ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'ฮุน เซ็น' ปฏิเสธทำข้อตกลงลับอนุญาตให้จีนใช้ฐานทัพเรือในอ่าวไทย


FILE - President of the ruling Cambodian People's Party and Prime Minister Hun Sen attends a ceremony to mark the 68th anniversary of the establishment of the party in Phnom Penh, Cambodia, June 28, 2019.
FILE - President of the ruling Cambodian People's Party and Prime Minister Hun Sen attends a ceremony to mark the 68th anniversary of the establishment of the party in Phnom Penh, Cambodia, June 28, 2019.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:52 0:00

นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน เซ็น ปฏิเสธรายงานที่ว่า รัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงลับเพื่ออนุญาตให้จีนใช้ฐานทัพเรือในอ่าวไทย

สำนักข่าว The Wall Street Journal รายงานในวันอาทิตย์ว่า ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างรัฐบาลจีนกับรัฐบาลกัมพูชาที่ลงนามเมื่อต้นปีนี้ ได้ให้สิทธิพิเศษกับจีนในการใช้พื้นที่บางส่วนของฐานทัพเรือเรียมในอ่าวไทย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินขนาดใหญ่ที่จีนเป็นผู้ก่อสร้างที่เกาะกง

นายกฯ ฮุน เซ็น ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Fresh News ของกัมพูชาว่า "นี่เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับกัมพูชาที่เลวร้ายที่สุด" และว่า "เรื่องนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นเพราะการให้ต่างชาติใช้ฐานทัพนั้นถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญของกัมพูชา"

The Wall Street Journal รายงานว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันผู้หนึ่งซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ ระบุว่าจีนและกัมพูชาได้บรรลุข้อตกลงเรื่องการใช้ฐานทัพในอ่าวไทยใกล้กับจังหวัดสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการลงทุนของจีนในกัมพูชา โดยเป็นการให้จีนเช่าฐานทัพดังกล่าวเป็นเวลา 30 ปี เพื่อส่งทหารมาประจำการ จอดเรือรบ และเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ โดยสามารถต่อสัญญาได้ทันทีทุกๆ 10 ปีหลังจากนั้น

WSJ ระบุด้วยว่า ทั้งจีนและกัมพูชาต่างปิดบังข้อตกลงลับนี้อย่างเงียบเชียบ

หากเป็นความจริง การที่จีนสามารถใช้ฐานทัพดังกล่าวในอ่าวไทยได้นั้นจะยิ่งเป็นการขยายอิทธิพลทางทหารของจีนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพิ่มอำนาจของจีนในการกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้

An airport construction site is seen in an area developed by China company Union Development Group at Botum Sakor in Koh Kong province, Cambodia, May 6, 2018.
An airport construction site is seen in an area developed by China company Union Development Group at Botum Sakor in Koh Kong province, Cambodia, May 6, 2018.

อย่างไรก็ตาม โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา จุม โสจิต เรียกรายงานชิ้นนี้ว่าเป็น "ข่าวปลอม" ที่ไร้หลักฐานและกล่าวอ้างเกินความจริง พร้อมยืนยันว่ากัมพูชาไม่เคยลงนามในข้อตกลงใดๆ ที่เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

โฆษกผู้นี้ยังระบุทาง Facebook ของตนเองด้วยว่า "สื่อต่างชาติพยายามอย่างยิ่งที่จะทำลายสันติภาพและความมั่นคงของกัมพูชาและภูมิภาคนี้"

ทางด้าน คุณเอมิลี วี ซีเบิร์ก โฆษกหญิงของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงพนมเปญ กระตุ้นให้รัฐบาลกัมพูชาเปิดเผยข้อตกลงด้านการทหารที่ทำไว้กับจีนอย่างโปร่งใส พร้อมระบุด้วยว่า การมีกำลังทหารต่างชาติในกัมพูชาจะเป็นการคุกคามเอกภาพและความร่วมมือในแถบอาเซียน

โฆษกสถานทูตสหรัฐฯ ผู้นี้ ระบุในอีเมล์ที่ส่งให้กับ วีโอเอ ภาคภาษาเขมร ว่า "สหรัฐฯ ขอให้บรรดาผู้นำกัมพูชาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด เพื่อรับรองความเป็นอิสระในการจัดทำนโยบายต่างประเทศ และเพื่อปกป้องเสรีภาพและอธิปไตยของกัมพูชาให้แก่คนรุ่นต่อไป"

A Cambodian Navy sailor salutes on a Chinese naval patrol boat during a handover ceremony at a Cambodian naval base at Ream in Sihanouk Ville province, southwest of Phnom Penh, November 7, 2007.
A Cambodian Navy sailor salutes on a Chinese naval patrol boat during a handover ceremony at a Cambodian naval base at Ream in Sihanouk Ville province, southwest of Phnom Penh, November 7, 2007.

เมื่อเดือนกรกฎาคม นายกฯ ฮุน เซ็น กล่าวปราศรัยว่า จีนคือประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชา สวนทางกับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และประเทศทางตะวันตกที่ลดลงเนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งของรัฐบาลนายกฯ ฮุน เซ็น

สำนักข่าว Nikkei Asian Review รายงานว่า จีนมีสัญญาก่อสร้างต่างๆ ในกัมพูชา รวมมูลค่ารวมเกือบ 18,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ จีดีพี ของกัมพูชาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์เล็กน้อย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวจีนยังเดินทางเข้าไปในกัมพูชาปีละกว่า 1 ล้านคน

เงินลงทุนและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนได้ทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งที่จังหวัดสีหนุวิลล์ใกล้กับฐานทัพเรือเรียม ที่กลายเป็นแหล่งคาสิโนขนาดใหญ่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบัน

(รายงานจากวีโอเอ ภาคภาษาเขมร - ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG