลบางส่วน ทำให้ชาติเหล่านี้ต้องเผชิญหน้ากับจีนซึ่งเป็นชาติที่กล่าวอ้างสิทธิ์ที่ก้าวร้าวมากที่สุด
ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4 ชาติเหล่านี้ เริ่มไม่ไว้ใจจีนตั้งเเต่ปี 2010 ที่จีนเร่งสร้างเกาะเทียมขึ้นในทะเล เเละวางกำลังทางทหารในพื้นที่
ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงยากในทะเลจีนใต้เพราะต้องรองรับกิจกรรมการเดินเรือหนึ่งในสามของโลก จนถึงเกือบครึ่งหนึ่งของทั่วโลก ซึ่งขนส่งสินค้ามูลค้าเกือบ 5 พัน 3 ร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี
Zhang Hongzhou นักวิจัยทุนที่โครงการ China Program ที่ภาควิชารัฐศาสตร์ต่างประเทศ S. Rajaratnam มหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีหนานหยางในสิงคโปร์ กล่าวว่า มีเรือระหว่าง 333,000 ถึง 1 ล้าน 6 เเสนลำที่ทำการประมงในทะเลจีนใต้ เเละมีคนราว 3 ล้านคนที่พึ่งพาการประมงในทะเลเเห่งนี้เพื่อหาเลี้ยงชีพ
การถมทะเลเพื่อสร้างเกาะเทียมหลายเเห่ง ยังเป็นเหตุให้เเนวปะการังเสียหายอีกด้วย
Scott Moore ผู้เชี่ยวชาญ ด้านทรัพยากรทางน้ำเเห่งโครงการ Water Global Practice ของธนาคารโลก กล่าวว่า มีสัตว์ทะเลหลายชนิดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการถมทะเล เป็นปลาและสัตว์ที่ขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปลาทูน่าจะเจอปัญหาเกยตื้นมากที่สุด ส่วนสัตว์ทะเลย้ายถิ่นพันธุ์ต่างๆ จะประสบปัญหามากที่สุด เพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพเเวดล้อมในทะเลที่เปลี่ยนแปลงไป
หน่วยงานอนุรักษ์ World Wildlife Fund เปิดเผยในปี ค.ศ. 2015 ว่าทะเลจีนใต้สูญปลาหลายล้านตันและรายได้ 20-50 เปอร์เซ็นต์
และผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย British Columbia ในปีเดียวกัน ชี้ว่า
ความต้องการปลาและการประมงจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี ค.ศ. 2045 หรือตลอด 28 ปีต่อจากนี้
ผลการศึกษานี้ยังชี้ด้วยว่า หากไม่มีการแทรกเเซงใดๆ ภายในปี 2045 จำนวนปลาในทะเลทะเลจีนใต้จะลดลง 9 ถึง 59 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการประมงเกินพอดี ความเป็นกรดของน้ำทะเลและการปล่อยเเก๊สเรือน กระจก
ผลการศึกษานี้ยังระบุด้วยว่า รัฐบาลของชาติต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ต้องทำงานทั้งด้วยตนเอง เเละร่วมกันกับประชาคมโลก เพื่อลดการปล่อยเเก๊สเรือนกระจกลงอย่างทันทีและอย่างยั่งยืน
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)