นักข่าวจากเมียนมาหนีการปราบปราม หวังพึ่งไทยเป็นที่มั่นในการทำงานสื่อ

FILE - Police arrest a Myanmar Now journalist in Yangon, February 27, 2021, as protesters were taking part in a demonstration against the military coup.

Your browser doesn’t support HTML5

Myanmar Crackdown Free Press Driving Journalist Thailand


ผู้สื่อข่าววีโอเอได้สัมภาษณ์นักข่าวจากเมียนมาที่หนีออกมาอยู่ในไทย ตั้งแต่เมื่อต้นเดือนเมษายน เขาใช้ชื่อในการสัมภาษณ์ครั้งนี้เพียงว่า "วิน" เนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยเพราะเข้ามาที่ไทยอย่างผิดกฎหมาย

วินและนักข่าวอีกหลายสิบคนหนีออกจากประเทศของพวกเขาตั้งเเต่กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ตามข้อมูลของ Reporters Without Borders และ Human Rights Watch

วินบอกกับวีโอเอว่า เขากลัวที่จะถูกส่งกลับไปเมียนมา เพราะหากเป็นเช่นนั้นเขาน่าจะ "ถูกทรมาน" องค์กรข่าวต้นสังกัดของเขาถูกรัฐบาลเมียนมาบุกค้น และนักข่าวถูกควบคุมตัวไปดำเนินคดีมาแล้ว

ก่อนหน้านี้ กวีชาวพม่าสองคน คือเค ซา วิน และ เค็ต ติ ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของเมียนมา​

หน่วยงานเพื่อสิทธิมนุษยชน Assistance Association for Political Prisoners ระบุว่าในจำนวนคนหลายพันคนที่ถูกจับกุมตัวโดบกองกำลังทหารเมียนมา 98 คนคือผู้ที่ทำงานด้านข่าว

Myanmar police talk to people gathering outside the Kamayut court in Yangon, March 12, 2021.


ผู้คนที่เห็นต่างจากรัฐบาลและอยู่ในการควบคุมตัวของฝ่ายความมั่นคง จำนวนหนึ่งเสียชีวิตไป ในสภาพที่น่าตั้งคำถาม ญาติของพวกเขากล่าวว่า มีรายหนึ่งที่เจ้าหน้าที่บอกว่าเสียชีวิตเพราะหัวใจวาย

และอีกรายหนึ่ง ทางการกล่าวว่าเสียชีวิตเนื่องจากตกจากที่สูง

ลากูน เอียน นักวาดการ์ตูนจากเมียนมาหนีมาอยู่ในประเทศไทยเช่นกัน หลังจากที่ภาพล้อเลียนนายพลของเมียนมาเป็นสาเหตุที่กองทัพต้องการตัวเขา

ทั้งนี้ นักข่าววีโอเอไม่สามารถติดต่อโฆษกของกองทัพเมียนมาเพื่อขอความเห็นได้ ณ ขณะนี้ อย่างไรก็ตามกองทัพบกของเมียนมาเคยกล่าวว่าการตอบโต้โดยใช้กำลังจากฝ่ายรัฐเป็นไปตามระดับของภัยคุมต่อความมั่นคงของประเทศ

วินกล่าวว่าเขาระวังตัวมากเมื่อมาอยู่ที่ประเทศไทยโดยเขาพยายามปกปิดใบหน้า และหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่อาจจะมีคนรู้จัก นอกจากนั้นยังแกล้งทำตัวว่าเป็นคนไทย หรือเป็นคนที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยในไทย

เมื่อเดือนพฤษภาคม นักข่าวพม่าสามคนจากสื่อ Democratic Voice of Burma ที่ถูกขึ้นบัญชีดำโดยกองทัพ และนักเคลื่อนไหวที่เดินทางมาด้วยอีกสองคนถูกจับที่ภาคเหนือของไทยในข้อหาเข้าประเทศไทยผิดกฎหมาย

ในตอนนั้นกระทรวงการต่างประเทศของไทยบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าจะหาทางออกด้านมนุษยธรรมให้กับคนเหล่านี้ และในเดือนมิถุนายน สื่อ Democratic Voice of Burma กล่าวว่านักข่าวเหล่านี้หาที่อยู่ได้อย่างปลอดภัยในประเทศที่สามแล้วแต่ขอสงวนชื่อประเทศไว้

In this photo released by the San Sai District Administrative Office, a Thai officer checks the temperature of journalists working for Democratic Voice of Burma, at San Sai District in Chiang Mai province north of Thailand Sunday, May 9, 2021. Three senio

ลากูน เอียน นักวาดการ์ตูนล้อเลียนการเมือง และเพื่อนร่วมวงการสื่ออีกสี่คน บอกกับวีโอเอว่าพวกเขากำลังดำเนินการหาที่อยู่ในประเทศอื่นผ่านองค์การผู้อพยพ International Organization for Migration หรือ IOM แห่งสหประชาชาติ

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าววีโอเอยังไม่ได้รับการติดต่อกลับจาก IOM เมื่อถามขอความเห็น ส่วนกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่ให้เหตุผลว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน จึงไม่ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ

สำหรับวิน และนักข่าวอีกคนหนึ่งที่ชื่อตัน วิน ฮัต พวกเขากล่าวว่า อยากอยู่ในไทยต่อ เพื่อรายงานข่าวเกี่ยวกับเมียนมา จนกว่าจะปลอดภัยพอที่จะกลับไปประเทศบ้านเกิด

วินกล่าวว่า "ชาวไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี" เขาเพียงต้องการอยู่เพื่อทำงานสื่อสารมวลชน และบอกว่าจะทำตามกฎหมายไทยเเละไม่เเทรกเเซงการเมืองของไทย