นักวิทยาศาสตร์คิดวิธีแช่แข็งเซลล์เชื้อพันธุ์ปะการังเพื่อการอนุรักษ์ที่แนวปะการัง Great Barrier Reef ที่ประเทศออสเตรเลีย เทคนิคนี้เลียนแบบวิธีแช่แข็งเซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์
ความพยายามดังกล่าวซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอย่างเช่น Dr. Mary Hagedorn เป็นผู้ผลักดันทำให้เกิดธนาคารสเปิร์มของปะการัง รวมทั้งเป็นที่เก็บตัวอ่อนปะการังอีกด้วย ธนาคารเชื้อพันธุ์แห่งนี้อยู่ที่สวนสัตว์เมือง Dubbo ประเทศออสเตรเลีย
Dr. Rebecca Spindler จากสวนสัตว์แห่งนี้กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ชอบเทคนิคดังกล่าวมาก และเห็นผลดีในระยะยาว ขณะนี้เริ่มมีการใช้เซลล์เชื้อพันธุ์แช่แข็งมาช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของปะการังที่ Great Barrier Reef แล้ว
แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้มีความยาวมากกว่า 2,000 กิโลเมตร กินบริเวณกว้างใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทั้งนี้ Great Barrier Reef ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเขตมรดกโลก ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี
นอกจากนั้น Great Barrier Reef ยังเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดียวบนโลกที่สามารถถูกมองเห็นได้ในภาพถ่ายโลกจากอวกาศ
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Phil Mercer/เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท
ความพยายามดังกล่าวซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอย่างเช่น Dr. Mary Hagedorn เป็นผู้ผลักดันทำให้เกิดธนาคารสเปิร์มของปะการัง รวมทั้งเป็นที่เก็บตัวอ่อนปะการังอีกด้วย ธนาคารเชื้อพันธุ์แห่งนี้อยู่ที่สวนสัตว์เมือง Dubbo ประเทศออสเตรเลีย
Dr. Rebecca Spindler จากสวนสัตว์แห่งนี้กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ชอบเทคนิคดังกล่าวมาก และเห็นผลดีในระยะยาว ขณะนี้เริ่มมีการใช้เซลล์เชื้อพันธุ์แช่แข็งมาช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของปะการังที่ Great Barrier Reef แล้ว
แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้มีความยาวมากกว่า 2,000 กิโลเมตร กินบริเวณกว้างใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทั้งนี้ Great Barrier Reef ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเขตมรดกโลก ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่า 2 ล้านคนต่อปี
นอกจากนั้น Great Barrier Reef ยังเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดียวบนโลกที่สามารถถูกมองเห็นได้ในภาพถ่ายโลกจากอวกาศ
โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ
รายงานโดย Phil Mercer/เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท