ธุรกิจการบินกุมขมับ! หลังสายการบินโลว์คอสต์ในอาเซียนจ่อซึมยาว

Air Asia staff members stand on social distancing markings, as they wait to enter Netaji Subhas Chandra Bose International Airport (CCU), after the government allowed domestic flight services to resume, during an extended nationwide lockdown to slow the spread of the coronavirus.

Your browser doesn’t support HTML5

Business News


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สายการบินต้นทุนต่ำในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของบรรดาบริษัทผู้ผลิตและผู้ให้เช่าเครื่องบินต่าง ๆ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา กำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งอาจส่งผลให้สายการบินเหล่านั้นยกเลิกแผนเพิ่มจำนวนเครื่องบินหรือซื้อเครื่องบินชุดใหม่มาทดแทนเครื่องบินชุดเดิม

เวลานี้ สายการบิน AirAsia ของมาเลเซีย, VietJet ของเวียดนาม และ Lion Air ของอินโดนีเซีย ต่างประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุนและสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารลดลง

ปัจจุบัน สายการบินโลว์คอสต์ในอาเซียนมีจำนวนการสั่งซื้อเครื่องบินรวมกัน 938 ลำ และเช่าเครื่องบินรวมกันราว 476 ลำ ตามข้อมูลของ Aviation Week

ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ บริษัทโบอิ้งคาดการณ์ว่าสายการบินในอาเซียนจะมียอดสั่งซื้อเครื่องบินรวมกัน 4,500 ลำในช่วง 20 ปีข้างหน้า โดยเวียดนามนำมาเป็นอันดับหนึ่ง

แต่หลังจากเกิดการระบาดที่ส่งผลสะเทือนอย่างหนักต่อธุรกิจการบิน ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Consultancy IBA ประเมินว่า จะมีเครื่องบินล้นตลาดโลกราว 2,500 ลำในช่วง 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากสายการบินต่าง ๆ พากันยกเลิกยอดสั่งจองเครื่องบินของตน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ว่า สายการบินต้นทุนต่ำที่มีเที่ยวบินในประเทศมาก ยังคงอยู่ในสถานะที่ดีกว่าสายการบินที่พึ่งพาเที่ยวบินระหว่างประเทศ แม้จะได้รับการสนับสนุนน้อยกว่าจากรัฐบาล นอกจากนี้การที่มีโครงสร้างธุรกิจที่ใช้ต้นทุนต่ำกว่าก็ทำให้สายการบินเหล่านั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการฝ่าฟันวิกฤติการณ์ลักษณะนี้เช่นกัน