นายกรัฐมนตรีอินเดียนเรนทรา โมดีกล่าวต่อที่ประชุมสภาสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี ระหว่างการเยือนสหรัฐฯ ว่าความเป็นหุ้นส่วนกันของทั้งสองประเทศ ตั้งอยู่บทพื้นฐานของค่านิยมที่มีร่วมกันเรื่องการเคารพการถกเถียงและความเท่าเทียมกันภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
"สหรัฐฯ เป็นประเทศประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุด และอินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุด" โมดีกล่าวต่อที่ประชุมร่วมสภาผู้เเทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐฯ
เขากล่าวต่อด้วยว่า "ความเป็นหุ้นส่วนกันของเราส่งสัญญาณที่ดีต่ออนาคตของประชาธิปไตย"
สมาชิกของทั้งสองสภาชมเชยสุทรพจน์ของโมดีว่าเปิดโอกาสที่สำคัญในการสร้างมิตรภาพที่เเน่นแฟ้นขึ้นระหว่างสหรัฐฯและอินเดีย เเม้ว่ายังคงมีความกังวลต่อประวัติด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้การบริหารประเทศของโมดี
แกนนำพรรครีพับลิกันในสภาเช่น ส.ส.เควิน เเมคคาร์ธีย์ ประธานสภาผู้เเทนราษฎรและ ส.ว.มิตช์ แมคคอนเนลล์ต่างกล่าวถึงความสำคัญของอินเดียในเรื่องการค้า เทคโนโลยีและความมั่นคงในภูมิภาคอินโดเเปซิฟิก
ในระหว่างการกล่าวสุทรพจน์ เมื่อโมดีหยุดพักช่วงระหว่างประโยค จะมีสียงตะโกนชื่อของเขาในสภา และมีเสียงปรบมือยาวนานเมื่อผู้นำอินเดียกล่าวถึงเชื้อสายอินเดียของรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส ซึ่งมีมารดาเป็นชาวอินเดีย
อย่างไรก็ตามเมื่อต้นสัปดาห์ สมาชิกสภาอเมริกัน 70 รายลงนามในจดหมายเรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ หยิบยกเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นมากล่าวถึงต่อนายกฯ อินเดีย
จดหมายระบุถึงรายงานของกระทรางการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อปีที่เเล้วทีระบุถึงกรณีของการควบคุมที่มากขึ้นต่อเสรีภาพในการเเสดงความเห็นทางการเมือง และบรรยากาศที่การยอมรับความเเตกต่างทางศาสนาที่ลดลงในอินเดีย
ทั้งนี้ แม้อดีตผู้นำอินเดียอื่น ๆ จะเคยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยต่อหน้าที่ประชุมสภาคองเกรส นายกฯ โมดี เป็นเพียงผู้เดียวที่เคยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยถึง 2 ครั้ง
- ที่มา: วีโอเอ