ย้อนดู 'สิ่งแวดล้อมดึกดำบรรพ์' เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม 'นอนไม่หลับ' ยุคปัจจุบัน

sleepless

Your browser doesn’t support HTML5

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ย้อนดูสิ่งแวดล้อมดึกดำบรรพ์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนอนไม่หลับยุคปัจจุบัน

ในอเมริกา มีคนเกือบ 40 ล้านคนที่มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง แต่การศึกษาชิ้นใหม่ชี้ถึงข้อมูลที่ย้อนไปถึงพฤติกรรมมนุษย์ในยุคก่อน

นักวิจัยจากประเทศแคนาดาศึกษาพฤติกรรมของชาวแฮดซา (Hadza) ประเทศแทนซาเนีย ที่มีความคล้ายกับของมนุษย์ดึกดำบรรพ์เกือบ 2 ล้านปีก่อน

David Samson ผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Toronto กล่าวว่าบริเวณที่ชาวแฮดซาอาศัยอยู่ เป็นบริเวณที่มีมลพิษทางแสงน้อยที่สุดในโลกเช่นเดียวกับคนสมัยก่อน

เขากล่าวว่า คนยุคปัจจุบันในโลกตะวันตกร้อยละ 99 ต้องเผชิญกับมลพิษทางแสง แต่ชาวแฮดซ่าแทบไม่เจอปัญหาแบบเดียวกัน

วิถีชีวิตของชาวแฮดซ่าทำให้คนเหล่านี้ต้องแสวงหาอาหารเพื่อการอยู่รอด เหมือนนักล่าอาหารเมื่อ 1 ล้าน 8 แสนปีก่อน นักวิจัยพบว่าชาวแฮดซ่าไม่มีรูปแบบการนอนหลับที่แน่นนอน คือนอนได้ทุกเวลา ไม่เฉพาะกลางคืน

นักวิจัยแปลกใจที่พบว่าชาวแฮดซ่าไม่มีรูปแบบการนอนที่แน่นอน ซึ่งเป็นสิ่งที่พบยากมากในมนุษย์

นั่นอาจเป็นไปได้ว่าในยุคก่อน คนต้องใช้ชีวิตคล้ายกับชาวแฮดซ่า ผู้คนต้องเรียนรู้ในการปกป้องตนเอง และให้คนในสังคมช่วยกันสอดส่องดูแลอันตราย

ในทางกลับกัน คนรุ่นใหม่ในสังคมปัจจุบันเข้านอนตอนดึก แต่คนอายุมากเข้านอนเร็ว นักวิจัยกล่าวว่าที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะว่ามนุษย์ปรับการนอนให้เข้ากับสถานการณ์ของตน และอาจไม่มีแบบแผนการนอนที่ตายตัวที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการนอนของทุกคนได้

ผู้ทำวิจัยกล่าวว่า การมองว่าพฤติกรรมการนอนที่เหมาะสม ที่เราเข้าใจกันอาจเป็นกรอบความคิดที่คลาดเคลื่อนที่มาจากแนวทางตะวันตก

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Kevin Enochs)