Your browser doesn’t support HTML5
“หลังจากเราไปเทรน (ฝึก) มาเขาก็จะให้เอกสารมา 3 เล่ม คือหนังสือคู่มือการเลือกตั้ง (Election Guide), EPoll BookGuide หรือ คู่มื่อใช้งานเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ สำหรับเจ้าหน้าที่เลือกตั้ง และ BMD Guide คู่มือใช้งานเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งสำหรับผู้มาใช้สิทธิ์ คือเขาจะให้เราไปศึกษาหนังสือคู่มือทั้ง 3 เล่มนี้ เพราะว่าเวลาเกิดปัญหา ณ หน่วยเลือกตั้งในวันทำการเลือกตั้งจริง เราจะได้แก้ ปัญหาได้..”
ณัฐพล โพธิ์เศษ นักศึกษาไทยในนครลอส แอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย อธิบายถึงเอกสารคู่มือและหนังสือแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่เขาได้รับหลังผ่านการฝึกอบรม และกำลังเตรียมนำไปปรับใช้จริง ในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึง
.เรามีโอกาส เขาเปิดรับสมัครให้มาทำได้ เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ว่า เราจะขับเคลื่อนตรงนี้ยังไง แล้วไปบอกคนไทยต่อ ๆไป ยังไงว่า ตรงนี้เป็นประสบการณ์ที่ดี อยากให้เขาเข้ามาร่วมในโอกาสครั้งต่อไป ...ณัฐพล โพธิ์เศษ จนท.อาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้ง รัฐแคลิฟอร์เนีย
ณัฐพลเคยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมาแล้วในการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรคเมื่อกลางปีที่ผ่านมา แต่สนามเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯที่จะมาถึงนี้ จะเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญที่ท้าทายมากขึ้นของการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยของอเมริกา
"..เราอยากมีประสบการณ์การทำงานระดับชาติของสหรัฐฯ งานนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย คือ ทุกๆ 4 ปีจะมี 1 ครั้ง เราก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสถานการณ์การเลือกตั้ง หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการเลือกตั้ง เพราะว่าเป็นงานสำคัญที่ทุกคนเฝ้าจับตามองว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป.."
"..เรามีโอกาส เขาเปิดรับสมัครให้มาทำได้ เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ว่า เราจะขับเคลื่อนตรงนี้ยังไง แล้วไปบอกคนไทยต่อ ๆไป ยังไงว่า ตรงนี้เป็นประสบการณ์ที่ดี อยากให้เขาเข้ามาร่วมในโอกาสครั้งต่อไป ถ้าทุกคนมีโอกาส ก็อยากเชิญชวนให้ทุกคนเข้ามาทำ.." เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งเชื้อสายไทย ในรัฐแคลิฟอร์ฺเนีย กล่าวกับ 'วีโอเอ ไทย
หนึ่งในเหตุผลสำคัญของการมีอาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้งที่สามารถเข้าใจและพูดได้หลากหลายภาษา จะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่หลากเชื้อชาติในอเมริกา
“บางสถานที่บางพื้นที่ชุมชนนั้น อาจจะมีคนไทยอยู่เยอะ และที่ในสหรัฐฯเขาเปิดกว้างหลายภาษา ซึ่งเขาอาจจะไม่เข้าใจภาษาอังกฤษโดยตรง และอาจจะเป็นภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาไทย ภาษาสเปน เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น หรือ เกาหลี ฯลฯ ดังนั้นแต่ละหน่วยเลือกตั้งจึงต้องมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถทราบถึงภาษาพื้นฐานของแต่ละบุคคลที่เข้ามาเลือกตั้ง เพื่อที่เขาอยากจะให้ผู้ที่มาเลือกตั้งเข้าใจถึงการเลือกตั้งจริงๆ และคนที่ทำงานหน่วยเลือกตั้งสามารถอธิบายได้ชัดเจนในภาษาที่เขาเข้าใจ”
ไม่เพียงแต่ความหลากหลายทางเชื้อชาติเท่านั้น อายุก็ไม่ใช่ข้อจำกัดของอาสาสมัครที่จะมีส่วนร่วมทำงานในหน่วยเลือกตั้ง
Your browser doesn’t support HTML5
เจริญคิส กฤษณายุทธ ชาวไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในวัยกว่า70 ปีคนนี้ พิสูจน์มาแล้วในการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน พร้อมกับประสบการณ์ที่ประทับใจหลังการสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งที่ผ่านมา
“มีส่วนร่วมด้วย คือให้เรามีวิจารณฐญานให้เราไปร่วม มีสิทธิ์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเราควรจะภาคภูมิใจ (ที่ได้มีส่วนร่วม) ถ้าใครยังอยากจะไป ไม่รู้ว่าเขายังเปิดอยู่หรือเปล่าตอนนี้ โดยเฉพาะคนที่อายุน้อย อย่างดิฉันอายุ 70 แล้วค่ะ ไปเลยเขาสอนให้ คนไม่เป็นแม้กระทั่ง จริง ๆ นะ เปิดคอมพิวเตอร์ ใครเป็นมั่ง ก็จะบอกเปิดคอมพิวเตอร์ตรงนี้ มือซ้าย มือขวา จะบอกให้หมด แล้วค่อยๆเรียน ศึกษา ตรวจสอบคนที่มาเลือกตั้งอย่างไร เขาสอนหมด”
แม้ปีนี้ สถานการณ์โควิด-19 จะทำให้เจริญคิส ตัดสินใจขอเว้นการทำหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง แต่เธอก็ยังคงสนใจการเมือง และไม่หยุดที่จะทำหน้าที่รณรงค์ให้ผู้คนโดยเฉพาะชาวไทยให้ออกไปมีส่วนร่วมและใช้สิทธิ์ลงคะแนนให้มากที่สุด
“ กรุณาเถอะค่ะ (ไปใช้สิทธ์) ปีนี้รู้สึกคนจะตื่นตัวมากขึ้น อยากแนะนำให้มากขึ้น เมื่อ 4 ปีที่แล้วยังพอโอเค แต่ก็ตื่นเต้น..เรามีความสามารถมีสมองคิด ศึกษา ใครทำอะไรไว้ให้เรา อะไรที่เรามีสิทธิ์ เราเลือกได้ เราก็ควรเลือก(ตั้ง)”
การระบาดของโควิด-19 ทำให้อาสาสมัครประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือ Poll worker ที่เป็นผู้สูงอายุในหลายรัฐตัดสินใจลดความเสี่ยงและไม่ออกไปทำหน้าที่เหมือนเช่นเคย ทำให้ต้องเปิดรับอาสาสมัครคนรุ่นหนุ่มสาวที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่าเข้าทำงานแทน
เพราะตอนนี้ ปีนี้เราก็รู้ไงส่วนใหญ่คนที่ทำงานโพลเวิร์กเกอร์ นี้ ก็จะอายุมากหน่อย ส่วนใหญ่เขาอาจจะมีโรคประจำตัวที่อยู่ก่อนแล้ว เขาอาจจะกลัว แล้วเราก็รู้ว่าเราเป็นคนอายุ 30 กว่า เราก็ช่วยได้เราไม่กลัวโควิด มากเท่าที่เขากลัว เราก็อยากเป็น โพลเวิร์กเกอร์ก็จะช่วยได้ ...ปณิธิ โตสุขศรี จนท.อาสาฯประจำหน่วยเลือกตั้ง นครคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ
ปณิธิ โตสุขศรี ชาวไทยในนครคลีฟแลน์ รัฐโอไฮโอ เป็นส่วนหนึ่งของผู้อาสาจะไปทำหน้าที่สำคัญนี้
“ตอนนี้เราก็สมัครเป็น โพลเวิร์กเกอร์ (Poll Worker-เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้ง) ด้วย เราจะได้ช่วย เพราะตอนนี้ ปีนี้เราก็รู้ไงส่วนใหญ่คนที่ทำงานโพลเวิร์กเกอร์ นี้ ก็จะอายุมากหน่อย ส่วนใหญ่เขาอาจจะมีโรคประจำตัวที่อยู่ก่อนแล้ว เขาอาจจะกลัว แล้วเราก็รู้ว่าเราเป็นคนอายุ 30 กว่า เราก็ช่วยได้เราไม่กลัวโควิด มากเท่าที่เขากลัว เราก็อยากเป็น โพลเวิร์กเกอร์ก็จะช่วยได้” ปณิธิ โตสุขศรี กล่าว
นอกจากจะอาสาตัวเองไปทำงานเพื่อส่วนรวมแล้ว เป้าหมายสำคัญของปณิธิ คือการรณรงค์ให้ผู้คนในเมืองที่เขาอาศัย ตื่นตัวและมีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มากที่สุด
“ถ้าเกิดนั่งเฉยๆ เราก็มีสิทธิ์แค่คนเดียว แต่ถ้าเราไปเป็นอาสาสมัครรับลงทะเบียนเลือกตั้ง อาสาเป็นโพลเวิร์กเกอร์ (เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้ง) แล้วก็บอกคนอื่นว่าเราทำแบบนี้ ให้เขารู้สึกว่าอยากทำด้วย ก็จะได้ไม่ใช่แค่เรา ก็จะได้อีก 5-6 คนเป็นโพลเวิร์กเกอร์ ได้อีก 5-6 คนไปอาสาทำลงทะเบียนเลือกตั้ง อีก ส่วนอีก 5-6 คนอื่นโน้น ก็จะได้อีก 5 คน ก็จะได้เพิ่มอีก 5 คน เราก็รู้สึกดีขึ้นว่าเราทำได้มากกว่าคะแนนเสียงของเราทำได้” เจ้าหน้าที่อาสาฯหน่วยเลือกตั้งเชื้อสายไทย ที่รัฐโอไฮโอ กล่าวกับ 'วีโอเอ ไทย'
การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเลือกตั้งในทุกระดับยังคงเป็นหน้าที่สำคัญของพลเมืองในสหรัฐฯ รวมไปถึงชาวเชื้อสายไทยในอเมริกาที่แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยแต่หากมีการรวมพลังจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งและกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองในทิศทางเดียวกันก็จะสามารถเพิ่มการต่อรองให้ชาวชุมชนไทยในอเมริกาได้มากขึ้น