ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไขปริศนาทำไมปรากฏการณ์พายุสุริยะจึงอ่อนกำลังกว่าเดิม?


Solar Storm
Solar Storm

ปรากฏการณ์ลมสุริยะที่อ่อนแรงกว่าเดิมสร้างความสงสัยแก่นักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ

พายุสุริยะเกิดจากภาวะจุดดับหรือจุดมืดบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นภาวะที่จุดใดจุดหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่ปั่นป่วนสูงทำให้ความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบจึงดูเป็นจุดดำหรือจุดมืด

ภาวะจุดมืดบนดวงอาทิตย์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงหรือวงรอบละ 11 ปี เมื่อเกิดปรากฏการณ์นี้บนดวงอาทิตย์จะมีพายุสุริยะตามมา คนบนโลกจะมองเห็นแสงสีส้มพวยพุ่งบนขอบฟ้าใน 8 นาทีหลังจากนั้นเพราะนั่นเป็นระยะเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางจากดวงอาทิตย์มายังโลก แต่รังสีที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์จะใช้เวลา 20-30 นาทีกว่าจะเดินทางมาถึงโลก และเป็นอันตรายต่อคนเรา

ดังนั้นหากเกิดพายุสุริยะที่มีความรุนแรง นักสำรวจอวกาศที่ประจำบนสถานีอวกาศนานาชาติจะได้รับคำแนะนำให้ย้ายเข้าไปอยู่ในจุดที่ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษภายในตัวสถานีอวกาศ

This image provided by NASA, shows an extreme ultra-violet wavelength image of solar flare captured about 1:45 p.m. EDT, Sept. 10, 2014.
This image provided by NASA, shows an extreme ultra-violet wavelength image of solar flare captured about 1:45 p.m. EDT, Sept. 10, 2014.

หนึ่งถึงสองวันหลังเกิดการระเบิดของพายุสุริยะ ดวงอาทิตย์จะพ่นสสารออกมาในปริมาณมาก คุณ อเล็กซ์ ยัง ผู้เชี่ยวชาญแห่งองค์การสำรวจอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซ่ากล่าวว่า ในช่วงนี้ดวงอาทิตย์จะปล่อยสสารและอนุภาคออกมาในปริมาณหลายพันล้านตัน ซึ่งเดินทางด้วยความเร็วหลายล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งถือว่าค่อนข้างช้า

หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯหลายแห่ง รวมทั้งกองทัพเรือสหรัฐฯ เฝ้าศึกษาสภาวะอากาศในห้วงอวกาศตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน องค์การนาซ่าต้องติดตามดูสภาวะอากาศในอวกาศเพื่อปกป้องนักอวกาศของตนและอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ที่มีความละเอียดอ่อนบนยานอวกาศและเพื่อหาคำตอบแก่คำถามมากมายเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะคำถามที่ว่าทำไมจึงเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์อย่างน้อยทุกรอบ 11 ปี โดยเริ่มจากจำนวนน้อยไปมาก

คุณอเล็กซ์ ยัง แห่งนาซ่ากล่าวว่า ในบางครั้งความรุนแรงของพายุสุริยะยังเพิ่มสูงขึ้นและบางครั้งก็ลดน้อยลง เขากล่าวว่าพายุสุริยะที่กำลังเกิดขึ้นในรอบปัจจุบันมีความรุนแรงน้อยกว่ารอบที่ผ่านมาอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีคำถามอีกว่าทำไมชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์จึงร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์

คุณอเล็กซ์ ยัง แห่งนาซ่ากล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษาดวงอาทิตย์อย่างละเอียดถี่ถ้วนมานาน 30-40 ปีแล้ว และจะยังศึกษาต่อไป เพราะระยะเวลาศึกษาที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นของชีวิตที่ยืนยาวของดวงอาทิตย์ ที่มาถึงขณะนี้มีอายุแล้วราว 4 พันล้านปี

รายงานโดย George Putic เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน

พายุสุริยะลูกใหญ่อาจกำลังมุ่งหน้ามายังโลก
please wait

No media source currently available

0:00 0:00:36 0:00

XS
SM
MD
LG