ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์การอนามัยโลกชี้ 60% ของการสูญเสียการได้ยินในเด็กป้องกันได้


Hearing Loss
Hearing Loss

องค์การอนามัยโลกรณรงค์ส่งเสริมการตรวจการได้ยินในเด็กแต่เนิ่นๆ และหาทางป้องกันการสูญเสียโสตประสาทในเด็ก

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:25 0:00
Direct link

องค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีคน 360 ล้านคนทั่วโลกสูญเสียการได้ยิน โดยเกือบ 32 ล้านคนเป็นเด็ก

และในจำนวนเด็กทั้งหมดที่พิการทางการได้ยิน อย่างน้อย 31 ล้านคนอยู่ในประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ

คุณ Alarcos Cieza เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการป้องกันการสูญเสียการมองเห็นและการได้ยินแห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ราว 40 เปอร์เซ็นต์ของการสูญเสียการได้ยินในเด็กอาจมีสาเหตุทางพันธุกรรมและ 31 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการติดเชื้อ

คุณ Cieza กล่าวว่าเป็นที่รู้กันอยู่เเล้วว่า การติดเชื้อโรคบางชนิดในช่วงวัยเด็ก ส่งผลให้สูญเสียการได้ยินตามมา อาทิ คางทูม ไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคหัดต่างๆ หรือแม้เเต่อาการหูอักเสบทั่วไป หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อที่ส่งต่อมาจากมารดา เช่น หัดเยอรมัน

เธอกล่าวว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคสามารถช่วยได้และในบางกรณีและหากเป็นการสูญเสียการได้ยินทั่วไป การดูแลรักษาเป็นทางออกที่ดี

คุณ Cieza กล่าวว่าเกือบ 1 ใน 5 ของเด็กที่สูญเสียการได้ยิน เป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการคลอด ทารกน้ำหนักตัวตอนคลอดต่ำและอาการตัวเหลือง เธอกล่าวว่าโครงการบำบัดที่ตั้งในชุมชนจะมีบทบาทในการสร้างความตื่นตัวต่อเรื่องนี้และช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติทางลบของคนต่อผู้พิการทางการได้ยิน

คุณ Cieza เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการป้องกันหูหนวกและตาบอดแห่งสหประชาชาติชี้ว่า องค์การอนามัยโลกในฐานะหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน

และงานหลักอย่างหนึ่งคือการลดทัศนคติทางลบ และเสริมสร้างสิทธิแก่ผู้พิการทางการได้ยินและครอบครัว

คุณ Cieza กล่าวว่าองค์การอนามัยโลกใช้ยุทธศาสตร์นี้ในกว่า 100 ประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ เธอกล่าวว่าการตรวจหาเเต่เนิ่นๆ ว่าเด็กคนใดที่มีความพิการทางการได้ยิน มีความสำคัญมาก เพื่อนำไปสู่มาตรการที่จำเป็น อาทิ การจัดหาเครื่องช่วยฟัง

และหากไม่สามารถจัดหาเครื่องช่วยฟังได้ การสอนเด็กที่หูพิการให้รู้จักสื่อสารผ่านภาษามือ ตลอดจนความสามารถทางการศึกษาอย่างอื่น จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กเหล่านี้ๆ ได้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG