ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์ข้อจำกัดของ AEC หลังประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์


Thai Prime Minister Prayuth Chan-ocha, left, and Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, center, sign documents as Malaysia's Prime Minister Najib Razak looks on during the signing ceremony of the 2015 Kuala Lumpur Declaration on the Establishment of th
Thai Prime Minister Prayuth Chan-ocha, left, and Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, center, sign documents as Malaysia's Prime Minister Najib Razak looks on during the signing ceremony of the 2015 Kuala Lumpur Declaration on the Establishment of th

นักวิชาการกล่าวว่า AEC น่าเป็นโครงการการรวมตัวกันเศรษฐกิจที่ตั้งเป้าไว้สูงส่งที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) ลงนามประกาศการก่อตั้งเขตความร่วมมือสามด้าน คือเศรษฐกิจ ความมั่นคง และ ท้ายสุดคือด้านสังคมและวัฒนธรรม

ที่การลงนามของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ นายกรัฐมนตรี Najib Razak ของมาเลเซีย ประเทศเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน กล่าวถึงความมุ่งมั่นของอาเซียนที่จะทำให้เกิดบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในภูมิภาค

แน่น่อนว่าการเกิดเขตเศรษฐกิจเสรีภายใต้กรอบ AEC ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาเซียนมุ่งหมายว่า ชุมชนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน หลังจากที่จีนและอินเดียครองตำแหน่งหัวเรือใหญ่ด้านเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียมานาน

ความคาดหวังที่มาพร้อม AEC

หากดูขนาดประชากร 630 ล้านคนของประเทศอาเซียนทั้งหมด กลุ่มการค้า AEC เป็นตลาดที่ยังเล็กกว่าจีนและอินเดีย แต่ใหญ่กว่าสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ

อาจารย์ Michael G. Plummer จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว Associated Press ว่า อาเซียนจะสามารถช่วยสร้างสุมดุลด้านอำนาจทางเศรษฐกิจเพื่อคานอิทธิพลของจีนและอินเดีย

ประเทศอาเซียนที่ประชาชนยังมีรายได้ต่ำ 4 ประเทศคือ กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม ยังจะไม่ลดมาตรการเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดเขตการค้าเสรีไปจนกว่าปี ค.ศ. 2018 หรืออีกสามปีจากนี้ และอาจารย์ Plummer กล่าวว่า AEC ยังอาจสามารถลดช่องว่างเรื่องรายได้ให้กับคนยากจนในประเทศเหล่านี้ได้

Malaysia ASEAN Summit
Malaysia ASEAN Summit

แต่ AEC ยังมีสิ่งท้าทายหลายด้าน

อาจารย์ Plummer กล่าวว่า AEC น่าเป็นโครงการการรวมตัวกันเศรษฐกิจที่ตั้งเป้าไว้สูงส่งที่สุดในบรรดากล่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดในโลก ซึ่งหมายความว่าประเทศสมาชิกยังคงต้องฝ่าในความแตกต่างหลายด้าน

AEC ซึ่งที่กลายเป็นหน่วยงานที่มีสถานะทางกฎหมายวันที่ 31 ธันวาคม ต้องเชื่อมต่อเศรษฐกิจของประเทศที่พูดกันคนละภาษา มีความหลากหลายทางศาสนา ระดับความเป็นประชาธิปไตย และยังมีรัฐบาลหลายรูปแบบ ตั้งแต่คอมมิวนิสต์ กึ่งประชาธิปไตย ระบอบกษัตริย์ และเผด็จการทหาร เป็นต้น

นั่นยังไม่รวมถึงความเหลื่อมล้ำด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในกลุ่มด้วย

ขณะนี้บูรณาการทางเศรษฐกิจยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในภาคการเกษตรซึ่งมีความอ่อนไหวทางการเมือง เพราะเกษตรกรยังเป็นฐานเสียงที่สำคัญ และแม้ว่าประชาชนจากประเทศอาเซียนจะสามารถทำงานต่างประเทศได้อย่างเสรีภายในกลุ่ม แต่การเปิดเสรีนี้จำกัดอยู่ที่ 8 อุตสาหกรรมในขณะนี้ ซึ่งคิดเป็นเพียง 1.5% ของจำนวนงานทั้งหมด

นอกจากนั้นการค้าภายใน AEC กันเองยังอยู่ในระดับต่ำ คือร้อยละ 24 ของการค้าที่ประเทศสมาชิกมีกับประเทศต่างๆ ในโลก เทียบกับร้อยละ 60 ที่ประเทศสหภาพยุโรปส่งออกนำเข้ากันเองในกลุ่มของตน

อีกประการหนึ่ง การลงทุนระหว่างกันยังติดขัดเรื่องกฎหมายสำหรับชาวต่างชาติ

ASEAN Community Map
ASEAN Community Map

สหรัฐฯ กับ AEC

ประธานาธิบดีโอบามของสหรัฐฯ ซึ่งเข้าร่วมประชุมอาเซียนด้วย กล่าวถึงประเด็นด้านคอร์รัปชั่นว่า ปัญหานี้เป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆ ในโลก เช่นในแอฟริกาและลาตินอเมริกาต้องพยายามถอนรากถอนโคนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน

และหลังจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ผู้นำประเทศสมาชิก พร้อมด้วยประธานาธิบดีโอบามา และตัวแทนสูงสุดจากรัสเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ร่วมหารือกันในเวที East Asia Summit ต่อเนื่องกันเป็นเวลาอีกสองชั่วโมง

(รายงานโดย Associated Press และผู้สื่อข่าววีโอเอ Steve Herman / รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียง)

U.S. President Barack Obama, right, delivers remarks at the US-ASEAN meeting at the ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, Nov. 21, 2015.
U.S. President Barack Obama, right, delivers remarks at the US-ASEAN meeting at the ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, Nov. 21, 2015.

XS
SM
MD
LG