นักเรียนต่างชาติกังวลเรื่องความรุนแรงในรั้วมหาวิทยาลัย

  • VOA

US Schools Draw Less Foreign Students

ความรุนแรงจากการใช้ปืนอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ขบวนพาเหรดในวันหยุด หรือร้านขายอาหาร และยังอาจเกิดขึ้นได้ในรั้วมหาวิทยาลัยอีกด้วย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มือปืนคนหนึ่งเข้าไปก่อเหตุในบริเวณมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 5 คน และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย 3 คนถูกเพื่อนร่วมชั้นฆ่าตายขณะที่เดินทางกลับมาจากกรุงวอชิงตัน

นอกจากนี้ยังมีการใช้ความรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ ตามรั้วมหาวิทยาลัย อย่างเช่นเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว มีการก่อเหตุโดยใช้มีดคร่าชีวิตนักศึกษา 4 คนจากมหาวิทยาลัยไอดาโฮ ในขณะที่พวกเขานอนหลับอยู่ในบ้านที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ปัจจุบันยังคงมีการสืบสวนคดีนี้กันอยู่ ส่วนที่รัฐมิชิแกน ชายที่ก่อเหตุยิงนักเรียนฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา และที่รัฐเวอร์จิเนีย ตำรวจได้จับกุมนักเรียนที่ก่อเหตุยิงเพื่อนร่วมชั้นของเขาเอง

ข้อมูลจาก Violence Project ระบุว่า มีการก่อเหตุกราดยิงเก้าครั้งทั้งในหรือรอบ ๆ มหาวิทยาลัยในอเมริกาตั้งแต่ปี 1966

สำหรับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคในปี 2007 โดยนักศึกษาคนหนึ่งได้สังหารผู้คนไป 32 คนและบาดเจ็บอีก 17 คน

15 ปีต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎเกณฑ์บางอย่าง แต่การก่อเหตุกราดยิงก็ยังคงเกิดขึ้น

ความเสี่ยงของความรุนแรงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อนักศึกษาต่างชาติที่เดินทางมาศึกษาต่อที่สหรัฐฯ อย่างไร? และมีผลกระทบต่อผู้ที่มีหน้าที่รับสมัครนักเรียนอย่างไรบ้าง?

โบ เบ็นสัน (Beau Benson) ผู้รับสมัครนักศึกษาต่างชาติที่มหาวิทยาลัยนอร์ธ อีสเทิร์น ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดกล่าวว่า นักเรียนที่คิดจะมาเรียนต่อที่สหรัฐฯ มีคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยมากขึ้น หลังจากเหตุกราดยิงที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ส่วนบรรดาพ่อแม่ที่มีความกังวลในเรื่องนี้ก็มักจะมีคำถามว่า ลูกชายหรือลูกสาวของตนจะปลอดภัยหรือไม่ถ้าต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาเรียนที่สหรัฐฯ

Northeastern University, The City of Boston and American Campus Communities Come Together to Open LightView Student Living Community

อย่างไรก็ตาม เบ็นสันตั้งข้อสังเกตว่าคำถามเหล่านั้นจะเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ข่าวและการเมืองระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ บรรดานักเรียนต่างชาติและผู้ปกครองจะมีความกังวลว่าจะได้การยอมรับจากคนในสหรัฐฯ หรือไม่มากกว่า แต่ในช่วงสองสามสัปดาห์หรือหลายเดือนที่ผ่านมานี้ หัวข้อเรื่องความรุนแรงจากการใช้อาวุธปืนได้เกิดขึ้นอีกครั้ง

คาร์ทิค ซันดาราม (Kartik Sundaram) นักศึกษาจากประเทศอินเดีย ซึ่งทำงานศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน เขาอาศัยอยู่ที่แอนน์ อาร์เบอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนประมาณ 100 กิโลเมตร ซันดารามเรียกเหตุกราดยิงในมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ “น่าสลดใจ แต่ก็เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการควบคุม” และว่าเขาไม่สามารถทำอะไรในเรื่องนี้ได้ ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องเปลืองสมองไปคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ และถ้าหากมีคนถือปืนมาที่ห้องเรียนของเขาจริง ๆ เขาก็คงต้องตายไป เท่านั้นเอง

ส่วน คูชิ อักนิช (Khushi Agnish) นักศึกษาจากอินเดียอีกผู้หนึ่ง เพิ่งจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยควินิพิแอค ในรัฐคอนเนตทิคัต และปัจจุบันทำงานเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเยล

ดังนั้นเธอจึงมีประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยในอเมริกาถึงสองแห่ง เธอกล่าวว่าสภาพแวดล้อมที่ควินิพิแอคแตกต่างจากที่เยลมากแม้ว่าจะอยู่ห่างกันเพียง 15 นาทีก็ตาม

ที่มหาวิทยาลัยเยล ในเมืองนิว เฮเวน ผู้คนสามารถเดินเข้าออกในมหาวิทยาลัยได้โดยไม่มีปัญหามากนัก แต่ต้องใช้บัตรนักเรียนเพื่อเข้าตัวอาคาร ในทางกลับกันควินิพิแอค ซึ่งอยู่ที่ชานเมืองแฮมเดน อยู่ติดกับสวนสาธารณะขนาดใหญ่และแยกตัวออกจากบริเวณบ้านเรือนและย่านธุรกิจ ทุกคนที่ขับรถจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของโรงเรียนเพื่อเข้าออกในรั้วมหาวิทยาลัย

FILE - In this Dec. 13, 2018, file photo, a gate opens to the Harvard University campus in Cambridge, Mass. The U.S. Education Department said Wednesday, Feb. 12, 2020, it is investigating foreign gifts made to Harvard and Yale as part of a broader…

อักนิชกล่าวว่าเธอรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมและบางครั้งก็รู้สึกว่าที่นิว เฮเวนนั้น ปลอดภัยน้อยกว่าที่อินเดีย บางครั้งก็กังวลว่าเธออาจตกเป็นเป้าหมายที่ถูกยิงเพราะสีผิวของเธอเอง

เธอกล่าวอีกว่า ด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองปืนในประเทศนี้ ทำให้เกิดความหวาดกลัวอยู่เสมอว่า หากใครสักคนกำลังโกรธคุณอยู่ พวกเขาก็สามารถถือปืนมายิงคุณได้เลย

อย่างไรก็ตาม ซันดารามกล่าวว่า เขาเชื่อว่าถึงอย่างไรประโยชน์ของการศึกษาต่อในสหรัฐฯ ก็ยังมีมากกว่าความเสี่ยงอยู่ดี เพราะ “โอกาสที่จะมีรายได้สูง คือปัจจัยที่สำคัญ”

เบ็นสันจากมหาวิทยาลัยนอร์ธ อีสเทิร์น มีความกังวลว่านักเรียนต่างชาติบางคนอาจไม่ต้องการมาเรียนที่สหรัฐฯ เนื่องจากปัญหาเรื่องความรุนแรงและค่าเล่าเรียนที่สูง

นอกกจากนี้ มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งในแคนาดา ออสเตรเลีย และยุโรปเหนือก็ถือว่ามีความปลอดภัยกว่าและมักจะมีค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่าอีกด้วย เขาบอกกับนักเรียนว่าบอสตันเป็นเมืองที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนต่างชาติ และทางมหาวิทยาลัยนอร์ธ อีสเทิร์นเอง ก็พยายามรักษาเขตรั้วมหาวิทยาลัยให้ปลอดภัย

  • ที่มา: วีโอเอ