ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทางการจีนยกย่อง "นโยบายลูกสองคน" แต่ทำไมนักวิเคราะห์จึงเชื่อว่าอาจสายเกินไป?


FILE - Two Chinese babies sit with their mothers in a Beijing park, July 10, 2003.
FILE - Two Chinese babies sit with their mothers in a Beijing park, July 10, 2003.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:54 0:00

ทางการจีนรีบออกมาประกาศว่านโยบายใหม่ที่อนุญาตให้ครอบครัวมีลูกสองคนได้ประสบความสำเร็จ โดยชี้ว่าจำนวนเด็กเกิดใหม่เพิ่มขึ้นถึงราว 1 ล้าน 4 เเสนคน เมื่อเทียบกับตัวเลขโดยเฉลี่ยจากปี ค.ศ. 2010-2015

แม้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็กที่เกิดทั้งหมด 17 ล้าน 8 เเสน 6 หมื่นคนเมื่อปีที่แล้ว ล้วนเป็นลูกคนที่สอง แต่จำนวนลูกคนที่สองที่เพิ่มขึ้นนี้ยังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญเเละเจ้าหน้าที่คาดหวังไว้

สำหรับครอบครัวชาวจีนจำนวนมาก ตัวเลขสถิตินี้ไม่สร้างความกังวลเเก่พวกเขาเท่ากับภาระทางการเงินที่ครอบครัวต้องเเบกรับเพื่อเลี้ยงดูบุตรคนที่สอง

Liu ทำงานเป็นลูกจ้างของรัฐบาล เขาบอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า "ตอนที่รัฐบาลประกาศนโยบายมีลูกสองคนออกมาเมื่อปีที่แล้ว เขาและภรรยาอยากมีลูกคนที่สอง แต่หลังจากครุ่นคิดกันอย่างรอบคอบเเล้ว ทั้งสองเห็นว่าจะเเบกภาระทางการเงินในการเลี้ยงดูลูกคนที่สองไม่ไหว"

ครอบครัวชาวจีนใช้จ่ายเงินถึงเดือนละ 1,000-2,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ หรืออาจจะมากกว่านั้น เป็นค่ากิจกรรมต่างๆ หลังเลิกเรียนของบุตร

ด้านคุณ James King ชาวจีนอีกผู้หนึ่ง บอกว่า "การศึกษาและกิจกรรมต่างๆ สำหรับเด็กไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียวที่ครอบครัวต้องรับภาระ เขาและครอบครัวชอบเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก"

James และภรรยา Lucy บอกว่า ผลดีของการมีลูกสองคนมีน้ำหนักมากกว่าค่าใช้จ่าย แต่กล่าวเสริมว่าเเต่ละครอบครัวมีสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน

Lucy กล่าวว่า "ในอนาคต ลูกโทนต้องรับภาระในการดูเเลพ่อเเม่ที่แก่เฒ่าเพียงลำพัง การมีน้องชายหรือน้องสาวอีกคน จะช่วยเเบ่งเบาภาระนี้ได้"

เเม้จีนจะมีจำนวนประชากรมหาศาล แต่จีนกำลังประสบกับปัญหาประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรวัยเเรงงานลดลง และจำนวนคนที่เกษียณอายุและได้รับบำนาญเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เริ่มตั้งแแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เป็นไปได้ว่าจำนวนเด็กเกิดใหม่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะจำนวนผู้หญิงจีนที่มีสิทธิ์ในการมีลูกคนที่สองจะเริ่มลดจำนวนลง

เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในเอเชีย จีนมีอัตราการเกิดที่ต่ำ และมาถึงขณะนี้ทางการจีนแทบไม่มีผลประโยชน์จูงใจใดๆ ให้เเก่ครอบครัวชาวจีน นอกจากยอมยกเลิกใช้นโยบายมีลูกคนเดียว

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายนี้มีขึ้นเมื่อสายเกินไป

(รายงานโดย Bill Ide / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)

XS
SM
MD
LG