ชาวไต้หวันจะเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ต้นปีหน้าจากคู่แข่งผู้หญิงสองคน

Backed by the ruling Nationalist Party members, Hung Hsiu-chu, a former teacher and current deputy legislative speaker, waves as she is nominated as the party's candidate in the January presidential election, July 19, 2015, in Taipei, Taiwan.

การมีผู้ชิงตำแหน่งที่เป็นผู้หญิงทั้งคู่ยิ่งทำให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในเดือน ม.ค ปีหน้าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

Your browser doesn’t support HTML5

ชาวไต้หวันจะได้เลือกประธานาธิบดีคนใหม่ต้นปีหน้า

ประเทศในเอเชียหลายชาติไม่ว่าจะเป็นอินเดีย เกาหลีใต้และประเทศอื่นๆ ต่างเคยมีผู้นำประเทศเป็นผู้หญิงกันมาแล้ว แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่ไต้หวันจะมีโอกาสเลือกผู้นำประเทศที่เป็นผู้หญิงบ้าง

Philip Yang โฆษกของทีมหาเสียงแก่ผู้สมัครจากพรรคจีนคณะชาติไต้หวันกล่าวว่า การมีผู้ชิงตำแหน่งที่เป็นผู้หญิงทั้งคู่ยิ่งทำให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในเดือนมกราคมปีหน้า ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ตัวแทนจากพรรคจีนคณะชาติ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลไต้หวันในขณะนี้ คือนางหง ชู จู้ อายุ 67 ปี เคยเป็นครูมาก่อน เลื่องชื่อในเรื่องของการตั้งคำถามที่แหลมคมและมีอารมณ์ขัน ส่วนคู่แข่งคือ นาง ไท้ ยิง เหวน อายุ 58 ปี เป็นนักกฏหมาย ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปีค.ศ. 2012 นางหงแพ้การเลือกตั้งด้วยคะแนนเพียง 6 เปอร์เซ็นต์

นักวิเคราะห์การเมืองชี้ว่า ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งชาวไต้หวันสามารถยอมรับผู้สมัครเพศหญิงได้ เพราะประชาธิปไตยของไต้หวันเติบโตเต็มที่ตั้งแต่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1980 และผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นไปได้รับการยอมรับว่าสามารถเป็นผู้นำสังคมได้ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่เป็นรากฐานของไต้หวัน

เมื่อประเด็นความเท่าเทียมทางเพศไม่เป็นปัญหาในไต้หวัน การถกเถียงเกี่ยวกับประธานาธิบดีจึงให้ความสำคัญในประเด็นความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับจีนมากกว่า จีนกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือไต้หวันที่ปกครองตนเองมานานแล้ว และเรียกร้องให้ไต้หวันกับจีนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่การสำรวจความคิดเห็นชี้ว่าชาวไต้หวันต้องการอิสรภาพในการปกครองตนเองอย่างที่เป็นอยู่นี้มากกว่า

ประธานาธิบดี หม่า ยิง เจียว แห่งไต้หวันเป็นผู้เปิดการเจรากับจีนครั้งสำคัญในปีค.ศ. 2008 นำมาซึ่งการตกลงทางเศรษฐกิจหลายอย่าง นางหง ชู จู้ หนุนให้มีการเจรจาทางการค้ากับจีนต่อไป โดยให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับในความเป็นจีนที่แตกต่างกันในด้านความคิด ส่วนทางด้านนางไท้ ยิง เหวน ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้านต้องการให้มีการเจรจากับจีนมากขึ้น แต่ไม่ต้องการเงื่อนไขว่าต้องเจรจากันบนพื้นฐานว่าต้องมีเพียงจีนเดียว ซึ่งนี่ทำให้ทางการจีนเกิดความกังวลใจ

คุณ Ross Feingold ที่ปรึกษาอาวุโสประจำในกรุงไทเป แก่ DC International Advisory แห่งสหรัฐฯ ชี้ว่า ผู้ลงคะแนนเสียงชาวไต้หวันจะพิจารณานโยบายเกี่ยวกับจีนของผู้สมัครทั้งสอง เช่นเดียวกับที่จะให้ความสำคัญกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ ผู้ลงชิงตำแหน่งทั้งสองคนอยู่ในตำแหน่งสาธารณะมาพอสมควร ทำให้คนไต้หวันมีข้อมูลเกี่ยวกับทั้งสองมาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นประวัติในอดีต จุดยืนต่อประเด็นต่างๆ ในปัจจุบันโดยไม่ต้องนำประเด็นเรื่องเพศมาเกี่ยวข้อง

ชาวไต้หวันจำนวนมากต้องการให้ไต้หวันสานสัมพันธ์กับจีนอย่างระมัดระวัง ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนหลายชิ้นชี้ว่า นางไท้ ยิง เหวน ได้เปรียบคู่แข่งเพราะประกาศตัวมาก่อนหน้าราวครึ่งปีแล้ว ผู้ชนะการเลือกตั้งจะขึ้นดำรงตำแหน่งแทนประธานาธิบดี หม่า ยิง เจียวในเดือนพฤษภาคมปีหน้า เมื่อเขาต้องลงจากตำแหน่งเพราะกฏหมายไม่อนุญาตให้ลงรับเลือกตั้งได้อีก