วิเคราะห์การเลือกตั้งไทยผ่านประสบการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน

People line up for their early vote for the upcoming Thai election at a polling station in Bangkok, Thailand, March 17, 2019.

การเลือกตั้งของไทยวันที่ 24 มีนาคมนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากต่างประเทศ รวมถึงจากทางการสหรัฐฯด้วย

นอกจากจะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของไทยหลังการทำรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยตั้งแต่นั้นมาถูกเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่ผ่านมาชาติอาเซียนหลายประเทศพยายามทำให้เกิดมีการเลือกตั้งแต่ จำนวนมากยังคงมีปัญหาในการสร้างระบบการเมืองที่โปร่งใสและมีความเป็นเสรีประชาธิปไตย

เมียนมาจัดการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งครั้งนั้น นานาชาติมีความหวังที่จะเห็นเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตามกองทัพเมียนมาก็ยังคงอิทธิพลในการบริหารประเทศของรัฐบาลพลเรือน

ส่วนที่กัมพูชา เมื่อปีที่แล้ว ประเทศกลับสู่ระบอบการเมืองที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่กุมอำนาจบริหารประเทศ หลังจากพรรคฝ่ายค้านหลักถูกห้ามลงเเข่งขันในการเลือกตั้ง

เมื่อพิจารณาถึงฟิลิปปินส์ ความหวังที่จะเห็นการตรวจสอบถ่วงดุล รัฐบาลสะดุดลง ท่ามกลางนโยบายและปฏิบัติการปราบยาเสพติดที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดของรัฐบาล

และฟิลิปปินส์ก็กำลังจะมีเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤษภาคม

ขณะเดียวกันตัวอย่างของสิงคโปร์ ชี้ให้เห็นถึงการเมืองที่พรรคการเมืองเดียวกุมอำนาจมายาวนานตั้งแต่ประเทศเป็นเอกราชเมื่อ 54 ปีก่อน ส่วนเวียดนามและลาวยังคงมีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์

แต่ดูเหมือนว่า มาเลเซียเป็นตัวอย่างที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดในเชิงบวก

นักวิเคราะห์ เดวิด เวลช์ แห่ง หน่วยงาน Solidarity Center กล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวีนออกเฉียงใต้ เขารู้สึกพอใจที่เห็นการเปลี่ยนแปลงในมาเลเซีย ซึ่งมีการปราบปรามคอร์รัปชั่นในรัฐบาลเก่า และการเปลี่ยนผ่านอำนาจหลังการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว

สำหรับประเทศไทย ศาสตราจารย์คาร์ล เธเยอร์แห่งมหาวิทยาลัย New South Wales กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ของไทยจะยังคงมีข้อจำกัดในสิ่งทำได้ เพราะผู้ทรงอิทธิพลทางราชการ ธุรกิจและในกองทัพซึ่งถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลปัจจุบันน่าจะยังคงมีอำนาจอยู่หลังฉาก

แต่อย่างน้อย เขากล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก ใน 5 ปีที่ พรรคการเมืองซึ่งต่อต้านอำนาจทหารได้มีสถานะ ที่จะรณรงค์ผ่านการหาเสียง และจะมีตัวแทนทำงานในระบบรัฐสภา

ท้ายสุด รองผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เเพทริค เมอร์ฟีย์ กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ว่า ประชาธิปไตยที่สิ่งที่ดีของความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างไทยและสหรัฐฯ

และสหรัฐฯยินดีเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยจำนวนมากที่โหยหาที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้มีโอกาสไปหย่อนบัตรลงคะเเนน ในการเลือกตั้งครั้งนี้

(รัตพล อ่อนสนิทเรียบเรียงจากรายงานของ Luke Hunt, Julie Kokis และ Nike Ching )