ผู้ลักลอบเดินทางเข้าประเทศผิดกฎหมาย (smuggled persons) กับเหยื่อของการค้ามนุษย์ (trafficked persons) ต่างกันอย่างไร?

Refugees from Bangladesh, who were rescued by the Myanmar navy, are seen at a Muslim religious school used as a temporary refugee camp, at the Aletankyaw village in the Maungdaw township, in Rakhine state May 23, 2015. The head of Rakhine state from which

กำลังมีการถกเถียงว่าผู้ใช้เรือเดินทางออกจากประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ขณะนี้เป็นผู้ลักลอบเข้าประเทศหรือเหยื่อการค้ามนุษย์?

Your browser doesn’t support HTML5

SE Asia Migrants

ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมามีผู้เดินทางทางเรือออกจากพม่าและบังคลาเทศถึงราว 160,000 คนแล้ว ซึ่งนาย Jeffrey Labovitz ตัวแทนในประเทศไทยของ IOM ยอมรับว่าในกลุ่มคนเหล่านี้มีไม่น้อยที่วางแผนการเดินทางล่วงหน้า และเตรียมหาเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้กับผู้ดำเนินการเพื่อนำพวกตนข้ามพรมแดน หรือเข้าไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยมักจะเป็นวิธีที่ผิดกฎหมาย

Migrants sit on their boat as they wait to be rescued by Acehnese fishermen on the sea off East Aceh, Indonesia, Wednesday, May 20, 2015. Hundreds of migrants stranded at sea for months were rescued and taken to Indonesia, officials said Wednesday, the la

คนกลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า smuggled persons หรือผู้ลักลอบเดินทางข้ามพรมแดนเข้าประเทศโดยผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามเมื่อคนเหล่านี้ออกเดินทางแล้วอาจมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผันผวน เช่นไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ตามสัญญาหรือเงินถูกขโมย และคนเหล่านี้อาจถูกทำทารุณต่างๆ และกลายเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ หรือ trafficked persons ได้

นาย Matthew Smith ผู้อำนวยการบริหารขององค์กรชื่อ Fortify Rights ชี้ว่ารัฐบาลของหลายประเทศลังเลใจที่จะยอมรับสถานะของคนเหล่านี้ว่าเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ เพราะจะทำให้ได้รับการปกป้องสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของประเทศเหล่านั้นโดยปริยาย