ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สัมภาษณ์: "อดีตนายกฯ อานันท์" เสนอมุมมองและความหวังคลายปมการเมืองไทย


Thailand Anand Panyarachun speaks at an event organized by the Foreign Correspondents' Club of Thailand (FCCT) titled "Striving for Thailand's New Normal" in Bangkok, Thailand, March 23, 2016.
Thailand Anand Panyarachun speaks at an event organized by the Foreign Correspondents' Club of Thailand (FCCT) titled "Striving for Thailand's New Normal" in Bangkok, Thailand, March 23, 2016.
Former PM Anand Interview
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:02 0:00


เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอไทย เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยที่กำลังอยู่ในบรรยากาศตึงเครียด เขาได้เเสดงทัศนะผ่านประสบการณ์การเป็นผู้นำประเทศในช่วงที่ไทยพยายามหาทางออกต่อวิกฤตการเมืองเมื่อเกือบ 3 ทศวรรษก่อน ท่ามกลางฉากประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ "พฤษภา ทมิฬ พ.ศ. 2535" โดยเนื้อหาการสัมภาษณ์ในประเด็นหลักๆ มีดังนี้

การเดินขบวนคราวนี้แตกต่างจากการเดินขบวนครั้งก่อนๆ อย่างไร

"คราวนี้นักเรียนเขามาด้วยความสงบนะครับ ไม่มีการพกปืนอันนี้สำคัญมาก แล้วก็ไม่มีการพกปืน ไม่มีการพกมีด ผมว่าทางรัฐบาลเขาก็ดี เขาสั่งให้ตำรวจ อะไรต่างๆ ไม่มีการพกปืนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะปะทะกันมีไม่มาก ทางฝ่ายนักเรียนเขามีการควบคุมไม่ให้มีคนแปลกปลอมเข้ามา ก็ดูแลว่าทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบ ทางรัฐบาลก็เอื้ออำนวยในเรื่องพวกนี้ด้วย

แต่สิ่งที่น่ากลัวอันหนึ่งก็คือว่าขณะนี้มันมีการเดินขบวนหลายกลุ่มด้วยกัน เราก็ไม่เเน่ใจว่า จะเกิดอุบัติเหตุรึเปล่า อาจจะมีการปะทะกัน สิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าทุกอย่างอยู่ภายใต้การไม่สู้รบกัน การพูดจากัน การพูดจากันอาจมีการเกินขอบเขตบ้าง มีแล้วนะครับ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการเกินขอบเขตทางด้านวาจา แต่ไม่มีการเผารถเมล์ ไม่มีการเผายาง ไม่มีการปล้นสะดม ไม่มีการบุกรุกเข้าไปห้างร้าน เปรียบเทียบกันเเล้วผมว่ามีความสงบดี"

คิดอย่างไรกับการใช้น้ำแรงดันสูงฉีดสลายฝูงชน วันที่ 16 ..

Pro democracy demonstrators face water canons as police try to disperse them from their protest venue in Bangkok, Thailand, Friday, Oct. 16, 2020. Thailand prime minister has rejected calls for his resignation as his government steps up efforts to stop st
Pro democracy demonstrators face water canons as police try to disperse them from their protest venue in Bangkok, Thailand, Friday, Oct. 16, 2020. Thailand prime minister has rejected calls for his resignation as his government steps up efforts to stop st

"มันกระทบกระเทือนจิตใจของคนที่ดูอยู่ในประเทศ อย่างที่ผมเรียนให้ทราบ เค้ารู้สึกว่าเด็กเขามาด้วยความสงบ อาจจะพูดจาก้าวร้าว พูดจาเกินขอบเขต แต่มันก็เป็นเพียงการพูดจาเท่านั้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ในฝรั่งเศส หรือในเยอรมันแล้ว การกระทำของเจ้าหน้าที่ อาจจะไม่เหมาะสมในเหตุการณ์ขณะนั้น แต่ก็เป็นสิ่งที่เรียกว่าไม่รุนแรงหรือร้ายกาจอย่างที่เราเห็นในต่างประเทศ"

มองเรื่องการหาทางออกผ่านสภาในสัปดาห์นี้อย่างไร

"การกลับเข้าไปสู่สภา เป็นสิ่งที่น่าจะทำได้และได้ทำไปแล้วนะครับ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าสภาจะหาทางออกอย่างไร ในพระราชบัญญัติที่เรียกให้มีการประชุมสภาสมัยวิสามัญ รู้สึกจะมีการวางขอบเขตค่อนข้าจะกะทัดรัดไปหน่อย ไม่มีการพูดถึงการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับเก่าให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างไรก็ดีมีการอภิปราย มีการพูดถึงความจำเป็นที่จะต้องเขียนรัฐธรรมนูญ เพราะอันนั้นเป็นปัจจัยใหญ่ที่เกิดการเดินขบวน"

มีการพิจารณาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ ทำอย่างไรให้ทำงานนี้ให้สำเร็จ

"ผมว่าก็เป็นความคิดที่ดี ผมว่ามันอยู่ที่จังหวะ รัฐบาลจะให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ได้หรือไม่ และได้เร็วขนาดไหน เพราะปัจจัยหนึ่งที่นักรียนเขาเดินขบวน คือเรื่องของรัฐธรรมนูญ สองคือเรียกร้องให้ท่านนายกฯ ลาออก และสามให้เลิกคุกคามเด็กนักเรียน โดยการจับหรือโดยการไม่ปล่อยตัว อันที่สี่คือเรื่องสถาบันที่ผมเห็นว่าพูดเลยเถิดไป มันก็เป็นประเด็นที่สำคัญกับประเทศชาติ แต่ในสายตาผม มันไม่ใช่ประเด็นที่เรียกว่าเร่งด่วนหรือต้องมีการจัดการโดยทันที แต่สามเรื่องเเรกที่ผมเรียนให้ทราบที่เขาเรียกร้อง เป็นเรื่องประชาชนค่อนข้างจะเห็นด้วยว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ควรพิจารณาหาทางออกให้ได้

Pro-democracy demonstrators flash a three-finger salute while sitting on the ground during a Thai anti-government mass protest, on the 47th anniversary of the 1973 student uprising, in Bangkok, Thailand October 14, 2020. REUTERS/Soe Zeya Tun
Pro-democracy demonstrators flash a three-finger salute while sitting on the ground during a Thai anti-government mass protest, on the 47th anniversary of the 1973 student uprising, in Bangkok, Thailand October 14, 2020. REUTERS/Soe Zeya Tun

อันหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าเราอาจจะมองข้ามไปก็คือว่า ที่เราเรียกว่าเด็กรุ่นใหม่ เขาอาจจะเด็กในทางอายุแต่ในทางเทคโนโลยีในทางการสื่อสารซึ่งกันเเละกัน เขาไปไกลมากทีเดียว คนอย่างผมเป็นยุค analogue เเต่เด็กรุ่นใหม่เป็นยุค digital หลายสิ่งหลายอย่างที่มีการสื่อสารซึ่งกันและกัน คนที่ไม่รู้เรื่องอย่าผมก็ประหลาดใจว่าเขาทำได้ยังไง ในการนัดพบก็ดี ในการรวมขบวนเป็นหมื่นเป็นแสน สื่อสารระหว่างเดินขบวน ทุกอย่างทำได้ดีมีระเบียบวินัย อันนี้เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด"

จะสามารถหาทางออกให้กับปมความขัดแย้งขณะนี้ได้หรือไม่

"ผมรู้สึกว่า ไม่ท้อเเท้เท่าไหร่ รู้สึกว่ายังเป็นเรื่องที่น่าจะหาทางพูดจาปรองดองกันได้ ถ้าสามารถพูดได้ในเรื่องเดียวกัน เพราะว่าคราวนี้ข้อขัดแย้งของเมืองไทยในปัจจุบัน ไม่เป็นข้อขัดแย้งเหมือนที่เราเห็นในสหรัฐอเมริกา หรือในยุโรป ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งในเรื่องทางศาสนา เป็นเรื่องข้อขัดเเย้งทางเชื้อชาติ เป็นเรื่องความขัดแย้งทางด้านผิว ของเราเป็นเรื่องความขัดแย้งในเรื่องของอุดมการณ์ทางการเมืองหรือวิธีคิดทางการเมือง เพราะฉะนั้นข้อขัดแย้งประเภทนี้ ผมว่าน่าจะอยู่ในวิสัยที่น่าจะตกลงกันได้มากกว่า"

ถ้าพล..ประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ จะช่วยแก้ปัญหาหรือไม่

Thailand Prime Minister Prayuth Chan-ocha answers questions during an open session at the parliament house in Bangkok, May 27, 2020.
Thailand Prime Minister Prayuth Chan-ocha answers questions during an open session at the parliament house in Bangkok, May 27, 2020.

"ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด หรืออะไรควรทำ ไม่ควรทำเพราะผมอายุ 88 แล้ว ก็อยู่ข้างนอก ติดตามการเมืองก็ไม่ได้ติดตามโดยละเอียด มันก็ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน ผมก็ไม่ทราบว่า ตามระเบียบข้อบังคับอะไรต่างๆ ทางรัฐธรรมนูญก็ดี หรือทางกฎหมายก็ดี การที่จะให้นายกฯลาออกมันทำได้สะดวกมากน้อยแค่ไหน อันนี้ผมไม่ทราบ แต่มันเป็นประเด็นหนึ่งที่เด็กรุ่นใหม่เขามองว่าตัวท่านนายกฯเป็นตัวปัญหา ซึ่งอันนี้จะผิดจะถูกผมไม่อยู่ในวิสัยที่จะพิจารณาได้ แต่เมื่อถือว่าเมื่อเป็นปัญหาแล้ว ถ้าเผื่อท่านนายกฯลาออก มันก็จะทำให้ความปั่นป่วนในเมืองไทยมันคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ นี่เป็นความคิดของเด็กนักเรียนนะครับ"

อธิบายเหตุใดการเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบันฯเลยเถิดไปหน่อย"

"ในการทำงานการเมืองสิ่งที่สำคัญที่สุดคือว่า มันต้องมีแผนการทำงาน มันต้องมีเป้าหมายว่าต้องทำสำเร็จในเรื่องใด ถ้าเผื่อเราอาศัยเเต่อารมณ์หรือความคิดขั้นต้น เราอาจมีระเบียบวาระ 10 ข้อ 15 ข้อ อยากทำโน่นอยากทำนี่ แต่ในแง่ของการทำงานการเมืองเราต้องมียุทธศาสตร์ว่ามันมีลำดับก่อนหลังอย่างไร มันมีความสำคัญเร่งด่วนเท่าใด ถ้าเผื่อเราไปจับทุกๆประเด็นมันก็ลำบากที่จะหาพวก

A person holds a poster depicting Thai King Maha Vajiralongkorn as members of Thai right-wing group "Thai Pakdee" (Loyal Thai) attend a rally in Bangkok, Thailand August 30, 2020. REUTERS/Jorge Silva
A person holds a poster depicting Thai King Maha Vajiralongkorn as members of Thai right-wing group "Thai Pakdee" (Loyal Thai) attend a rally in Bangkok, Thailand August 30, 2020. REUTERS/Jorge Silva

ถ้าเราจะทำอะไรให้สำเร็จในสังคมประชาธิปไตยโดยเฉพาะ มันต้องเป็นประเด็นที่สามารถจะโน้มน้าวให้พลเมืองโดยทั่วไปหรือราษฎรโดยทั่วไป เขาเห็นด้วยกับเรา ในกรณีเรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผมเข้าใจว่าประชาชนในเมืองไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเห็นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อเราทำอะไรก็ตามที่มันสอดคล้องกับความต้องการหรือความปรารถณาของประชาชนส่วนใหญ่ โอกาสที่จะสำเร็จมันก็มีมาก แต่ถ้าเผื่อเราไปจับประเด็นใด....ก็อาจเห็นว่ามีความจำเป็นหรือมีความเร่งด่วน.......แต่มันไม่สอดคล้องกับวิธีคิดของคนไทยโดยทั่วไป หรือของราษฎร หรือของผู้ที่จะมาเลือกตั้ง คุณก็ไม่สามารถโน้มน้าวให้เขามาร่วมกับคุณได้

เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าจะเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้อง เราต้องฟังเสียงของประชาชน ถ้าเผื่อเราคิดว่าประชาชนเอาด้วยโอกาสก็มีมาก ถ้าเผื่อเราคิดว่าประชาชนเขาไม่ค่อยเห็นด้วยในเรื่องนี้ แล้วเราทำไป มันก็มีเเต่ผลลัพธ์ในทางลบ คือเราจะทำให้พวกนี้....ไม่อยากมาร่วมกับเราในเรื่องอื่นๆ เพราะฉะนั้นลำดับของความสำคัญก่อนหลังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

การทำงานการเมืองไม่ใช่เอาทุกอย่างให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือให้ได้ทุกเรื่อง มันต้องรู้ว่าทุกอย่างในทางการเมืองมันไม่มีชนะร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือแพ้ร้อยเปอร์เซ็นต์"

คิดอย่างไร ถ้าได้รับเชิญไปร่วมคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อช่วยหาทางออกกับเหตุการณ์ขณะนี้

"ถ้าเขายังเห็นว่า คนเเก่อย่างผมยังมีประโยชน์อยู่ผมก็คงไม่ขัดข้องนะ แต่อย่างที่ผมเรียนให้ทราบอายุผมมากแล้ว ก็เป็นเรื่องของอนาคต ผมไม่ทราบเหมือนกัน"

มุมมองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทยที่ถูกเขียนขึ้นใหม่บ่อยครั้ง

"เริ่มต้นเราต้องเลิกความคิดที่ว่า ตัวรัฐธรรมนูญเป็นยาวิเศษ ที่จะเเก้ทุกปัญหาได้ อันนี้ผมว่าจำเป็นมาก รัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง แต่อาจจะเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายอย่างอื่นแต่รัฐธรรมนูญก็เขียนว่าอย่าอย่างนั้นอย่าอย่างนี้

เขียนรัฐธรรมนูญมาบอกว่าอย่าให้มีรัฐประหาร ผมก็ไม่เชื่อว่าการเขียนแบบนั้น มันจะหยุดรัฐประหารได้ เพราะฉะนั้นผมถึงว่ารัฐธรรมนูญต้องมีความศักดิ์สิทธิ์พอประมาณ ถ้าเผื่อเขียน

Pro-democracy demonstrators flash a three-finger salute while sitting on the ground during a Thai anti-government mass protest, on the 47th anniversary of the 1973 student uprising, in Bangkok, Thailand October 14, 2020. REUTERS/Soe Zeya Tun
Pro-democracy demonstrators flash a three-finger salute while sitting on the ground during a Thai anti-government mass protest, on the 47th anniversary of the 1973 student uprising, in Bangkok, Thailand October 14, 2020. REUTERS/Soe Zeya Tun

ที่ผ่านมาผมคิดว่ารัฐธรรมนูญค่อนข้างจะยาวไป ยาวไปมากๆทีเดียว รัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็นก็คือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่วางหลักการใหญ่ๆ แต่ต้องไปอาศัยกฎหมายลูกที่เขียนเรื่องรายละเอียด แต่ถ้าเผื่อเราคิดว่าใส่ทุกอย่างไปในรัฐธรรมนูญ แล้วมันไม่ทำงานอย่างที่เราคิด เราก็เกิดมีความผิดหวังอีก เราก็เขียนใหม่อีก เขียนใหม่ก็เขียนแบบเก่าอีก

ผมว่าการเขียนรัฐธรรมนูญควรเริ่มต้นด้วยการเขียนด้วยความคิดของนักคิดของเมืองไทย ไม่ใช่นักกฎหมายนะ ผมว่านักกฎหมายมีหน้าที่ไปยกร่าง หรือเป็นคนให้ความเห็น ให้คำแนะนำในเรื่องวิธีการร่าง ด้วยคำพูดที่ชัดเจน คำพูดที่เเนบเนียน คำพูดที่ไม่มีช่องโหว่ อันนั้นเป็นหน้าที่กฎหมาย

แต่ผมว่าต้องมีความคิดเสียก่อนว่าต่อไปนี้ ว่าเราจะเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เรามีเป้าหมายอย่างไร ถ้ามีเป้าหมายประชาธิปไตย เท่าที่ควรจะเป็น มันก็ต้องวางหลักเกณฑ์ว่า จะเป็นประชาธิปไตยมันจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น องค์ประกอบของสิทธิในการพูด สิทธิในการชุมนุม สิทธิในการออกความเห็นในที่สาธารณะต้องมีความโปร่งใส ต้องมีความรับผิดชอบ หนังสือพิมพ์ สื่อต้องมีความเป็นอิสระ ตุลาการต้องมีความเป็นอิสระ สิ่งเหล่านี้ ต้องมีความโปร่งใส สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเป็นเป็นหลักการไว้และต้องร่าง แล้วก็ต้องร่างให้มัน ทุกข้อที่ร่างต้องสอดคล้องกัน หรือถ้าเผื่อสอง เราอยากมีอะไรเพิ่มเติม ต้องเขียนหลักการเสียก่อน เมื่อเรามีหลักการห้าข้อ หกข้อ แปดข้อ สิบข้อแล้วเราก็ไปจำเเนก ดูว่าแต่ละข้อมีสาขาปลีกย่อยยังไง เพราะฉะนั้นการเขียนทุกอย่างต้องเขียนภายในกรอบของความคิด ให้สอดคล้องกับหลักการที่เราตั้งไว้"

เหตุใดรัฐธรรมนูญปี 2540 จึงถูกมองว่าประสบความสำเร็จในการส่งเสริมประชาธิปไตย

"ผมว่าในครั้งนั้นบรรยากาศของการเขียนมันดีกว่า เพราะว่าตอนนั้นก่อนที่มีการยกร่าง ก่อนที่มีการตั้งสภายกร่าง คุณบรรหาร ศิลปอาชาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ใจกว้างพอที่จะตั้งคณะกรรมการ หรือคณะที่ว่าศึกษาเรื่องการเขียนรัฐธรรมนูญ

คณะนั้นก็ได้วางกรอบของการเขียนไว้ เมื่อมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่คุณอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับเลือกเป็นประธาน และผมได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมธิการในการยกร่าง อันนั้นก็เป็น step ที่สอง เมื่อมีการเขียนกันก็เขียนภายในกรอบที่คณะที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้ ที่มีอาจารย์บวรศักดิ์ ....หมอประเวศ.... ที่เขาได้วางไว้ เป็นกรอบที่ดี กรอบที่เราสามารถเขียนได้ใกล้เคียงกับประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ที่สุด

Former Thai Prime Minister Anand Panyarachun, center, marches at a rally where thousands celebrated the completion of a draft charter for a new constitution at Democracy Monument in Bangkok Sunday, Aug. 17, 1997.
Former Thai Prime Minister Anand Panyarachun, center, marches at a rally where thousands celebrated the completion of a draft charter for a new constitution at Democracy Monument in Bangkok Sunday, Aug. 17, 1997.

ส่วนรัฐธรรมนูญปัจจุบันสิ่งที่คนกังขากันมา คืออยู่ดีๆก็ไปตั้งวุฒิสมาชิก 250 คน อันนี้เป็นข้อข้องใจของประชาชน เป็นข้อข้องใจที่ผมมีอยู่ด้วย และก็เป็นข้อที่เราว่าเรียกว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะฉะนั้น การชุมนุมต่างๆ เวลาคนเขาเพ่งเล็งถึง การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ สาระสำคัญก็คือว่า..... ไม่ควรมีส.ว. แต่งตั้ง โดยเฉพาะเป็นส.ว.แต่งตั้งที่สามารถเลือกนายกฯ ได้ ผมว่าอันนี้มันขัดกับหลักประชาธิปไตยอย่างมากๆ ควรได้รับการแก้ไขโดยด่วนที่สุด"

จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการร่างรัฐธรรมนูญ

"ผมว่าท่านนายกฯ ต้องเห็นด้วยกับสิ่งเหล่านี้ ผมว่าหลายสิ่งหลายอย่างทำไม่ได้ถ้าใครก็ตามที่เป็นนายกฯ ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นชอบ เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีทั้งอำนาจ มีทั้งหน้าที่ มีทั้งเครื่องมือที่ทำให้เรื่องใดเรื่องหนึ่งมันเดินได้ ผมว่าสิ่งสำคัญคือ ท่านนายกฯ ท่านคิดอย่างไร ท่านตกลงใจอย่างไรสิ่งที่ท่านคิดหรือสิ่งที่ท่านตกลงใจ มันจะมีความหมายสำคัญต่ออนาคตของเมืองไทย"

มองการแสดงความเห็นของต่างประเทศต่อการเมืองไทยอย่างไร

"ต่างประเทศเค้าพูดยังไงเราก็ฟังไว้ แต่ผมคิดว่าเราอย่าให้ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มามีอิทธิพลเหนือสิ่งที่เราต้องการ"

มุมมองจากประสบการณ์เรื่องการเจรจาต่อรองของกลุ่มอำนาจต่างๆ ในช่วงที่เป็นผู้นำประเทศ

"ก่อนผมมาเป็นนายกฯ ผมได้ชื่อว่าผมเกลียดทหาร ผมบอกว่าผมเป็นพวกเกลียดทหารที่คอรัปชั่น เมื่อ 40-50 ปี ผมเห็นทหารเลวไปหมด แต่ผมก็อาจจะพูดเลยเถิดไป สมัยนั้นอายุ 30-40 มีอุดมคติมากหน่อย แต่พอมาตอนเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากผ่านชีวิตภาคเอกชนด้วยอะไรด้วย จิตใจเรากว้างขึ้นครับ ผมไม่ได้มองว่าทหารเขาเลวทั้งหมด ตอนผมเป็นนายกฯผมบอกทหารตั้งแต่เเรกว่าผมเป็นคนตรงไปตรงมานะ ใครก็พูดอย่างนั้น..... และถ้าเผื่อจะทำงานด้วยกัน ผมก็บอกกับทหารว่าคุณต้องรู้จักผมและผมก็ต้องรู้จักคุณ ผมทำอะไรผมต้องปรึกษาสิ่งที่สำคัญผมก็จะบอกเขาว่าผมจะทำอะไร ถ้าคุณไม่เห็นด้วยคุณก็บอกผมมา ก็นั่งคุยกัน...​ความสัมพันธ์ของผมกับทหารตอนนั้นไม่ดีเลย และผมก็สร้างฐานประชาชนของผม พยายามทำสิ่งที่ดีงาม พยายามทำสิ่งที่เรียกว่าประชาชนพอใจ เรื่องปากท้องประชาชน ให้ประชาชนเขาเห็นว่าเราเป็นคนซื่อตรง เป็นคนที่จริงใจ ระหว่างผมเป็นนายกฯ ผมไม่เคยว่าทหารเลย เพราะเราจะไปทำงานกับเขา เราไปนั่งว่าเขา เขาจะรู้สึกยังไง

และผมก็บอกกับทหารตั้งแต่เเรกแล้วว่า ผมให้สัญญาอยู่อย่างนึงว่า ผมจะไม่แทงหลังคุณ ผมจะทำตรงไปตรงมา ผมจะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ถ้าพวกคุณไม่เข้าใจคุณถามผม หรือถ้าเผื่อคิดว่าคุณอาจจะไม่เข้าใจผมก็จะอธิบาย ผมจะไม่แทงหลังคุณ แต่คุณก็อย่ามาแทงหลังผมนะ พวกทหารเขายังหัวเราะ ความสัมพันธ์ที่อยู่ตอนนั้นผมว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ดี จริงอยู่พอถึงเวลาหนึ่งหัวหน้าบางคนอยากให้ผมออก แต่ไม่ใช่อยากให้ผมพ้นหน้าที่เพราะไม่ชอบผม หรือเพราะว่าผมทำอะไรไม่ถูกต้อง แต่ก็เป็นไปได้ว่าผมไปขัดผลประโยชน์เขา ซึ่งอันนี้ผมว่าเป็นสิ่งที่มันไม่ทำให้ความสัมพันธ์ ขณะทำงานเปลี่ยนแปลงไป

ผมว่าคนเรา ถ้าทำงานแล้ว โดยธรรมชาติ คิดถึงเรื่องตัวเองน้อยที่สุด คิดถึงผู้อื่นมากกว่า งานก็จะสำเร็จ แต่ถ้าเผื่อว่าเราหลงตัวเองว่าเราเก่ง ทำอะไรไม่ผิดเลย หรือทำผิดแล้วก็ไม่พร้อมที่จะขอโทษ ถ้าหลงตัวเองเเละเห็นว่าคนอื่นเลวไปหมด ผมว่าเป็นผู้นำไม่ได้ เป็นผู้นำต้องอย่าสร้างศัตรู​ หรือพยายามให้มีศัตรูน้อยที่สุด พยายามทุกอย่างให้มีเพื่อน ให้มีมิตรมากที่สุด มันไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์ คนเกลียดเราแน่นอนต้องมีแน่....แต่เราต้องใจกว้าง และความใจกว้างของเราคือ คิดถึงตัวเองให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้"

แต่เราต้องใจกว้าง และความใจกว้างของเราคือ คิดถึงตัวเองให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
Thailand's former Prime Minister Anand Panyarachun speaks at an event organized by the Foreign Correspondents' Club of Thailand (FCCT) on March 23, 2016.
Thailand's former Prime Minister Anand Panyarachun speaks at an event organized by the Foreign Correspondents' Club of Thailand (FCCT) on March 23, 2016.

XS
SM
MD
LG