ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ESCAP เตือนถึงสิ่งท้าทายทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่มาจากการพึ่งพาจีนมากเกินไป 


China's Foreign Affairs Vice Minister Liu Zhenmin (R) and Singapore's Foreign Affairs Permanent Secretary Chee Wee Kiong (L) brief the media after the 22nd ASEAN-China Senior Officials’ Consultations meeting in Singapore, April 28, 2016.
China's Foreign Affairs Vice Minister Liu Zhenmin (R) and Singapore's Foreign Affairs Permanent Secretary Chee Wee Kiong (L) brief the media after the 22nd ASEAN-China Senior Officials’ Consultations meeting in Singapore, April 28, 2016.

ESCAP เตือนด้วยว่าอาเซียนไม่ควรแข่งกันดึงดูดเงินทุนต่างประเทศด้วยการเสนอสิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:31 0:00
Direct link

หน่วยงาน ESCAP ของสหประชาชาติที่รับผิดชอบเรื่องสังคมและเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิก ออกรายงานฉบับใหม่ซึ่งเตือนถึงสิ่งท้าทายทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่มาจากการพึ่งพาการเติบโตของจีนมากเกินไป

ESCAP กล่าวว่าความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียนภายใต้กรอบ AEC อาจประสบปัญหาในการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจของจีน เพราะขณะนี้การขยายตัวของจีนไม่รวดเร็วเท่าในอดีต

Shamshad Akhtar รองเลขาธิการใหญ่ของ ESCAP กล่าวว่าการพึ่งพาการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอาเซียน

รายงานของ ESCAP ประเมินว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนปีที่แล้วน่าจะขยายตัวประมาณ 4.3% ชะลอลงจาก 5% ในช่วงปี พ.ศ.2554 ถึง พ.ศ. 2556

ขนาดเศรษฐกิจของจีนคิดเป็นร้อยละ 40 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียแปซิฟิก และการที่จีดีพีของจีนอ่อนแรงลงส่งผลทางลบที่ชัดเจนต่อประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่ขายสินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ให้กับจีน

Shamshad Akhtar กล่าวว่าด้วยว่าประเทศเช่น ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่พึ่งพาจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจควรเดินหน้ากระจายความเสี่ยงสำหรับแผนในอนาคต

ทั้งนี้จีนเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกจากไทยและสิงคโปร์ และใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับสินค้าจากเวียดนาม ส่วนการส่งสินค้าไปตลาดจีนสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจของลาวและเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 20 ของจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

นอกจากความเสี่ยงที่มาจากจีน หน่วยงานของสหประชาชาติกล่าวด้วยว่าภายในอาเซียนมีความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนา โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนม่า และเวียดนาม หรือที่เรียกย่อๆว่า CLMV

นอกจากนั้นสัญญาณทางเศรษฐกิจล่าสุดชี้ด้วยว่า ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ย่ำแย่ลงทั่วเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสหประชาชาติพบว่าประเด็นเรื่องอัตราการว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มคนสาวเป็นหัวข้อที่น่ากังวลเป็นพิเศษ

นักวิเคราะห์ของ ESCAP พูดถึงการเพิ่มขึ้นของระดับหนี้ในมาเลเซียและไทย โดยชี้ว่าระดับหนี้ต่อรายได้ของประชาชนโดยรวมอยู่ที่ 27% แต่หากเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยที่สุด ระดับหนี้สูงถึงร้อยละ 50 ของรายได้ โดยการจัดเก็บตัวเลขดังกล่าวอยู่ในช่วงสามปีก่อน

Shamshad Akhtar รองเลขาธิการใหญ่ของ ESCAP กล่าวว่าหนี้ภาคเอกชนในมาเลเซียและไทยอยู่ในระดับค่อนข้างสูง หากดูภาคครัวเรือนและภาคบริษัทเอกชน และควรมีการสร้างความมั่นคงให้กับการจัดการกับระดับหนี้

เธอบอกว่าหากไม่สามารถจัดการกับระดับหนี้ที่สูงขึ้นได้ ประเทศเหล่านี้จะต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายมากขึ้นในการกระตุ้นความต้องการภายในประเทศ

รองเลขาธิการ ESCAP ผู้นี้เคยเป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของปากีสถาน เธอเตือนว่าประเทศในอาเซียนไม่ควรแข่งกันดึงดูดเงินทุนต่างประเทศด้วยการเสนอสิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ

Shamshad Akhtar บอกว่าสิ่งที่อาเซียนควรทำคือการสร้างเสถียรภาพ และการให้สิทธิพิเศษทางภาษีเกินอาจจะสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ

เพราะแนวทางนี้อาจนำมาซึ่งการดึงดูดทรัพยากรที่ไม่เหมาะเจาะลงตัวกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและจุดแข็งที่แท้จริงของประเทศ

(รายงานโดย Ron Corben เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG