ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยอเมริกันพบว่าปะการังค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น


การปรับตัวของปะการังภายใต้ภาวะโลกร้อน
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:33 0:00

การปรับตัวของปะการังภายใต้ภาวะโลกร้อน

คุณ Stephen Palumbi นักชีววิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัย Standford หัวหน้าทีีมวิจัยทำการศึกษาเปรียบเทียบปะการังสายพันธุ์เดียวกันในสระน้ำสองสระที่อุณหภูมิต่างกันที่หมู่เกาะอเมริกันซามัว

ในสระเเรก น้ำมีอุณหภูมิสูงถึง 35 องศาเซลเซียสซึ่งอุ่นเกินไปสำหรับปะการังเกือบทุกสายพันธุ์ ในสระที่สอง น้ำมีอุณหภูมิที่เย็นกว่าสระเเรก 2 ถึง 3 องศา คุณ Palumbi กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานย้ายปะการังจากสระน้ำที่เย็นกว่าไปไว้ในสระที่น้ำอุ่นกว่าเพื่อศึกษาดูว่าปะการังตอบสนองอย่างไรต่ออุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมงานต้องการศึกษาว่าปะการังจะปรับตัวเพื่ออยู่รอดในน้ำที่อุ่นขึ้นและสามารถปรับตัวให้ทนต่อความร้อนได้หรือไม่หรือว่าความสามารถในการอยู่รอดขึ้นอยู่กับพันธุกรรม

หลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งปี ทีมวิจัยนำปะการังที่อาศัยในสระน้ำที่เย็นกว่าไปทดสอบในสระน้ำที่อุ่นกว่า แม้ว่าปะการังที่อาศัยในสระน้ำเย็นจะทนความร้อนได้น้อยกว่าปะการังที่อาศัยในสระน้ำที่อุ่นกว่าเเต่มันสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากถูกย้ายไปอยู่ในสระที่น้ำอุ่นกว่าหากเทียบกับวิวัฒนาการของปะการังในธรรมชาติ

คุณ Palumbi หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าทีมงานประมาณว่าปะการังในธรรมชาติน่าจะใช้เวลา 50-100 ปีในการวิวัฒนาการในสภาพเเวดล้อมแบบเดียวกับปะการังในการทดลองเพราะปะการังเป็นสัตว์ที่มีชีวิตยืนยาว ช่วงเวลาแต่ละรุ่นอายุของปะการังนานมากทำให้ปะการังในธรรมชาติวิวัฒนาการอย่างช้าๆ แต่จะสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วในสภาพเเวดล้อมแบบควบคุมอย่างที่เกิดขึ้นกับปะการังทดลอง แต่คุณ Palumbi ชี้ว่าปะการังสายพันธุ์ที่อาศัยในแนวปะการังน้ำอุ่นจะได้เปรียบกว่า

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าปะการังที่อาศัยในเขตน้ำที่อุ่นกว่ามีพันธุกรรมที่ช่วยให้มันอยู่รอดได้ในสภาพน้ำที่อุ่นขึ้นและยังสามารถปรับตัวทางชีววิทยาให้อยู่รอดได้ เขากล่าวว่าปะการังจากสระน้ำที่เย็นกว่าสามารถปรับตัวทางชีววิทยาได้เช่นกันเเต่ไม่มีพันธุกรรมแบบเดียวกับปะการังน้ำอุ่น

หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าในขณะที่น้ำทะเลอุ่นขึ้น ปะการังก็มีการปรับตัวตามไปด้วยเเต่ปรับตัวค่ิอนข้างช้ากว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก

เขากล่าวว่าความสามารถในการตอบสนองทางร่างกายและทางวิวัฒนาการอาจจะช่วยให้ปะการังอยู่รอดได้หลายสิบปี อาจช่วยให้ปะการังมีเวลามากขึ้นในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของภาวะอากาศโลกและทำให้คนเรามีเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ปัญหา

คุณ Palumbi หัวหน้าทีมวิจัยอเมริกันกล่าวปิดท้ายว่าผลการศึกษาชี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกนโยบายหันมาใช้ปะการังน้ำอุ่นในการช่วยอนุรักษ์แนวปะการังในทะเลที่ได้รับความเสียหายจากภาวะโลกร้อน เขาเชื่อว่าปะการังที่สามารถทนต่อน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นจะช่วยเยียวยาแนวปะการังที่เสียหายให้ฟื้นตัว

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG