นักวิทยาศาสตร์คิดค้นวิธีฟังเสียงจากแนวปะการังเพื่อให้ทราบถึงสุขภาพของสิ่งแวดล้อมใต้น้ำ

The acoustic recorders collect all sounds of the reef from fish and invertebrates, to wind, rain and boats. (Credit: T. Aran Mooney, Woods Hole Oceanographic Institution)

แนวปะการังเป็นแหล่งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเลเพราะเป็นที่อยู่ของหนึ่งในสี่ของสัตว์ในโลกใต้น้ำ

Your browser doesn’t support HTML5

นักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นวิธีฟังเสียงจากแนวปะการัง

แนวปะการังเป็นแหล่งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเล เพราะเป็นที่อยู่ของหนึ่งในสี่ของสัตว์ในโลกใต้น้ำ ขณะนี้อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นและความเป็นกรดของน้ำเนื่องจากมลพิษทำให้นักวิทยาศาสตร์หาวิธีติดตามการเปลี่ยนแปลงของแนวปะการังอย่างใกล้ชิด

ล่าสุดมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่คิดค้นวิธีฟังเสียงจากแนวปะการังเพื่อให้ทราบถึงสุขภาพของมันที่มีผลต่อประชากรสัตว์น้ำในอนาคต

Max Kaplan setting up an autonomous device to record the reef sound, a proxy measurement of coral reef biodiversity in U.S. Virgin Islands National Park, (Credit: T. Aran Mooney, Woods Hole Oceanographic Institution)

Max Kaplan นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเสียงจากแนวปะการัง บอกว่าเสียงที่เขาและคณะดักฟังจากได้สะท้อนถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศวิทยาใต้น้ำ

คุณ Kaplan เป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ MIT หรือ Massachusetts Institute of Technology และเขียนผลงานวิจัยสองฉบับ ร่วมกับนักวิชาการคนอื่นๆ เกี่ยวกับเสียงจากแนวปะการัง

เขาและนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Woods Hole Oceanographic Institution ทำการทดลองที่หมู่เกาะ Virgin Island และพบว่าเสียงที่ได้ยินจากเครื่องมืออัดเสียงจากแนวปะการัง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรปลาว่ามีหนาแน่นแค่ไหน และโครงสร้างปะการังที่เป็นที่กำบังให้สัตว์น้ำว่ามีมากน้อยเท่าใด

Max Kaplan การแอบฟังเสียงจากปะการังเป็นเครื่องมือที่ดีในการเข้าใจพฤติกรรมสัตว์น้ำ เขาได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ความถี่เสียง และเปรียบเทียบเสียงในช่วงต่างๆ ของวัน สัตว์ที่ชอบส่งเสียงชนิดหนึ่งที่เขาพบในการศึกษาครั้งนี้คือกุ้ง

เสียงที่ได้ยินจากแนวปะการังมีความชัดเจนและหลากหลายคือช่วงโพล้เพล้และตอนพระอาทิตย์ขึ้น แต่ถ้าเป็นตอนเที่ยงวัน เสียงที่คึกคักกลับหายไป และเขาพบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงนี้ที่แนวปะการังสามแห่งที่ทำการศึกษา

การศึกษาชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Marine Ecology Progress และในงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ ซึ่งอยู่ในวารสาร Marine Pollution Bulletin

เขาใช้ข้อมูลดิบจากเสียงตามแนวปะการังมาวิเคราะห์มลภาวะในน้า เช่นเสียงจากเรือเล็กที่ทับซ้อนเสียงสัตว์น้ำหลายชนิด และกลบสัญญาณของสัตว์ที่ใช้หาที่อยู่ หาอาหาร และหาคู่ด้วย

(รายงานโดย Rosanne Skirble / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)