ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้นำอาเซียนเรียกร้องไกล่เกลี่ยข้อพิพาททะเลจีนใต้อย่างสันติวิธีในการประชุมสุดยอดที่มาเลเซีย


Malaysia's Prime Minister Najib Razak speaks during the opening ceremony of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, April 27, 2015.
Malaysia's Prime Minister Najib Razak speaks during the opening ceremony of the 26th ASEAN Summit in Kuala Lumpur, Malaysia, April 27, 2015.

ความกังวลของผู้นำอาเซียนสะท้อนความตึงเครียดระหว่างสมาชิกอาเซียนบางประเทศกับจีน หลังจากจีนก่อสร้างอาคารและท่าเรือในหมู่เกาะ Spratly

From left to right, Singapore's Prime Minister Lee Hsien Loong, Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha, Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, Laos's Prime Minister Thongsing Thammavong, Malaysia's Prime Minister Najib Razak, Myanmar's President T
From left to right, Singapore's Prime Minister Lee Hsien Loong, Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha, Vietnam's Prime Minister Nguyen Tan Dung, Laos's Prime Minister Thongsing Thammavong, Malaysia's Prime Minister Najib Razak, Myanmar's President T

นายกฯ มาเลเซีย Najib Razak ประธานอาเซียนประจำปีนี้ กล่าวต่อผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันจันทร์ เรียกร้องให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในทะเลจีนใต้อย่างสันติวิธี

นายกฯ Najib Razak กล่าวว่าอาเซียนจำเป็นต้องจัดการความขัดแย้งแตกต่างในประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนนี้ โดยไม่ก่อให้เกิดความตึงเครียดยิ่งขึ้น และว่าทะเลจีนใต้คือเส้นทางขนส่งสินค้าสำคัญของโลก ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในแถบนี้จึงได้รับการจับตามองไปทั่วโลก รวมทั้งข้อพิพาทล่าสุดซึ่งอาเซียนต้องจัดการแก้ไขโดยเร็ว ในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้รุนแรงขึ้น หลังจากมีภาพถ่ายดาวเทียมเปิดเผยให้เห็นภาพสิ่งก่อสร้างหลายอย่างในแถบหมู่เกาะ Spratly เช่นอาคารหลายชั้น ท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือของทหารได้ ตลอดจนสิ่งที่ดูเหมือนเส้นทางขึ้นลงเครื่องบินที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์

หมู่เกาะ Spratly มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอุดมสมบูรณ์ และเชื่อว่าอาจมีแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติซุกซ่อนอยู่ หมู่เกาะแห่งนี้อยู่ห่างจากจีนมากกว่า 3,000 กม. แต่ห่างจากฟิลิปปินส์ 860 กม. และห่างจากเวียดนามไม่ถึง 800 กม.

Philippines China Disputed Sea
Philippines China Disputed Sea

นักวิเคราะห์เชื่อว่าการที่จีนก่อสร้างโครงสร้างต่างๆ ดังกล่าวในบริเวณนั้น คือความพยายามขยายอิทธิพลครอบคลุมทะเลจีนใต้ และเสริมความแข็งแกร่งทางทหารของกองทัพจีน

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จีนและอาเซียนตกลงที่จะเจรจาเพื่อหาทางจัดทำ Code of Conduct หรือร่างระเบียบปฏิบัติว่าด้วยทะเลจีนใต้ ซึ่งจะนำมาใช้ควบคุมการละเมิดข้อกำหนดต่างๆ และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้ นายกฯ Najib Razak กล่าวว่าในฐานะประธานอาเซียน ตนจะผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องระเบียบปฏิบัติว่าด้วยทะเลจีนใต้ระหว่างการประชุมในสัปดาห์นี้


เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของฟิลิปปินส์ Albert del Rosario เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพร้อมใจกันต่อต้านการกระทำของจีนในทะเลจีนใต้ และขอให้จีนหยุดการก่อสร้างใดๆ ในบริเวณหมู่เกาะ Spratly

Spratly Islands, China Sea Territorial Claims
Spratly Islands, China Sea Territorial Claims

แต่นักวิเคราะห์ชี้ว่า เวลานี้กำลังเกิดความแตกแยกในกลุ่มอาเซียนเกี่ยวกับจุดยืนที่มีต่อจีนในประเด็นทะเลจีนใต้ โดยฝ่ายหนึ่งคือประเทศที่ต้องพึ่งพาจีนในด้านเศรษฐกิจ เช่น ลาว กัมพูชา และพม่า ซึ่งล้วนไม่ได้กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งไทยที่กำลังสานสัมพันธ์ทางทหารกับจีน กับอีกฝ่ายหนึ่งที่นำโดยฟิลิปปินส์กับเวียดนาม ซึ่งกำลังมีข้อพิพาทกับจีนในเรื่องนี้

ทำให้เชื่อว่าการจะรวบรวมให้อาเซียนพร้อมใจต่อต้านจีนในประเด็นนี้ คงจะเป็นไปได้ยาก

ผู้สื่อข่าววีโอเอประจำกรุงเทพฯ Ron Corben รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

XS
SM
MD
LG