ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ญี่ปุ่นขยายอุโมงค์ยักษ์ รับมือน้ำท่วมกรุงโตเกียว


เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน ในกรุงโตเกียว (REUTERS/Issei Kato)
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน ในกรุงโตเกียว (REUTERS/Issei Kato)

ญี่ปุ่นเร่งขยายพื้นที่อุโมงค์ยักษ์ใต้ดิน เพื่อช่วยกรุงโตเกียวเมืองหลวง รองรับมวลน้ำจากฝนที่ตกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศผิดธรรมชาติในอนาคต

ภาพภายในอุโมงค์กักเก็บน้ำฝนในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น (REUTERS/Issei Kato)
ภาพภายในอุโมงค์กักเก็บน้ำฝนในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น (REUTERS/Issei Kato)

นี่อาจดูเหมือนถ้ำลับใต้ดินในภาพยนตร์ไซไฟ แต่แท้จริงแล้วสิ่งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้กรุงโตเกียวรอดพ้นจากน้ำท่วมที่มีผลมาจากโลกร้อน

ทางการญี่ปุ่น เร่งขุดอุโมงค์ส่วนต่อขยายกว้าง 13 เมตร และยาว 4.5 กิโลเมตร ของอุโมงค์ที่รู้จักกันในชื่อ ‘วิหารใต้ดิน’ ทางตอนเหนือของกรุงโตเกียว เพื่อกักเก็บน้ำที่อาจไหลเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ด้านบน

การเพิ่มส่วนต่อขยายอุโมงค์ระบายน้ำในกรุงโตเกียว REUTERS/Issei Kato
การเพิ่มส่วนต่อขยายอุโมงค์ระบายน้ำในกรุงโตเกียว REUTERS/Issei Kato

อุโมงค์ขนาดยักษ์ที่มีนานถึง 23 ปีนี้ ใหญ่พอจะรองรับน้ำเท่ากับสระว่ายน้ำในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกือบ 100 สระ ภายในมีเสาขนาดใหญ่ น้ำหนัก 500 ตัน ถึง 59 ต้น และยาวถึงเพดาน 18 เมตร เมื่อแม่น้ำใกล้เคียงเกิดน้ำท่วม น้ำจะไหลผ่านอุโมงค์ใต้ดินขนาดใหญ่ยาว 6.3 กิโลเมตร ก่อนที่จะไหลไปรวมกันที่อุโมงค์ขนาดยักษ์ และถูกสูบออกไปยังแม่น้ำในเวลาต่อมา

เจ้าหน้าที่ตรวจตราอุโมงค์กักเก็บน้ำฝนในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น REUTERS/Issei Kato
เจ้าหน้าที่ตรวจตราอุโมงค์กักเก็บน้ำฝนในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น REUTERS/Issei Kato

แต่ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Tokyo เซตะ เอโมริ มองว่า ปริมาณน้ำฝนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และผลักภาระให้กับระบบกักเก็บน้ำขนาดยักษ์นี้มากขึ้นเรื่อย ๆ

อุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมในกรุงโตเกียวต้องทำงานมาแล้วถึง 4 ครั้งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเกินกว่าระดับที่เคยเกิดขึ้นในปีที่แล้ว และในช่วงที่ไต้ฝุ่นซานซานถล่มญี่ปุ่น ระบบดังกล่าวกักเก็บน้ำได้มากพอที่จะบรรจุเข้าไปในโตเกียวโดมได้ถึง 4 เท่า

สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น เผยเมื่อเดือนกันยายนว่า ประเทศเผชิญกับอากาศร้อนจัดที่สุด นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติครั้งแรกในปี 1898 และกรุงโตเกียวเผชิญกับพายุรุนแรงที่เรียกว่า “พายุฝนกองโจร” บ่อยครั้งขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติไปในปัจจุบัน และคาดว่าภายในปี 2050 ที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นราว 1.1 เท่า

  • ที่มา: รอยเตอร์

กระดานความเห็น

XS
SM
MD
LG