อิหร่านเปิดตัว 'ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง' พิสัยทำการ 1,400 กม.

  • VOA

Women look at a Fattah missile in a ceremony in Tehran, Iran, June 6, 2023. Iran is claiming that it's created a hypersonic missile capable of traveling at 15 times the speed of sound.

อิหร่านเปิดตัวขีปนาวุธ "ความเร็วเหนือเสียง" พร้อมอ้างศักยภาพว่าสามารถเดินทางได้เร็วกว่าความเร็วเสียง 15 เท่า และมีพิสัยทำการ 1,400 กม.

ขีปนาวุธรุ่นใหม่นี้มีชื่อว่า ฟัตตาห์ (Fattah) ถูกนำมาจัดแสดงในวันอังคาร หลังจากที่มีการโหมโฆษณาและเตรียมการล่วงหน้าหลายวัน โดยมีประธานาธิบดีอิหร่าน เอบราฮิม ราอิซี เข้าร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ด้วย

อาลี ฮาจิซาเดห์ หัวหน้าด้านอวกาศของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม หรือ IRGC (Islamic Revolutionary Guards Corps) ของอิหร่าน ทวีตเมื่อเที่ยงคืนวันอังคารว่า "แสงอาทิตย์ที่สาดส่องในเช้าวันอังคารจะไม่เหมือนเดิม แต่จะเป็นแสงอาทิตย์ที่มาพร้อมกับฟัตตาห์"

Iranian President Ebrahim Raisi speaks during the unveiling ceremony of the new ballistic missile called Fattah, in Tehran, Iran, June 6, 2023. (IRGC/WANA/Handout via Reuters)

ทั้งนี้ ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง หรือ ไฮเปอร์โซนิค มิสไซล์ (Hypersonic missile) คือจรวดที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงอย่างน้อย 5 เท่า และมีวิถีการโคจรที่ซับซ้อน

IRGC อ้างว่า ขีปนาวุธฟัตตาห์สามารถทำลายระบบป้องกันตนเองทางอากาศได้ทุกชนิด แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวอ้างนี้เป็นความจริงหรือไม่

Commander-in-Chief of the Islamic Revolution Guards Corps Hossein Salami and IRGC Aerospace Force Commander Amir Ali Hajizadeh stand next to the new hypersonic ballistic missile called Fattah, in Tehran, Iran, June 6, 2023. (IRGC/WANA/Handout via Reuters)

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่แล้ว ระหว่างที่กำลังเกิดการประท้วงใหญ่ในอิหร่าน รัฐบาลกรุงเตหะรานได้ประกาศความสำเร็จของการพัฒนาขีปนาวุธฟัตตาห์

ในตอนนั้น โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แสดงความคลางแคลงใจเก่ยวกับคำกล่าวอ้างของอิหร่าน พร้อมยืนยันว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังจับตามองการพัฒนาขีปนาวุธนี้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งการแพร่กระจายเทคโนโลยีขีปนาวุธที่ซับซ้อนนี้ด้วย

ความกังวลเกี่ยวกับโครงการขีปนาวุธวิถีโค้งของอิหร่าน คือส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ที่จัดทำไว้กับอิหร่านเมื่อปี 2015 ก่อนที่จะนำมาตรการลงโทษกลับมาใช้กับรัฐบาลเตหะรานอีกครั้งในเวลาต่อมา

  • ข้อมูลบางส่วนจากเอพี และรอยเตอร์