ผู้นำอาเซียนเรียกร้องไกล่เกลี่ยข้อพิพาททะเลจีนใต้อย่างสันติวิธีในการประชุมสุดยอดที่มาเลเซีย

Malaysia's Prime Minister Najib Razak speaks during the opening ceremony of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, April 27, 2015.

ความกังวลของผู้นำอาเซียนสะท้อนความตึงเครียดระหว่างสมาชิกอาเซียนบางประเทศกับจีน หลังจากจีนก่อสร้างอาคารและท่าเรือในหมู่เกาะ Spratly

Your browser doesn’t support HTML5

ผู้นำอาเซียนเรียกร้องไกล่เกลี่ยข้อพิพาททะเลจีนใต้

From left to right, Singapore's Prime Minister Lee Hsien Loong, Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha, Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, Laos's Prime Minister Thongsing Thammavong, Malaysia's Prime Minister Najib Razak, Myanmar's President T

นายกฯ มาเลเซีย Najib Razak ประธานอาเซียนประจำปีนี้ กล่าวต่อผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันจันทร์ เรียกร้องให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในทะเลจีนใต้อย่างสันติวิธี

นายกฯ Najib Razak กล่าวว่าอาเซียนจำเป็นต้องจัดการความขัดแย้งแตกต่างในประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนนี้ โดยไม่ก่อให้เกิดความตึงเครียดยิ่งขึ้น และว่าทะเลจีนใต้คือเส้นทางขนส่งสินค้าสำคัญของโลก ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในแถบนี้จึงได้รับการจับตามองไปทั่วโลก รวมทั้งข้อพิพาทล่าสุดซึ่งอาเซียนต้องจัดการแก้ไขโดยเร็ว ในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้รุนแรงขึ้น หลังจากมีภาพถ่ายดาวเทียมเปิดเผยให้เห็นภาพสิ่งก่อสร้างหลายอย่างในแถบหมู่เกาะ Spratly เช่นอาคารหลายชั้น ท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือของทหารได้ ตลอดจนสิ่งที่ดูเหมือนเส้นทางขึ้นลงเครื่องบินที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์

หมู่เกาะ Spratly มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอุดมสมบูรณ์ และเชื่อว่าอาจมีแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติซุกซ่อนอยู่ หมู่เกาะแห่งนี้อยู่ห่างจากจีนมากกว่า 3,000 กม. แต่ห่างจากฟิลิปปินส์ 860 กม. และห่างจากเวียดนามไม่ถึง 800 กม.

Philippines China Disputed Sea

นักวิเคราะห์เชื่อว่าการที่จีนก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ ดังกล่าวในบริเวณนั้น คือความพยายามขยายอิทธิพลครอบคลุมทะเลจีนใต้ และเสริมความแข็งแกร่งทางทหารของกองทัพจีน

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จีนและอาเซียนตกลงที่จะเจรจาเพื่อหาทางจัดทำ Code of Conduct หรือร่างระเบียบปฏิบัติว่าด้วยทะเลจีนใต้ ซึ่งจะนำมาใช้ควบคุมการละเมิดข้อกำหนดต่างๆ และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้ นายกฯ Najib Razak กล่าวว่าในฐานะประธานอาเซียน ตนจะผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องระเบียบปฏิบัติว่าด้วยทะเลจีนใต้ระหว่างการประชุมในสัปดาห์นี้


เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของฟิลิปปินส์ Albert del Rosario เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพร้อมใจกันต่อต้านการกระทำของจีนในทะเลจีนใต้ และขอให้จีนหยุดการก่อสร้างใดๆ ในบริเวณหมู่เกาะ Spratly

Spratly Islands, China Sea Territorial Claims

แต่นักวิเคราะห์ชี้ว่า เวลานี้กำลังเกิดความแตกแยกในกลุ่มอาเซียนเกี่ยวกับจุดยืนที่มีต่อจีนในประเด็นทะเลจีนใต้ โดยฝ่ายหนึ่งคือประเทศที่ต้องพึ่งพาจีนในด้านเศรษฐกิจ เช่น ลาว กัมพูชา และพม่า ซึ่งล้วนไม่ได้กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งไทยที่กำลังสานสัมพันธ์ทางทหารกับจีน กับอีกฝ่ายหนึ่งที่นำโดยฟิลิปปินส์กับเวียดนาม ซึ่งกำลังมีข้อพิพาทกับจีนในเรื่องนี้

ทำให้เชื่อว่าการจะรวบรวมให้อาเซียนพร้อมใจต่อต้านจีนในประเด็นนี้ คงจะเป็นไปได้ยาก

ผู้สื่อข่าววีโอเอประจำกรุงเทพฯ Ron Corben รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง