นักวิจัยพบดาวฤกษ์ไกลโพ้นแผ่มหาพายุสุริยะรุนแรงกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ

Solar Storm

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่าสังเกตุเห็นมหาพายุสุริยะที่เรียกว่า superflares แผ่ออกมาจากดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ไกลโพ้นจากโลกในระบบกาแลคซี่ทางช้างเผือก

Your browser doesn’t support HTML5

Science Superflares

ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่ามหาพายุสุริยะหรือ superflares ที่สังเกตุเห็นจากดาวฤกษ์ไกลโพ้นดวงนี้ มีความรุนแรงหลายพันเท่าตัวเมื่อเทียบกับพายุสุริยะที่เกิดขึ้นทั่วไป

พายุสุริยะเป็นอุบัติการณ์ที่ดาวฤกษ์ปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลออกมาเป็นระลอก

พายุสุริยะมีความแรงสามารถเดินทางออกไปไกลหลายล้านกิโลเมตรจากผิวหน้าของดวงอาทิตย์ มีผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์และอุปกรณ์การสื่อสารบนโลกมนุษย์และเกิดขึ้นมาหลายครั้งเเล้ว

ทีมนักวิจัยชี้ว่าพายุสุริยะโดยทั่วไปอาจปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับความแรงของระเบิดขนาด 100 ล้านเมกกะตัน แต่มหาพายุสุริยะหรือ superflares จากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลโพ้นในระบบกาแลคซี่ทางช้างเผือกที่ทีมงานสังเกตุพบดวงนี้ อาจจะสามารถปลดปล่อยพลังงานสุริยะปริมาณมหาศาลเทียบได้กับระเบิดที่มีความแรงหนึ่งพันล้านเมกกะตันทีเดียว

คุณ Chloe Pugh ผู้เชี่ยวชาญแห่ง Center for Fusion, Space and Astrophysics ที่มหาวิทยาลัย Warwick ชี้ว่า หากเกิดมหาพายุสุริยะขึ้นในระบบสุริยจักรวาลที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่ง ผลกระทบต่อโลกมนุษย์จะรุนแรงมากหรืออาจจะเลวร้ายกว่านั้น

คุณ Pugh หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าโชคดีที่อุบัติการณ์ทำนองนี้มีความเป็นไปได้น้อยมากเมื่อดูจากผลการสังเกตุการณ์เท่าที่ผ่านมาถึงการเกิดพายุสุริยะบนดวงอาทิตย์ที่โลกเราโคจรรอบๆ

ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษคนนี้กล่าวว่า จากการสังเกตุกิจกรรมของดาวฤกษ์หลายดวงที่อยู่ไกลโพ้นที่มีลักษณะเหมือนกับดวงอาทิตย์ พบว่าดาวฤกษ์เหล่านี้ได้ปลดปล่อยพายุสุริยะที่มีความแรงมหาศาลออกมาเรียกว่า superflares และเพื่อหาทางศึกษาความเป็นไปได้ว่าดวงอาทิตย์ที่โลกเราโคจรอยู่รอบๆ นี้จะสามารถปลดปล่อยมหาสุริยะออกมาได้หรือไม่ ทีมงานจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อนว่า สาเหตุของการเกิดพายุสุริยะจากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลโพ้นกับพายุสุริยะบนดวงอาทิตย์เป็นกระบวนการทางกายภาพเดียวกันหรือไม่

solar flare

ทีมงานวิจัยในอังกฤษทีมนี้ได้ใช้ข้อมูลที่เก็บบันทึกได้จากดาวเทียมสำรวจอวกาศ Kepler ขององค์การสำรวจอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซ่า และจากข้อมูลนี้ ทีมงานสามารถระบุได้ว่าดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ไกลโพ้นในกาเเลคซี่ทางช้างเผือก ได้ปลดปล่อยมหาพายุสุริยะออกมาโดยเป็นดาวฤกษ์ในระบบดาวฤกษ์คู่ที่เรียกว่า KIC9655129

และ solarfares ที่มันปล่อยออกมามีลักษณะเหมือนกันกับพายุสุริยะที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ของโลกเรา

คุณ Anne-Marie Broomhall ผู้ร่วมร่างรายงานผลการศึกษานี้กล่าวว่า อุบัติการณ์ทั้งสองอย่างมีกระบวนการทางกายภาพแบบเดียวกัน ซึ่งข้อมูลที่การวิจัยนี้ค้นพบช่วยสนับสนุนทฤษฎีที่ว่า มีความเป็นไปได้ที่ว่าดวงอาทิตย์ที่โลกเราโคจรรอบๆ นี้มีศักยภาพในการปลดปล่อยมหาพายุสุริยะได้เช่นกัน

คุณ Broomhall กล่าวว่า หากดวงอาทิตย์ของเราปลดปล่อยมหาพายุสุริยะออกมา จะเป็นมหันตภัยร้ายแรงต่อชีวิตบนโลกมนุษย์ ระบบการสื่อสารด้วยระบบจีพีเอสและคลื่นวิทยุจะถูกรบกวนรุนแรง และอาจจะทำให้ระบบจัดส่งกระแสไฟฟ้าล้มเหลวในระดับกว้างมาก

แต่ผู้เชี่ยวชาญคนนี้กล่าวว่าโชคดีที่เหตุการณ์มหาพายุสุริยะบนดวงอาทิตย์ที่โลกเราโคจรรอบๆ นี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก โดยสรุปได้จากข้อมูลของการสังเกตุการณ์เท่าที่ผ่านมาถึงการแผ่พายุสุริยะจากดวงอาทิตย์ของโลกเรานี้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

The sun emitted a mid-level solar flare, an M7.9-class, peaking at 4:16 a.m. EDT on June 25, 2015. NASA’s Solar Dynamics Observatory, which watches the sun constantly, captured an image of the event. (Image Credit: NASA/SDO)