ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'ปุ่มสั่งยิงนิวเคลียร์' ที่ผู้นำสหรัฐฯ อ้างว่า 'ใหญ่กว่า' ของเกาหลีเหนือ มีจริงหรือไม่?


Nuclear bomb
Nuclear bomb

เมื่อวันอังคาร ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตข้อความตอบโต้คำปราศรัยของผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จอง อึน ที่ว่าตนมีปุ่มกดยิงนิวเคลียร์อยู่บนโต๊ะทำงาน และสามารถโจมตีจุดใดก็ได้บนแผ่นดินใหญ่ของอเมริกา

โดย ปธน. ทรัมป์ ทวีตอ้างว่า ตนมีปุ่มนิวเคลียร์ที่ ”ใหญ่กว่า” และ ”ทรงพลัง” กว่าของเกาหลีเหนือ และสามารถทำงานได้จริง!

NUCLEAR BUTTON
NUCLEAR BUTTON

ในความเป็นจริง แต่ละประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ ล้วนแต่มีขั้นตอนของตนเองในการสั่งยิง หรือการอนุมัติให้โจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์

สำหรับสหรัฐฯ นั้น การตัดสินใจให้โจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์เป็นอำนาจสิทธิ์ขาดของประธานาธิบดี และเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน

โดยเริ่มจากสิ่งที่เรียกว่า “Football” ซึ่งหมายถึงกระเป๋าหิ้วหนักราว 20 กิโลกรัม ที่บรรจุอุปกรณ์สื่อสารเข้ารหัสและคู่มือเป้าหมายต่างๆ ซึ่งสามารถสั่งโจมตีด้วยหัวรบนิวเคลียร์ 900 หัวของสหรัฐฯได้

A military aide, carrying the "football" containing launch codes for nuclear weapons, accompanies U.S. President Donald Trump onto Marine One upon Trump's departure from the White House in Washington, Feb. 3, 2017.
A military aide, carrying the "football" containing launch codes for nuclear weapons, accompanies U.S. President Donald Trump onto Marine One upon Trump's departure from the White House in Washington, Feb. 3, 2017.

โดยกระเป๋าใบนี้จะมีเจ้าหน้าที่ทหารผู้ติดตามประธานาธิบดีหิ้วอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าประธานาธิบดีจะอยู่ที่ไหนก็ตาม และประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็มีรหัสระบุตัวซึ่งพกติดตัวอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

ซึ่งหากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตัดสินใจสั่งให้มีการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ก็จะแจ้งรหัสระบุตัวนี้ต่อเจ้าหน้าที่ทหารผู้ติดตามเพื่อพิสูจน์ตนเอง

จากนั้นก็จะใช้อุปกรณ์สื่อสารเข้ารหัสในกระเป๋าส่งคำสั่งไปยังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อส่งคำสั่งต่อไปยังกองบัญชาการยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในรัฐเนบราสก้า ซึ่งควบคุมหัวรบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ อีกทอดหนึ่ง

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจสั่งโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วยตนเอง และไม่ต้องขออนุมัติจากใคร ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภาหรือกองทัพ

และกระบวนการตัดสินใจสั่งให้โจมตีจากประธานาธิบดีถึงกระทรวงกลาโหม ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ จะใช้เวลาเพียงราว 20 นาทีเท่านั้น

(ขั้นตอนการสั่งยิงนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ)

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไม่เห็นด้วยกับคำสั่งยิงอาวุธนิวเคลียร์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็มีอำนาจสั่งปลดและตั้งผู้ดำรงตำแหน่งแทนได้

และเมื่อมีการยิงอาวุธนิวเคลียร์ออกไปแล้ว หัวรบดังกล่าวจะไม่สามารถยกเลิกหรือเรียกคืนได้แต่อย่างใด

A B61 nuclear bomb on display at the Pima Air & Space Museum in Tucson, Arizona (Flickr user Dave Bezaire)
A B61 nuclear bomb on display at the Pima Air & Space Museum in Tucson, Arizona (Flickr user Dave Bezaire)

XS
SM
MD
LG