ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หนึ่งปีที่ผ่านไปกับนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไบเดน


(FILES) In this file photo US President Joe Biden speaks about foreign policy at the State Department in Washington, DC, on February 4, 2021. - US President Joe Biden said he won't lift sanctions against Iran as long as the Islamic republic is not adherin
(FILES) In this file photo US President Joe Biden speaks about foreign policy at the State Department in Washington, DC, on February 4, 2021. - US President Joe Biden said he won't lift sanctions against Iran as long as the Islamic republic is not adherin
US Biden Foreign Policy
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:04 0:00



ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่พร้อมคำสัญญามากมายที่สะท้อนผ่านความเปลี่ยนแปลงจากรัฐบาลยุคก่อน และหนึ่งในประเด็นที่มีการจับตาดูมากที่สุด โดยเฉพาะในสายตาประชาคมโลก คงหนีเรื่องของนโยบายระหว่างประเทศไปไม่ได้

เมื่อมองย้อนดูกลับไปเกือบปีที่ผ่านมากับการเปิดฉากรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เริ่มต้นด้วยคำสัญญาต่อนานาประเทศว่า “อเมริกาได้กลับมาแล้ว” พร้อมตั้งมั่นว่า จะใช้การทูตแทนความรุนแรงทางทหารในการสานสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ

และในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้นำไปสู่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ มากมาย เช่น การถอนทัพอเมริกันออกจากอัฟกานิสถาน ซึ่งหลายคนนับว่าเป็นข้อผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี ไบเดนในปีแรก

ไมเคิล คูเกิลแมน นักวิชาการอาวุโสด้านภูมิภาคเอเชียใต้จากสถาบัน Wilson Center ของกรุงวอชิงตัน คือหนึ่งในผู้ที่เห็นด้วยว่า แผนการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานของผู้นำสหรัฐฯ คนปัจจุบัน นำมาซึ่งปัญหาใหญ่มากมาย

Aerial porters work with maintainers to load a UH-60L Blackhawk helicopter into a C-17 Globemaster III during the withdrawal of forces in Afghanistan, June 16, 2021. (US Army/Sgt. 1st Class Corey Vandiver/Handout via Reuters)
Aerial porters work with maintainers to load a UH-60L Blackhawk helicopter into a C-17 Globemaster III during the withdrawal of forces in Afghanistan, June 16, 2021. (US Army/Sgt. 1st Class Corey Vandiver/Handout via Reuters)

คูเกิลแมน บอกกับวีโอเอว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินแผนงานดังกล่าวคือ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่ทวีความรุนแรงขึ้น ขณะที่การที่กลุ่มตาลิบันเข้ามายึดการปกครองอัฟกานิสถาน ได้นำมาซึ่งการดำเนินมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากนานาประเทศ ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่อาจทำให้เกิดสภาวะทุพภิกขภัยไปทั่ว และทั้งหมดนี้ เขาเชื่อว่า มีสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการถอนกำลังทหารอเมริกันอย่างเร่งรีบและโกลาหล

ทั้งนี้ การถอนกองกำลังสหรัฐฯ ออกจากอัฟกานิสถานนั้น เป็นสิ่งที่หลายคนเข้าใจดีว่า เป็นการดำเนินแผนงานให้สอดคลองกับเป้าหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันที่ต้องการลดบทบาททางทหารของตนในตะวันออกกลางนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของตน เช่น ปมขัดแย้งระหวางชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ และข้อตกลงนิวเคลียร์ JCPOA กับอิหร่านที่ไม่คืบหน้าไปไหนนับตั้งแต่ รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนี้เมื่อปี ค.ศ. 2018

ความท้าทายต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นอาจเป็นสิ่งที่ ปธน.ไบเดน เตรียมพร้อมรับอยู่แล้ว จากคำประกาศก้องว่า “อเมริกาได้กลับมาแล้ว” หรือ America is Back ซึ่งสวนทางกับนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” หรือ America First ของอดีตปธน. ทรัมป์อย่างชัดเจน โดยผู้นำสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ว่า สหรัฐฯ จะยืนหยัดเคียงข้างประเทศพันธมิตรและจะร่วมต่อต้านประเทศมหาอำนาจที่พยายามข่มประเทศอื่นด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้กำลังทางทหาร มาตรการเศรษฐกิจ การโจมตีทางออนไลน์หรือการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกบิดเบือน พร้อมย้ำชัดว่า สหรัฐฯ นั้นไม่ต้องการทำสงครามเย็น หรือสร้างความแตกแยกใดๆ โดยเด็ดขาด

แต่กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่า ปธน.ไบเดน จะไม่สามารถทำตามสิ่งที่ตนประกาศไว้ได้ในภาวะที่ยังมีการเผชิญหน้าระหว่างระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการอยู่ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้นำสหรัฐฯ ได้เชิญผู้แทนจากกว่า 100 ประเทศเข้าร่วมการประชุมด้านประชาธิปไตย ซึ่งทำเนียบขาวเป็นเจ้าภาพเมื่อต้นเดือนนี้ โดยไม่ได้ส่งเทียบเชิญไปยัง ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย และผู้นำอีกหลายประเทศ ซึ่งรวมถึง นายกรัฐมนตรีไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วย

President Joe Biden speaks from the South Court Auditorium on the White House complex in Washington, Dec. 9, 2021, for the opening of the Democracy Summit.
President Joe Biden speaks from the South Court Auditorium on the White House complex in Washington, Dec. 9, 2021, for the opening of the Democracy Summit.

สเตซี่ กอดดาร์ด อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์จาก Wellesley College ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ให้ความเห็นว่า การที่สหรัฐฯ พยายามเดินหน้าส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมๆ กับการหาความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อจัดการกับประเด็นใหญ่ๆ ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

กอดดาร์ด กล่าวว่า ความเป็นจริงก็คือ แม้สหรัฐฯ จะตระหนักดีว่า การเดินหน้าหาความร่วมมือจากทั่วโลกเพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน เช่น ประเด็นสภาพแวดล้อมและภาวะระบาดใหญ่ของโรคต่างๆ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากจีนและรัสเซียด้วย แต่รัฐบาลกรุงวอชิงตันเองก็พยายามชูระบอบประชาธิปไตยและแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า ต้องการร่วมมือกับประเทศที่มีการปกครองแบบเดียวกันเท่านั้น ทำให้ทั้งหมดกลายมาเป็นเรื่องความท้ายทายกับการรับมือผู้นำที่เป็นเผด็จการมากกว่า

ในเวลานี้ สหรัฐฯ ได้จัดให้จีนมีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของนโยบายต่างประเทศของตน เนื่องจากเป็นประเทศคู่แข่งคนสำคัญในด้านการทหารและอิทธิพลด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะที่ ยังคงจับตาดูรัสเซียอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหลังรัฐบาลเครมลินเดินหน้าเคลื่อนกำลังพลจำนวนมากเข้าประชิดชายแดนประเทศยูเครนอย่างต่อเนื่อง

แอนดรูว์ โลเซน ผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคยุโรป รัสเซีย และยูเรเซีย แห่ง the Center for Strategic and International Studies ในกรุงวอชิงตัน ให้ความเห็นว่า สหรัฐฯ ไม่ควรมองว่า รัสเซียคือ ปัญหาที่จัดการไปเรียบร้อยแล้ว เพราะนี่คือ ประเทศที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างแตกแยกของประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในทวีปยุโรป ทำให้กรุงวอชิงตันไม่ควรจะนิ่งนอนใจและควรจับตาดูอย่างใกล้ชิดเสมอ

นอกจาก ตะวันออกกลาง จีน และรัสเซียแล้ว ประเด็นที่สหรัฐฯ ยังคงต้องเดินหน้ารับมือให้ได้อีกประเด็นก็คือ เรื่องของเกาหลีเหนือ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ไม่ต้องการทำข้อตกลงใดๆ ด้วยจนกว่าผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จอง อึน จะยอมล้มเลิกโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั่นเอง

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG