ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ย้อนดู 5 ปี “ปฏิบัติการกวาดล้าง” ชาวโรฮีนจา


Rohingya Women Protest in Kutipalong Refugee camp in 2019, on the second year ceremony of the genocide.
Rohingya Women Protest in Kutipalong Refugee camp in 2019, on the second year ceremony of the genocide.

ชาวโรฮีนจารำลึกครบรอบ 5 ปีเหตุความรุนแรงจาก “ปฏิบัติการกวาดล้าง” โดยรัฐบาลเมียนมาได้ปราบปรามชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ในรัฐยะไข่ด้วยความรุนแรงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ปี ค.ศ. 2017 ซึ่งส่งผลให้ชาวโรฮีนจากว่า 700,000 ต้องอพยพจากเมียนมาไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศและทหารระดับสูงในเมียนมาถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide)

รายงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน ระบุว่า กองทัพเมียนมาทำการสังหารชาวโรฮีนจาไปราว 6,700 คนในช่วงเดือนแรกของปฏิบัติการดังกล่าว และอีกหลายพันคนในเดือนต่อ ขณะที่ เหยื่อผู้รอดชีวิตได้เล่าถึงเหตุการณ์ข่มขืน ทำร้าย และเผาบ้านเรือนของชาวมุสลิมโรฮีนจา ที่ทำให้นานาประเทศร่วมกันประณามเมียนมาอย่างหนัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ยุติลงเลย โดยเฉพาะหลังจากที่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประกาศว่า การกระทำของเมียนมาต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮีนจา ถือเป็นการ "สังหารล้างเผ่าพันธุ์" แต่รัฐบาลทหารเมียนมาไม่สนใจแรงกดดันจากเวทีโลก และชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮีนจาเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีจากชาวโรฮีนจาหัวรุนแรง

แดน ซัลลิแวน รองผู้อำนวยการแห่ง Refugee International’s Asia and Africa กล่าวว่า “ทั่วโลกเห็นชัดถึงความรุนแรงที่กองทัพเมียนมาทำ (ต่อชาวโรฮีนจา) และสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้ชมกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นในเมียนมาได้รับรู้ถึงความโหดร้ายที่ชาวโรงฮีนจาเผชิญ ซึ่งคนเหล่านี้เคยไม่เชื่อว่า ทหารเมียนมาทำสิ่งเหล่านี้จริง หรือเคยเลือกที่จะเชื่อคำโกหกของทหารเมียนมา”

แม้จะเกิดความพยายามในการรวมตัวชนกันของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในเมียนมาขึ้น แต่ ควา วิน ผู้อำนวยการเครือข่ายมนุษยธรรมในเมียนมาย้ำว่า การที่จะล้มบุคคลต่าง ๆ ที่ร่วมกันทำการรัฐประหารได้ ทุกฝ่ายทุกรวมตัวกันและต้องทำงานร่วมกันด้วย

Border Guard Police stand at edge of Sittwe IDP camp in August 2017, a few days after the start of the clearance operation.
Border Guard Police stand at edge of Sittwe IDP camp in August 2017, a few days after the start of the clearance operation.

ประเทศเมียนมามีกลุ่มชาติพันธุ์ราว 135 กลุ่ม แต่กฎหมายเรื่องสัญญาชาติที่ออกมาในปี 1982 ไม่มีการรับรองสัญชาติเมียนมาและสิทธิ์ต่าง ๆ ให้แก่ชาวโรฮีนจา พวกเขาจึงกลายเป็นเหยื่อความรุนแรงและมักได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบัน ค่ายผู้ลี้ภัยที่แออัดของชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศมีสภาพความเป็นอยู่ที่น่าเป็นห่วงและมีข้อบังคับเคร่งครัดมากมาย

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจารายหนึ่งที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนและอาศัยอยู่ในค่ายกูตูปาลองซึ่งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า “ตั้งแต่การก่อสร้างรั้วล้อมรอบค่ายผู้ลี้ภัยสำเร็จลง ผู้ลี้ภัยในค่ายประสบปัญหาการเดินทางจากค่ายหนึ่งไปสู่อีกค่ายหนึ่ง แม้บางจุดที่จะเดินทางไปอยู่ภายในรั้วก็ตาม นั่นก็เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ที่มาควบคุมและเหตุผลอื่น ๆ อีกมากมาย”

ผู้ลี้ภัยวัย 25 ปีข้างต้น อธิบายว่า แม้รั้วจะช่วยเสริมเรื่องความปลอดภัย แต่ตำรวจมักรีดไถชาวโรฮีนจามากกว่าที่จะปกป้องพวกเขา และค่าโดยสารรถแท็กซี่เพิ่มขึ้นเท่าตัวเนื่องจากคนขับต้องจ่ายเงินมากที่จุดตรวจของด่านต่าง ๆ

ซึ่งในระหว่างที่หลายคนต่างตั้งตารอดูว่าสภาพในค่ายผู้ลี้ภัยจะดีขึ้นหรือไม่ องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมทั้ง มิเชลล์ บาเชเล็ต ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เรียกร้องรัฐบาลบังกลาเทศให้เปิดโอกาสทางการศึกษาและเปิดชั้นเรียนให้แก่เยาวชนชาวโรฮีนจาเพื่อที่พวกเขาจะกลับเข้าสู่สังคมเมียนมาได้ในอนาคต

A Rohingya family at a settlement village near Sittwe in August 2017, a few days after the clearance operation began. Travel restrictions forbid anyone in the village from traveling.
A Rohingya family at a settlement village near Sittwe in August 2017, a few days after the clearance operation began. Travel restrictions forbid anyone in the village from traveling.

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มิเชลล์ บาเชเล็ต ได้เดินทางไปเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยข้างต้นและพูดคุยถึงประเด็นและตัวเลือกในการส่งชาวโรฮีนจากลับเมียนมา โดยเธอกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮีนจาล้วนอยากกลับ แต่ยืนกรานว่า จะกลับเมียนมาต่อเมื่อพวกเขาได้รับการรับรองสัญชาติให้เป็นชาวเมียนมา เมื่อสิทธิของพวกเขาได้รับการเคารพและสามารถกลับไปใช้ผืนดินของพวกเขาทำมาหากินได้

เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านมนุษยธรรมรายหนึ่งซึ่งเป็นชาวโรฮีนจาและมีประสบการณ์การทำงานในรัฐยะไข่แต่ต้องการเปิดเผยตัวตน ได้ให้สัมภาษณ์กับ วีโอเอ ผ่านทางโทรศัพท์ ว่า โอกาสที่จะเกิดการส่งชาวโรฮีนจากลับเมียนมามีน้อยมาก เพราะในเมียนมา โดยเฉพาะเมืองมองดอว์ในรัฐยะไข่ ไม่มีการเตรียมการรองรับใด ๆ ให้ผู้ลี้ภัยกลับเลย

อย่างไรก็ตาม ก้าวสำคัญสำหรับความยุติธรรมของชาวโรฮีนจาได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมาที่กรุงเฮกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกปฏิเสธการคัดค้านการไต่สวนคดีชะตากรรมของชาวโรฮีนจาที่รัฐบาลทหารเมียนมายื่นมา และเดินหน้าพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจาอย่างเต็มรูปแบบแล้ว

A village hut burns to the ground in Rakhine in September 2017.
A village hut burns to the ground in Rakhine in September 2017.

แต่แม้จะมีหลักฐานมากมายที่จะพิสูจน์ความผิดในคดีนี้ได้ นักวิเคราะห์ต่างย้ำว่า ต้องมีการกดดันเมียนมามากกว่าที่เป็นอยู่โดยเร็ว เพราะการไต่สวนคดีนี้น่าจะกินเวลานานอีกหลายปีกว่าจะสิ้นสุด

  • ที่มา: วีโอเอ

XS
SM
MD
LG