ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จตุรัสภูมิพลฯ บนความขัดแย้งของคนไทยในบอสตัน


Pro-Thai democracy protesters dance around the monument during the demonstration at King Bhumibol Adulyadej Square in Cambridge, MA Nov 22, 2020.
Pro-Thai democracy protesters dance around the monument during the demonstration at King Bhumibol Adulyadej Square in Cambridge, MA Nov 22, 2020.

จัตุรัสภูมิพลฯและแท่นจารึกพระเกียรติคุณในสถานที่รำลึกการเป็นนครแห่งพระราชสมภพของรัชกาลที่ 9 ที่เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซทส์กำลังถูกทำให้เป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างผู้เห็นต่างทางการเมืองไทยใจนเกิดการเผชิญหน้ากันเป็นครั้งที่สองในรอบไม่กี่สัปดาห์

การเผชิญหน้าครั้งใหม่ ที่จตุรัสภูมิพลฯ

กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ใช้ชื่อกลุ่ม Boston for Thai Democracy จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เต้นรำ ถ่ายรูป และถ่ายทอดสดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รอบๆแท่นอนุสรณ์จารึกพระเกียรติคุณ ใจกลาง ‘จตุรัสภูมิพลฯ’ หรือ ‘ภูมิพลฯสแควร์’ สถานที่รำลึกการเป็นนครแห่งพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ในนครเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซทส์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งที่สองในรอบไม่กี่สัปดาห์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมจัดกิจกรรมในสถานที่แห่งนี้

เราเป็นเดียวที่ต้องการที่จะยืนอยู่ตรงนั้น แสดงให้เขาเห็นว่า รักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ โดยอย่างที่แท้จริง ไม่เคลื่อนไหว.. ...
สมนึก พุลลิ่ง มูลนิธิ The King of Thailand Birthplace

แต่ตลอดการจัดกิจกรรมมี นางสมนึก พูลลิ่ง ชาวไทยในรัฐแมสซาชูเซทส์ วัย 63 ปี ที่มีจุดยืนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พยายามเดินออกมาปกป้องแท่นอนุสรณ์รำลึกฯดังกล่าว และพยายามบอกให้กลุ่มผู้ชุมนุมให้ความเคารพต่อสถานที่ ที่ซึ่งคนไทยจำนวนไม่น้อยให้ความเทอดทูนในฐานะการเป็นสัญลักษณ์รำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9

ยืนหยัดด้วยความเคารพ

“คือเราพยายามอยากแสดงให้เขาเห็น เราพยายามยืนด้วยความเคารพมากที่สุด (respectfully) แต่ไม่ใช่ว่าจะให้เขามาเคารพเรานะคะ ให้เขารักและเคารพชาติของเรา ชาติไทย ศาสนาเราที่เราเรียนรู้มา ความเป็นไทย และพระมหากษัตริย์ เราเป็นเดียวที่ต้องการที่จะยืนอยู่ตรงนั้น แสดงให้เขาเห็นว่า รักชาติ รักศาสนา รักพระมหากษัตริย์ โดยอย่างที่แท้จริง ไม่เคลื่อนไหว.. ไม่ใข่ว่าเราแก่แล้ว ไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจ ประชาธิปไตย ไม่ใช่แบบนั้น.. เราอยู่ห่างจากเมืองไทยมาเกือบ 50 กว่าปีแล้วนะคะ แต่ว่าเวลาที่เราไปที่อนุสรณ์สถาน เราก็ไปช่วยกันดูแล ช่วยกันกวาดถนน (หัวเราะ) ช่วยกันเหมือนกับว่า เรามีความภูมิใจที่ได้ทำน่ะค่ะ เพราะว่าเหมือนเป็นแผ่นดินเล็กๆของเรา ที่คิดถึงบ้าน เป็นบ้านของเรา (my homeland) และดิฉันก็ไม่คิดว่า เราไม่ใช่คนเดียวที่คิดอย่างนั้น”

Somnuk Pulling (L), a Thai royalist stands guard at the monument facing a group of Pro-Thai Democracy protesters at the King Bhumibol Adulyadej Square in Cambridge, MA. Nov 22, 2020.
Somnuk Pulling (L), a Thai royalist stands guard at the monument facing a group of Pro-Thai Democracy protesters at the King Bhumibol Adulyadej Square in Cambridge, MA. Nov 22, 2020.

เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นถูกคุกคาม?

จัตุรัสภูมิพลฯ และแท่นจารึกพระเกียรติคุณแห่งนี้ กำลังถูกทำให้กลายเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมืองไทย ในข้อถกเถียงด้านสิทธิและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ

ถ้าสมมุติว่าเขาถูกข่มขู่ไปถึงที่ทำงาน เขาก็อาจจะไม่กล้าอีกเลย.. ก็คือ ปิดปากเขาไปเลย รู้สึกว่ามันไม่แฟร์ ถึงแม้ว่าคุณจะทำจริงไม่ได้ แต่การข่มขู่เรื่องพวกนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมากๆ
สันติภาพ สมศักดิ์ กลุ่ม Boston for Thai Democracy

สันติภาพ สมศักดิ์ กลุ่ม Boston for Thai Democracy บอกกับ ‘วีโอเอ ไทย’ ว่า พวกเขาถูกข่มขู่และคุกคามด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย หลังการออกมารวมตัวที่ ‘จตุรัสภูมิพลฯ’ แห่งนี้ เพื่อแสดงออกในการสนับสนุนข้อเรียกร้องการชุมนุมในประเทศไทยเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน จนกลายเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องแสดงจุดยืนอีกครั้ง

“มีคุณป้าคนหนึ่งที่เป็นคนจัดตั้งมูลนิธิที่สร้างแท่นนี้ให้กับเมืองเคมบริดจ์ประมาณปี ค.ศ.2003 (พ.ศ.2546) คืออาจจะอยู่เมืองนี้มานานแล้วคงพอจะมีอิทธิพลบ้าง เขาตามไปส่งข้อความถึงพี่ๆหลายคนหลังจากการชุมนุมรอบที่ 2 ที่ถ่ายรูปคู่กับแท่น แล้วไปติดต่อที่ทำงานของเขา แล้วก็ส่งสกรีนช๊อต (ภาพหน้าจอ) ไปถามหารายละเอียดของผู้ชุมนุมหลายๆคน ฝั่งเราก็ไม่กลัว ..

..คือผมเองก็มีสถานนะถูกกฎหมาย แต่อีกหลายๆคน เขาไม่มีความแน่นอนทางสถานะตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) อเมริกา ก็คือถ้าสมมุติว่าเขาถูกข่มขู่ไปถึงที่ทำงาน เขาก็อาจจะไม่กล้า (แสดงออกทางการเมือง)อีกเลย ถึงแม้จะรู้ว่าน่าจะทำอะไรไม่ได้ มันก็เป็นสิ่งที่เขาหวาดระแวง และออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ได้แล้ว ก็คือ ปิดปากเขาไปเลย รู้สึกว่ามันไม่แฟร์ ถึงแม้ว่าคุณจะทำจริงไม่ได้ แต่การข่มขู่เรื่องพวกนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมากๆ” สันติภาพ เล่าถึงสาเหตุการออกไปชุมนุม

สร้างขึ้นมาด้วยกระแสความรักของท่าน ที่ต้องการจะธำรง ปกป้อง และ รักษา ความรักที่มีต่อท่าน และภาพลักษณ์ รวมทั้งความทรงจำต่างๆในรัชสมัยของพระองค์ ให้คงที่ ให้สืบสานต่อไปวันข้างหน้า ตลอดที่เรามีความสามารถทำ เพื่อให้คงอยู่ตลอดไป
สมนึก พุลลิ่ง มูลนิธิ The King of Thailand Birthplace

ปกป้องสัญลักษณในหลวงในนครแห่งพระราชสมภพ

สมนึก ในฐานะตัวแทนจากมูลนิธิ The King of Thailand Birthplace ที่มีส่วนผลักดันให้สถานที่แห่งนี้ได้รับการอนุมัติจากทางการท้องถิ่นในนครเคมบริดจ์ ให้จัดสร้างแท่นจารึกที่เป็นอนุสรณ์สถาน เมื่อ 2 ทศวรรษก่อน ย้ำว่า พวกเขาเพียงต้องการปกป้องพระเกียรติคุณและสืบสานเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของการเป็นนครแห่งพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในยืนยาวต่อไปเหมือนที่ทำมาตลอดหลายทศวรรษ

“เป็นสิ่งที่คนทางนี้ เขามีความเชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ที่สุดเมื่อพวกเขาไปที่นั่น สร้างขึ้นมาด้วยกระแสความรักของท่าน ที่ต้องการจะธำรง ปกป้อง และ รักษา ความรักที่มีต่อท่าน และภาพลักษณ์ รวมทั้งความทรงจำต่างๆในรัชสมัยของพระองค์ ให้คงที่ ให้สืบสานต่อไปวันข้างหน้า ตลอดที่เรามีความสามารถทำ เพื่อให้คงอยู่ตลอดไป..”

อนุสรณ์สถาน ร.9 คือ สัญลักษณ์การกดขี่

สันติภาพ สมศักดิ์ กลุ่ม Boston for Thai Democracy บอกว่า แม้จะเข้าใจในการออกมาปกป้องสิ่งที่หวงแหน แต่พวกเขากลับมองอนุสรณ์สถานแห่งนี้ในอีกมุม

พวกเราก็เข้าใจใช่ไหมครับ เพราะว่าเราก็เกิดมาในสังคมไทยที่กล่อมเกลาให้ทุกคนรักและบูชาวสถาบัน ก็คือมันก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจอยู่แล้ว แต่ที่เขาต้องเข้าใจก็คือว่า สองอย่าง มันทำคู่กันได้ เขาจะเข้ามาสักการะ เขาจะเข้ามารำลึกก็ได้ แต่มันก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะมองอนุสรณ์สถานแห่งนี้ในทางกลับกัน ก็คือเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ใช่ของเรื่องราวที่เขาต้องการจะนำเสนอเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์ของสภาวะทางการเมืองที่ทำให้คนไม่สามารถแสดงออกได้ เป็นสภาวะการเมืองที่ปิดปากผู้ที่คิดต่าง ทำให้หลายคนคิดว่านี่เป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่และไม่เป็นประชาธิปไตย” สันติภาพ กล่าว และ ว่า

“อีกอย่างก็คือที่นี่ถือเป็นจุดศูนย์รวมของคนไทยในบอสตัน เราก็เคยคิดว่าเป็นจุดที่จะสามารถมาตรงนี้แล้วจับความสนใจของสื่อได้ ซึ่งก็คือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะเรามาที่นี่ก็กลายเป็นกระแสไวรอลแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และมีสื่อหลายๆที่ที่เมืองไทยออกข่าว”

มันก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะมองอนุสรณ์สถานแห่งนี้ในทางกลับกัน..เป็นสัญลักษณ์ของสภาวะทางการเมืองที่ทำให้คนไม่สามารถแสดงออกได้ เป็นสภาวะการเมืองที่ปิดปากผู้ที่คิดต่าง ทำให้หลายคนคิดว่านี่เป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่และไม่เป็นประชาธิปไตย ...
สันติภาพ สมศักดิ์ กลุ่ม Boston for Thai Democracy

ไทยในนิวยอร์ก ชุมนุมหน้า ยูเอ็น

นอกจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในประเทศไทย ที่รัฐแมสซาชูเซทส์ แล้วยังมีกลุ่มชาวไทยในหลายเมืองทั่วสหรัฐฯออกมาเคลื่อนไหวในแนวทางเดียวกัน เช่นที่นครนิวยอร์ก กลุ่มผู้ชุมนุมในนาม Thai New Yorkers for Democracy ราว ร่วมจัดกิจกรรมบริเวณหน้าสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ด้วยการชูป้ายสัญลักษณ์ประท้วง และเชิญชวนให้รถที่สัญจรผ่านบีบแตรเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้ประเทศไทย รวมทั้งประณามเหตุการณ์สลายการชุมนุมในกรุงเทพฯ ทั้งการชู

นอกจากนี้ยัง ได้อ่านแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและรัฐสภายุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้ชุมนุม รับฟังประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ใช้กฎหมายด้วยความยุติธรรมโดยไม่รังแกผู้เห็นต่างทางการเมือง และให้มีการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งและจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในทันที

XS
SM
MD
LG