'แช่น้ำแข็ง' เทรนด์ยอดนิยมกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ยังรอพิสูจน์

A participant sits in an ice bucket during an ice bath therapy session at the desert near Sharjah, United Arab Emirates, June 25, 2021. Picture taken June 25, 2021.

มีคำกล่าวอ้างมากมายในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับประโยชน์ของการแช่น้ำแข็งต่อสุขภาพ รวมไปถึงการมีอารมณ์ดีขึ้น เพิ่มพลังงาน น้ำหนักลด และลดการอักเสบ แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าคำกล่าวอ้างเหล่านั้นไม่ได้มีความหนักแน่นมากนัก

การแช่น้ำแข็งเป็นหัวข้อยอดนิยมในหน้าโซเชียลมีเดียของอเมริกา โดยมีบรรดาผู้มีชื่อเสียง เช่น คิม คาร์ดาเชียน, แฮรี่ สไตลส์, คริสเทน เบลล์, ลิโซว์ และดาราคนอื่น ๆ อีกมากมายที่โพสต์เกี่ยวกับประสบการณ์แช่น้ำแข็งของตน

แดน โอคอนเนอร์ (Dan O'Conor) ชายวัย 55 ปีที่อาศัยอยู่ในชิคาโก เป็นตัวอย่างของคนที่ใช้วิธีแช่น้ำเย็นซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำกันมายาวนานหลายร้อยปีแล้ว โดยเขาจะกระโดดลงไปในทะเลสาบมิชิแกนแทบทุกวันตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020

เขาใช้คำว่า "เอ็นโดฟินส์" ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขที่หลั่งออกมาจากปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความเครียด การออกกำลังกาย และกิจกรรมอื่น ๆ ในการพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขา

โอคอนเนอร์กล่าวว่า “การหลั่งสารเอ็นโดร์ฟิน … เป็นวิธีอันน่าทึ่งในการปลุกและทำให้ร่างกายตื่นตัวเหมือนกับเป็นการสตาร์ทเครื่องยนต์”

FILE - "The Great Lake Jumper" Dan O'Conor takes a plunge into the frigid waters of Lake Michigan, Jan. 26, 2023, in Chicago.

เขากระโดดทะเลสาบเป็นครั้งแรกในช่วงต้นของการเกิดโรคระบาดใหญ่ โอคอนเนอร์เล่าว่า น้ำในเดือนมิถุนายนวันนั้นให้ความรู้สึกดี หลังจากวันนั้นเขาจึงกระโดดลงไปทุกวัน เมื่อน้ำเริ่มเย็นลงพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ผลที่ได้รับก็ยิ่งดีมากขึ้นไปอีก โดยเขารู้สึกได้ว่าสุขภาพจิตของเขาแข็งแรงขึ้นมาก และรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้นอีกด้วย

นายแพทย์ วิลล์ โครเนนเว็ทท์ (Dr. Will Cronenwett) จาก Feinberg Medical School แห่งมหาวิทยาลัย Northwestern University ได้ทดลองแช่ในน้ำเย็นครั้งหนึ่งในขณะที่ไปเยี่ยมเพื่อนชาวสแกนดิเนเวีย หลังจากการอบซาวน่า เขาได้กระโดดลงไปในน้ำเย็นจัดเป็นเวลาสองสามนาที ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมาก

แต่นายแพทย์โครเนนเว็ทท์กล่าวว่า การศึกษาเรื่องการแช่ในน้ำเย็นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นการทดลองแบบสุ่มที่มีการควบคุมนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากการที่จะพัฒนายาหลอกสำหรับการแช่น้ำเย็นนั้นเป็นเรื่องยาก

ทั้งนี้ ยาหลอก หรือ Placebo เป็นสิ่งที่ไม่มีผลใด ๆ ต่อร่างกาย แต่มีความสำคัญเนื่องจากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์นั้นจำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบผลกระทบที่เป็นไปได้ของบางสิ่งบางอย่างกับอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่มีผลกระทบทางกายภาพ

เขากล่าวต่อไปว่า การแช่น้ำเย็นทำให้ระบบประสาทต่าง ๆ ตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมปฏิกิริยาความเครียด การบำบัดด้วยน้ำเย็นตามปกติอาจช่วยลดปฏิกิริยาดังกล่าว ซึ่งอาจช่วยให้ผู้คนรู้สึกดีขึ้นที่สามารถจัดการกับความเครียดอื่น ๆ ในชีวิตของตนได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ก็ตาม

FILE - "The Great Lake Jumper" Dan O'Conor towels off after taking a plunge into the frigid waters of Lake Michigan, Jan. 27, 2023, in Chicago.

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชาวเช็คพบว่า การแช่น้ำเย็นอาจเพิ่มระดับโดพามีนในเลือด ซึ่งเป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งได้ถึง 250% โดยปริมาณที่สูงนี้เชื่อมโยงกับความหวาดระแวงและความก้าวร้าว ตามข้อมูลของเจมส์ เมอร์เซอร์ (James Mercer) แห่งมหาวิทยาลัย Arctic University of Norway ซึ่งร่วมเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์ชิ้นล่าสุดที่ศึกษาเกี่ยวกับการบัดรักษาด้วยการแช่น้ำเย็น

การศึกษาพบว่า การแช่ในน้ำเย็นจะทำให้ความดันโลหิตและความเครียดในหัวใจเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าการแช่ในน้ำเย็นนั้นปลอดภัยสำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และผลกระทบจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น

แต่นายแพทย์โครเนนเว็ทท์ กล่าวด้วยว่า บางครั้งผลกระทบเหล่านี้ก็อาจทำให้หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจระยะแรกควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการแช่ในน้ำเย็น

ในขณะเดียวกัน เมอร์เซอร์จากมหาวิทยาลัย Arctic University of Norway ตั้งข้อสังเกตว่า การแช่ในน้ำเย็นซ้ำ ๆ ในช่วงฤดูหนาวจะช่วยให้ปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังอาจช่วยควบคุมอาการเจ็บป่วย แต่ก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมให้รู้แน่ชัด

นอกจากนี้แล้ว การแช่น้ำเย็นยังเป็นการกระตุ้นไขมันสีน้ำตาล ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลิน และยังช่วยให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้อีกด้วย

  • ที่มา: เอพี