ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"เจาะลึกความสัมพันธ์ จีน-เมียนมาร์" ขณะรัฐมนตรีต่างประเทศจีนเยือนกรุงเนปิดอว์ภายใต้รัฐบาลใหม่


Leader of the National League for Democracy party (NLD) and Myanmar's new foreign minister, Aung San Suu Kyi, shakes hands with Chinese Foreign Minister Wang Yi, left in Naypyitaw, Myanmar, April 5, 2016.
Leader of the National League for Democracy party (NLD) and Myanmar's new foreign minister, Aung San Suu Kyi, shakes hands with Chinese Foreign Minister Wang Yi, left in Naypyitaw, Myanmar, April 5, 2016.

รัฐมนตรีต่างประเทศจีนเป็นตัวแทนระดับสูงของรัฐบาลต่างประเทศแห่งแรกที่เยือนเมียนมาร์หลังได้รัฐบาลใหม่ ท่ามกลางประเด็นที่ละเอียดอ่อนทางการทูต

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:43 0:00
Direct link

รัฐมนตรีต่างประเทศจีน หวัง อี้ เป็นตัวแทนระดับสูงของรัฐบาลต่างประเทศแห่งแรกที่เยือนเมียนมาร์​ หลังเมียนมาร์ได้รัฐบาลใหม่ โดยนาง ออง ซาน ซูจีผู้นำพรรครัฐบาลต้อนรับการเยือนครั้งนี้

รัฐบาลของทั้งสองประเทศซึ่งมีพรมแดนติดกัน มีเรื่องที่สำคัญที่ต้องเจรจาหลายด้าน เช่นการค้าและการลงทุน รวมถึงความขัดแย้งตามแนวชายแดน

รัฐมนตรีหวัง อี้ ของจีน กล่าวว่าการมาครั้งนี้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อประชาคมโลกว่า จีนเยือนอยู่เคียงข้างเมียนมาร์ และจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน

เขากล่าวต่อนางซูจีที่กรุงเนปิดอว์ว่า เมียนมาร์เป็นเพื่อนที่ดีของจีน และยืนยันถึงความแน่นแฟ้นในความสัมพันธ์ขณะที่เมียนมาร์เดินเข้าสู่ฉากใหม่ทางการเมือง

แม้ว่าเมียนมาร์จะจีนจะยังมีความเห็นไม่ตรงกันในบางเรื่อง แต่รัฐมนตรีหวัง อี้ กล่าวว่าตนมีความมั่นใจว่า ปัญหาเหล่านั้นจะผ่านพ้นไปได้ผ่านการปรึกษาหารือกัน และเสริมว่าจีนจะช่วยนำพากิจการในเมียนมาร์ให้มุ่งเน้นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

Chinese Foreign Minister Wang Yi with Myanmar Foreign Minister Aung San Suu Kyi in Ministry of Foreign Affair at Naypyitaw April 5, 2016.
Chinese Foreign Minister Wang Yi with Myanmar Foreign Minister Aung San Suu Kyi in Ministry of Foreign Affair at Naypyitaw April 5, 2016.

ที่ผ่านมาการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนกับกองทัพรัฐบาลเนปิดอว์ เป็นประเด็นละเอียดอ่อนในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ เพราะชนกลุ่มน้อยชาวว้าที่ขัดแย้งกับกองทัพมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนทางชาติพันธุ์

นอกจากนั้นทั้งสองประเทศยังเห็นไม่ลงรอยกันเรื่องการลงทุนของจีน เช่นโครงการเขื่อนมิตโสนมูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ ที่ทางการเมียนมาร์สั่งระงับไปเมื่อห้าปีก่อน

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ขณะนี้เมียนมาร์กำลังอยู่ในช่วงปูพื้นฐานครั้งสำคัญ และต้องการรักษาสมดุลในความสัมพันธ์ต่างประเทศกับมหาอำนาจทุกฝ่าย จึงไม่แปลกใจว่าผู้นำจึงมีท่าทีการทูตสายกลาง คือไม่อิงจีนหรือชาติตะวันตกมากเกินไป

อาจารย์ Jonathan Chow ที่สอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ที่มหาวิทยาลัยมาเก๊า กล่าวว่าท่าทีเป็นกลางทางการทูตของเมียนมาร์ เป็นแนวทางที่รัฐบาลเคยใช้ในยุคก่อน และเมียนมาร์น่าจะแสดงบทบาทของตนผ่านกลุ่มประเทศ ASEAN ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับจีน นักวิชาการผู้นี้เห็นว่า ที่ปักกิ่งให้ความสัมพันธ์กับเมียนมาร์ ส่วนหนึ่งมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของเมียนมาร์ และจากการที่ประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้เป็นเส้นทางการคมนาคมสู่มหาสมุทรอินเดีย สำหรับการขนส่งสินค้า

จุดแข็งต่างๆ ของเมียนมาร์นี้ ทำให้รัฐบาลกรุงเนปิดอว์มีประเด็นต่อรองในการเจรจากับจีน โดยขณะนี้จีนมีโครงการท่อก๊าซธรรมชาติฉ่วยในเมียนมาร์ ที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพต่อประชาชน

นักวิเคราะห์เช่น Liang Jinyun อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Yunnan Police College บอกว่า ในที่สุดแล้วความสำคัญที่จีนมีต่อเศรษฐกิจเมียนมาร์ น่าจะมีน้ำหนักต่อกรุงเนปิดอว์มากกว่าบทบาทของชาติตะวันตกเรื่องการค้าการลงทุน

เขาบอกว่าแม้โลกตะวันตกจะช่วยเมียนมาร์พัฒนาทางประชาธิปไตยได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า จีนได้เปรียบเรื่องภูมิศาสตร์และอำนาจทางเศรษฐกิจในฐานะเพื่อนบ้าน

(รายงานโดย Joyce Huang / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG