ใครเเชร์ข่าวปลอมมากที่สุด? นักวิจัยชี้ผู้สูงอายุและฝ่ายขวาจัดมีแนวโน้มสูง

FILE - A sign is shown at Facebook headquarters in Menlo Park, Calif.

Your browser doesn’t support HTML5

Fake News

การศึกษาล่าสุดพบว่าผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป และบุคคลที่มีความคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่งมีแนวโน้มแชร์ข้อมูลที่บิดเบือนบนเฟสบุ๊กมากกว่าระดับปกติหลายเท่า ช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ค.ศ. 2016 หากเทียบกับผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น คนที่มีความคิดทางการเมืองสายกลาง และกลุ่มที่มีแนวคิดเสรีนิยมจัด

ข้อมูลดังกล่าวมาจากการศึกษาซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างใหญ่ครั้งแรก เรื่องการแชร์ "ข่าวปลอม" และได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science Advances เมื่อวันพุธ

นักวิจัยพบว่าจำนวนผู้ที่แชร์ข่าวปลอมหรือ fake news ช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อ 3 ปีก่อนมีไม่มาก คือคิดเป็นร้อยละ 8.5 เท่านั้น

แนวโน้มการแชร์ข้อมูลผิดๆเหล่านี้ แปรผันตามอายุและระดับความชื่นชอบแนวทางอนุรักษ์นิยม

ในการศึกษาครั้งนี้ โดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Princeton และ New York University ผู้เก็บข้อมูลสำรวจพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊กของ กลุ่มตัวอย่าง 2,711 คน โดยเกือบครึ่งหนึ่งอนุญาตให้อาจารย์ผู้ทำวิจัยดูข้อมูลที่พวกตนโพสต์ได้ทั้งหมดบนเฟสบุ๊ก

FILE - This Nov. 1, 2017, photo shows prints of some of the Facebook ads linked to a Russian effort to disrupt the American political process and stir up tensions around divisive social issues, released by members of the U.S. House Intelligence Committee, in Washington. According to a study published Jan. 9, 2019, in Science Advances, people over 65 and conservatives shared far more false information in 2016 on Facebook than others.

นักวิจัยใช้แหล่งข้อมูลปลอม ที่คัดมาแล้วในการทดลองนี้ ซึ่งผู้ทำการศึกษานับว่าคนที่ใช้เฟสบุ๊กในกลุ่มตัวอย่างแชร์ข่าวปลอมบ่อยมากน้อยเพียงใด

ผลการศึกษาชี้ว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีแนวโน้มแชร์ข่าวปลอมมากกว่าผู้ที่อายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปีถึง 7 เท่า และมากกว่าผู้มีอายุ 45 ถึง 64 ปี สองเท่า นอกจากนี้ยังมากกว่ากลุ่มอายุ 30 ถึง 44 ปีสามเท่า

อาจารย์ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยนี้ Joshua Tucker จาก New York University กล่าวว่าคำอธิบายที่ง่ายที่สุดน่าจะเกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ซึ่งผู้สูงอายุจำนวนมากขาดทักษะในเรื่องนี้

ขณะเดียวกันอาจารย์ Matthew Baum ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะและการสื่อสารที่มหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งไม่ได้มีส่วนทำวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า เรื่องการแชร์ข่าวปลอมน่าจะเกี่ยวกับความต้องการแสดงตัวตนทางการเมือง มากกว่าที่จะเกี่ยวกับการเชื่อหรือไม่เชื่อข้อเท็จจริงของเเต่ละบุคคล

นั่นอาจจะช่วยอธิบายว่าความพยายามแก้ข่าวเท็จ หรือนำความจริงมาเสนอไม่สามารถเปลี่ยนทัศนะคติของคนเหล่านี้ ตามความเห็นของอาจารย์จาก Harvard ผู้นี้

FILE - A user gets ready to launch Facebook on an iPhone, in North Andover, Mass., June 19, 2017. Facebook has made changes to fight false information, including de-emphasizing proven false stories in people's feeds so others are less likely to see them.

และเมื่อนักวิจัยดูที่ปัจจัยความเชื่อทางการเมือง การสำรวจพบว่า คนที่ระบุว่าตนมีความคิดอรุรักษ์นิยมมากมีแนวโน้วแชร์ข่าวปลอมบ่อยที่สุด หากเทียบกับอีกขั้วหนึ่ง ผู้ที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยมจัดแชร์ข่าวปลอมบ่อยกว่ากลุ่มเสรีนิยมจัด 6.8 เท่า และบ่อยกว่าผู้ที่มีความคิดสายกลาง 6.7 เท่า

อาจารย์ Andrew Guess จากมหาวิทยาลัย Princeton ซึ่งร่วมทำงานในโครงการวิจัยนี้กล่าวว่าผู้ที่มีความคิดเสรีนิยมแทบไม่แชร์ข้อมูลเท็จเลย

ด้านผู้ร่วมงานวิจัยอีกคนหนึ่ง อาจารย์ Jonathan Nagler แห่ง New York University กล่าวว่าเขาไม่เเปลกใจที่คนซึ่งเชื่อในแนวทางอนุรักษ์นิยมมักแชร์ข้อมูลเท็จในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2016 เพราะในช่วงนั้นข่าวปลอมจำนวนมากจะเชียร์โดนัลด์ ทรัมป์ และต่อต้านฮิลลารี คลินตัน

นอกจากนี้ อาจารย์ Baum จาก Harvard กล่าวกับสำนักข่าว Associated Press ว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมเเชร์ข่าวปลอมมากกว่า เพราะมีแนวโน้มที่จะเชื่อในเนื้อหาที่สุดโต่ง กว่าสายเสรีนิยม และยังน่าจะทำตามโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเป็นผู้ที่ "สนับสนุน แชร์และสร้างข่าวปลอมและข้อมูลเท็จอยู่เป็นประจำ"

ท้ายสุด อาจารย์ Deb Roy จากมหาวิทยาลัย MIT (Massachusetts Institute of Technology) กล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วคนอเมริกัน มีพฤติกรรมบริโภคข่าวสารที่เต็มไปด้วยการแบ่งฝ่าย โดยคนจะฟังแต่ข้อมูลที่ตรงกับใจและว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องจริง และถ้าข่าวไหนไม่ตรงกับทัศนะของตนก็จะเรียกข่าวนั้นว่าเป็นข่าวปลอม