ไต้หวันยกระดับการเตรียมตัวทางทหารที่เกาะในทะเลจีนใต้

FILE - An aerial view shows of Itu Aba, which the Taiwanese call Taiping, in the South China Sea, Nov. 29, 2016.

นักวิเคราะห์กล่าวว่าไต้หวันกำลังยกระดับการฝึกทหารและเพิ่มกำลังอาวุธที่เกาะทางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นการเตรียมตัวหากว่าถูกจีนโจมตี จากข้อพิพาทในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว

รัฐมนตรีกลาโหมไต้หวัน ชิว เกาเชง กล่าวต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 17 มีนาคมว่า จีนมีศักยภาพในการโจมตี และเขาต้องการให้ฝ่ายไต้หวันเตรียมความพร้อม "ตลอดเวลา" บริเวณเกาะไท่ผิง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสเเปรทลีย์

บริเวณดังกล่าวซึ่งมีคนอาศัยอยู่ไม่มาก และอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวันไป 1,500 กิโลเมตร มีประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนทั้งหมด อีกห้าประเทศ คือ จีน เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน

Chiu Kuo-cheng, the new chief of Taiwan’s main intelligence agency National Security Bureau (NSB), attends his first press conference since taking office at NSB headquarters in Taipei

นักวิเคราะห์ ฟาบริสซิโอ โบสซาโต จากสถาบัน Ocean Policy Research Institute ของมูลนิธิ Sasakawa Peace Foundation ที่กรุงโตเกียวกล่าวว่า นี่คือสัญญาณที่ชัดเเจ้งว่าไต้หวันกำลังกังวลกับท่าทีของจีน และจับตาอย่างจริงจังต่อการเคลื่อนไหวเพื่อขยายอิทธิพลสู่เกาะดังกล่าว

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนสร้างความตื่นตระหนกต่อไต้หวันด้วยการส่งเครื่องบินทหารแทบทุกวันมาที่ชายขอบน่านฟ้าของไต้หวันที่เครื่องบินที่ผ่านมาต้องระบุที่มาของอากาศยาน

ในวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมใต้หวันพบว่ามีเครื่องบินมากถึง 20 ลำที่เข้ามาบริเวณดังกล่าว ขณะที่จีนเพิ่มศักยภาพในการรองรับปฏิบัติการการบินที่หมู่เกาะสแปรทลีย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ด้วยขนาดเพียงไม่ถึง 300 ไร่ของเกาะไท่ผิง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อิตู อะบา จีนมองว่าเกาะแห่งนี้ง่ายต่อการเข้าควบคุมมากกว่าเกาะไต้หวัน

เมื่อเดือนที่เเล้วรายงานของหน่วยงาน Council on Foreign Affairs ระบุว่าจีนสามารถกดดันกำลังทหารของไต้หวัน ด้วยการเเสดงพลังผ่านการรุกลำ้พื้นที่เกาะนอกชายฝั่งไต้หวัน ที่รัฐบาลไทเปอ้างกรรมสิทธิ์

ขณะเดียวกันประเทศคู่กรณีอื่นก็มีการยกระดับทางกลาโหมเช่นกัน โดยเวียดนามเพิ่มการติดตั้งจุดทางทหารถึงสิบแห่งที่หมู่เกาะสเเปรทลีย์ ตามข้อมูลของศูนย์ Center for Strategic and International Studies

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์กล่าวว่า เวียดนามมองพัฒนการของการเพิ่มศักยภาพทางกลาโหมของไต้หวันที่หมู่เกาะดังกล่าวอย่างระมัดระวัง แต่ยังไม่ถึงขั้นว่าเป็นภัยคุกคาม

FILE - A Taiwan Coast Guard ship, left, and cargo ship take part in a search-and-rescue exercise off of Taiping island in the South China Sea, Nov. 29, 2016.

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไต้หวันลงนามบันทึกช่วยจำเรื่องความร่วมมือด้านยามฝั่งกับสหรัฐฯ และน่าจะมีการตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อแบ่งปันข้อมูลและเสริมสร้างความร่วมมือ โดยไต้หวันมอบหมายให้หน่วยงานยามฝั่งดูเเลเขตเกาะไท่ผิง

ที่ผ่านมาสหรัฐฯขายอาวุธที่ทันสมัยต่อไต้หวันไปเเล้ว และอาจพิจารณาช่วยไต้หวันป้องกันตนเองหากว่าไต้หวันถูกโจมตี

ในทางการทูต สหรัฐฯยอมรับสถานะของจีน แต่ ขณะเดียวกันอเมริกาก็เป็นพันธมิตร "อย่างไม่เป็นทางการ" ที่เข้มเเข็งที่สุดของไต้หวัน และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและไต้หวันในปัจจุบันได้สร้างความไม่พอใจต่อรัฐบาลปักกิ่ง

แต่รัฐบาลปักกิ่งก็มีท่าทีที่ระมัดระวัง และกล่าวว่าไม่มีแผนที่จะโจมตีสิ่งปลูกสร้างของไต้หวันในพื้นที่ทับซ้อน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียงของจีนกล่าวว่าจีนต้องการให้เกิดการก้าวหน้าในความสัมพันธ์อย่างสันติกับไต้หวัน

อาจารย์ เชา เชนมิน คณะบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Chinese Culture University ที่กรุงไทเปกล่าวว่า จีนกำลังทำให้โลกเชื่อว่า รัฐบาลปักกิ่งและไทเป มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการต่อสู้กับอำนาจภายนอกที่มาจาก สหรัฐฯ เวียดนาม และฟิลิปปินส์

เขากล่าวว่าหากจีนต้องการโจมตีเกาะไท่ผิงจริง พื้นที่ดังกล่าวก็คง "ไม่เหลือหลอไปแล้ว"