ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์ '4 คำถาม - คำตอบ' สำคัญ จากการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ


นักวิเคราะห์เสนอให้สหรัฐฯ เพิ่มแนวทางอื่นนอกเหนือจากการลงโทษต่อเกาหลีเหนือ รวมถึงการใช้ยุทธวิธีด้านข้อมูลข่าวสารต่อกลุ่มชนชั้นผู้นำเกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือทดลองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งแรงระเบิดในชั้นใต้ดินถือว่ารุนแรงระดับเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นที 100,000 ตัน การทดลองนี้ถูกประณามโดยนานาประเทศ รวมถึงจีนซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของเกาหลีเหนือ

วีโอเอภาคภาษาเกาหลีสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อหาคำตอบให้กับประเด็นหลักๆ ดังนี้

1. รัฐบาลกรุงเปียงยางต้องการอะไรจากการทดลองนิวเคลียร์?

อาจารย์ Walter H. Sherenstein ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่าเกาหลีเหนือต้องการแสดงแสนยานุภาพทางทหารว่า กองทัพของตนสามารถสร้างความเสียหายให้กับแผ่นดินสหรัฐฯ ได้

เบื้องหลังความแข็งกร้าวในเรื่องนี้เกี่ยวกับการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ คู่ปรับของเกาหลีเหนือที่ยาวนาน

สัญญาณอีกประการหนึ่งที่ชัดเจนคือ การใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือจากนานาประเทศ ยังคงไม่สามารถกดดันให้รัฐบาลเปียงยางหยุดการทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์

นั่นหมายความว่าผู้นำเกาหลีเหนือเห็นความสำคัญเรื่องการแสดงศักยภาพทางทหาร มากกว่าการยอมเจรจาตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ

North Korean leader Kim Jong Un, center, provides guidance on a nuclear weapons program in this undated photo released by North Korea's Korean Central News Agency (KCNA) in Pyongyang, Sept. 3, 2017. KCNA via REUTERS
North Korean leader Kim Jong Un, center, provides guidance on a nuclear weapons program in this undated photo released by North Korea's Korean Central News Agency (KCNA) in Pyongyang, Sept. 3, 2017. KCNA via REUTERS

2. เกาหลีเหนือได้อะไรจากการทดลองเหล่านี้?

นอกจากการเพิ่มระดับความก้าวล้ำทางอาวุธแล้ว นักวิเคราะห์ Alan Romberg ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกที่สถาบัน Stimson Center กล่าวว่า รัฐบาลเปียงยางยังต้องการส่งสัญญาณความไม่พอใจต่อความร่วมมือทางทหารที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ

และ Ken Gause นักวิเคราะห์อีกผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ Center for Naval Analyses กล่าวว่า เกาหลีเหนือต้องการให้จีน แสดงอิทธิพลต่อรัฐบาลอเมริกันภายใต้ประธานาธิบดีทรัมป์ ให้ฝ่ายสหรัฐฯ ร่วมโต๊ะเจรจาอย่างไม่มีเงื่อนไข

ส่วนอาจารย์ David Maxwell จากมหาวิทยาลัย Georgetown ที่กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ผู้นำเกาหลีเหนือ นายคิม จอง อึน ยังต้องการสร้างความปั่นป่วนให้กับความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯ มีต่อเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

เขากล่าวว่า เมื่อเกาหลีเหนือมีท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้ รัฐบาลกรุงวอชิงตัน โตเกียวและโซล ต้องการเดินนโยบายตอบโต้ในระดับต่างกัน และจุดยืนที่แตกต่างอาจบั่นทอนมิตรภาพของทั้งสามประเทศได้

สังเกตได้ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ได้วิจารณ์ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นาย มูน แจ อิน ก่อนหน้านี้ที่ต้องการเจรจาเชิงสันติกับเปียงยาง

In this photo provided by South Korea Defense Ministry, South Korea's Hyunmoo II ballistic missile is fired during an exercise at an undisclosed location in South Korea, Monday, Sept. 4, 2017.
In this photo provided by South Korea Defense Ministry, South Korea's Hyunmoo II ballistic missile is fired during an exercise at an undisclosed location in South Korea, Monday, Sept. 4, 2017.

3. วิธีใดน่าจะเหมาะสมในการตอบโต้เกาหลีเหนือ?

อาจารย์ David Maxwell จากมหาวิทยาลัย Georgetown กล่าวว่า นานาชาติไม่ควรแสดงความตระหนก หรือทำให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่เกาหลีเหนือทดลองขีปนาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ กรุงเปียงยางจะได้ให้ผลเชิงจิตวิทยาจากการเก็บอาการไม่อยู่ของประเทศต่างๆ

เขาแนะนำว่า วิธีที่ดีกว่าการแสดงปฏิกิริยารายประเทศ คือการแสดงจุดยืนร่วมผ่านองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เพราะเมื่อเกาหลีเหนือเห็นความตระหนกบ่อยๆ จากประเทศต่างๆ หลายครั้ง นั่นเป็นการตอกย้ำให้กรุงเปียงยางเชื่อว่า ตนสามารถสร้างความระส่ำระสายด้านจิตใจต่อผู้นำประเทศเหล่านั้นอย่างได้ผล

Ken Gause นักวิเคราะห์ จากศูนย์ Center for Naval Analyses บอกว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ควรเข้าใจถึงเครื่องมือต่างๆ ที่จะทำให้เกาหลีเหนือยอมร่วมเจรจา เขากล่าวว่าแรงกดดันจากมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล และน่าจะมีส่วนผสมของการการันตีด้านความมั่นคงต่อเกาหลีเหนือด้วย

Bombs dropped by U.S. Air Force B-1B bombers, F-35 stealth fighter jets and South Korean F-15 fighter jets hit a simulated target as they fly over the Korean Peninsula, South Korea, Thursday, Aug. 31, 2017.
Bombs dropped by U.S. Air Force B-1B bombers, F-35 stealth fighter jets and South Korean F-15 fighter jets hit a simulated target as they fly over the Korean Peninsula, South Korea, Thursday, Aug. 31, 2017.

4. ความเป็นได้เรื่องสงครามมีมากแค่ไหน?

Bruce Bennett นักวิเคราะห์จาก Rand Corporation กล่าวว่า หากเกิดการโจมตีเกาหลีเหนือจริง ความขัดแย้งนี้น่าจะกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง

หากสหรัฐฯ ต้องการเลี่ยงสงครามเต็มรูปแบบ เขากล่าวว่าอเมริกาอาจแสดงให้เห็นว่า กองทัพสหรัฐฯ พร้อมที่จะยิงสกัดให้ขีปนาวุธที่เกาหลีเหนือทดลองยิงตกลงได้

นักวิเคราะห์ผู้นี้บอกว่า สหรัฐฯ มีศักยภาพด้านการสอดแนมและการทหารที่สามารถขยายผลเรื่องข้อมูลการทดลองยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเพื่อวางแผนการตอบโต้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ แทนที่จะก่อสงครามเต็มรูปแบบ

เขากล่าวเสริมว่า อเมริกาอาจใช้ยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้กลุ่มผู้นำในเกาหลีเหนือต่อต้านนายคิม จอง อึน เพื่อแสดงให้นายคิมเห็นว่าการทดลองอาวุธสามารถส่งผลด้านลบต่อความมั่นคงทางการเมืองของเขาได้

XS
SM
MD
LG