เมื่อไม่นานมานี้ โครงการอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติส่งทีมงานไปยังโรงเรียนฝึกสอนสัตว์ที่ใช้ในการลากจูงที่หมู่บ้าน Mbankana เพื่อส่งเสริมการใช้เกวียนที่ใช้แรงวัวลาก
นาย Michel Nduako เป็นหัวหน้าครูฝึกที่โรงเรียนฝึกสตว์ลากจูงในเมือง Mbankana กล่าวว่าจำเป็นต้องสอนลูกหลานให้รู้จักใช้แรงสัตว์ในงานลากจูง และการขนส่งในพื้นที่ทุรกันดาร เพราะความรู้เหล่านี้จะหายไปกับคนรุ่นปู่ย่าตายาย
เขากล่าวว่าเเรงงานสัตว์จะใช้แทนแรงงานผู้หญิงในการแบกขนสัมภาระต่างๆ และยังใช้เป็นแรงงานไถนา แทนที่จะใช้ผู้ชายเป็นคนลากคันไถอย่างที่ปฏิบัติกันในคองโก
คองโกเป็นประเทศที่ไม่มีวัฒนธรรมของการใช้เเรงงานสัตว์ในงานเกษตรกรรมและในงานลากจูงเกวียนเพื่อการขนส่ง
นาย Michel Nduako พากลุ่มนักศึกษาไปดูวัวคู่หนึ่ง วัวกระทิงคู่นี้ทำงานตามคำสั่งของผู้คุมที่ใช้วิธีดึงเชือกที่จมูกของวัวไปตามทิศทางที่ต้องการ นาย Nduako บอกว่าวัวได้รับการฝึกเป็นภาษาฝรั่งเศส และสาธิตให้นักศึกษาดูว่าหากต้องการให้วัวเดินไปทางซ้ายหรือขวาก็ต้องตะโกนว่า ซ้าย หรือ ขวา เดินหน้า ถอยหลังหรือหยุด แล้วให้ดึงเชือกไปตามทิศทางที่ต้องการ
หมู่บ้าน Mbankana ไม่ได้เป็นหมู่บ้านชนบทห่างไกล แต่อยู่ห่างจากกรุงคินชาซ่า เมืองหลวงของประเทศเพียงแค่ 100 กิโลเมตรเท่านั้นบนถนนสายหลัก คนในหมู่บ้านแห่งนี้ใช้รถเเทร็กเตอร์ในการไถนาเพราะราคาถูกกว่า แต่นาย Dieudonne Tchini ครูในหมู่บ้านคนหนึ่งกล่าวว่า คนนิยมใช้วัวกระทิงในการขนส่งสินค้าจากหมู่บ้านรอบนอกเข้ามายังหมู่บ้านแห่งนี้
นาย Tchini บอกว่าหมู่บ้านรอบนอกเหล่านี้ค่อนข้างอยู่ห่างไกล รถยนต์และรถบรรทุกเข้าไปไม่ถึงเพราะขาดแคลนถนนหนทาง จำเป็นต้องใช้เกวียนวัวแทน ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านในหมู่บ้านรอบนอกนำพืชผลทางการเกษตรออกมาขายยังถนนสายหลักได้
ด้านนาย Xavier Farhay โฆษกของโครงการอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า ทางโครงการไม่เกี่ยวข้องในโครงการฝึกสัตว์ในงานลากจูงในหมู่บ้านในบริเวณนี้ เขากล่าวว่าทางเอฟเอโอมีโครงการที่ North Kivu และได้ฝึกสอนอดีตนักรบให้สอนสัตว์ในงานลากเกวียน สร้างเกวียน และผู้เชี่ยวชาญของโครงการได้จัดหาวัวที่เหมาะสมกับงานลากเกวียนให้จำนวน 20 ตัว
โครงการนำร่องของเอฟเอโอนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากเกาหลีใต้และเพิ่งเสร็จสิ้น แต่ทางเอฟเอโอหวังว่าจะสามารถขยายโครงการออกไปในอนาคต