"ตัวตลกไร้พรมแดน" โครงการสร้างเสียงหัวเราะให้เด็กตามค่ายผู้อพยพ

In this June 6, 2014 photo, Lebanese clown Sabine Choucair, a member of "Clowns Without Borders," performs for children at a Syrian refugee camp in the eastern town of Chtoura, in Bekaa valley, Lebanon.

Your browser doesn’t support HTML5

เด็กอพยพโรฮิงจะหรรษากับการแสดงตัวตลก

เด็กพลัดถิ่นชาวโรฮิงจะพากันหัวเราะขณะชมการแสดงตัวตลกกลุ่มหนึ่ง ตัวตลกที่ชื่อ “บันนาน่า” ม้วนตัวไปมาบนพื้น ตีลังกา ร้องเพลงเเละตีฉาบเป็นเสียงเพลง

การเเสดงตัวตลกที่ค่ายผู้อพยพ Cox's Bazar ในบังคลาเทศนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ คุชชิ คุชชิ (Project Kushi Kushi) หรือ "Happy Happy" ในภาษาอังกฤษ และเป็นผลงานของหน่วยงาน "ตัวตลกไร้พรมแดน แห่งอังกฤษ" (Clowns Without Borders UK) ที่เดินทางไปทั่วโลกเพื่อสร้างความบันเทิงแก่ผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากการสู้รบและการพลัดถิ่น

คุณซาแมนธา โฮล์ดสเวิร์ธ (Samantha Holdsworth) ผู้ก่อตั้ง Clowns Without Borders UK หรือ ตัวตลกไร้พรมเเดนแห่งอังกฤษ กล่าวกับวีโอเอว่า ทีมงานของเธอหวังว่าการแสดงตัวตลกจะช่วยทุเลาความเครียดทางจิตใจของเด็กๆ และพ่อเเม่ลงได้

เธอกล่าวว่า เธอเป็นเเค่ตัวตลก แต่เธอรู้ดีว่าเสียงหัวเราะมีผลดีต่อเด็กๆ ที่ค่ายผู้อพยพ เธอเข้าใจดีว่าการเเสดงตัวตลกไม่ทำให้วิกฤติหมดไป ไม่ทำให้สงครามหรือการสู้รบที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจุดทั่วโลกยุติ แต่เธอต้องการสร้างเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆ ในค่ายผู้อพยพ

การแสดงตัวตลกนี้จัดที่ค่าย Kutupalong ซึ่งเป็นค่ายผู้อพยพที่ใหญ่เเละแออัดที่สุดในโลก โดยมีผู้อพยพอาศัยอยู่ราว 1 ล้่านคน ในพื้นที่เพียงราว 13 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น

Clowns Without Borders UK founder Samantha Holdsworth told VOA her team hopes performances provide psychosocial relief not only for the kids but also their parents. (E. Morgan/CWB)



ชาวโรฮิงจะเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมจากประเทศเมียนมาที่เข้ามาพักพิงในค่ายผู้อพยพเเห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของบังคลาเทศ หลังจากหลบหนีการปราบปรามของกองทัพเมียนมาและกลุ่มติดอาวุธชาวพุทธในรัฐยะไข่

บรรดาเจ้าหน้าที่ในบังคลาเทศรายงานว่า ราว 55 เปอร์เซ็นต์ของ
ผู้อพยพชาวโรฮิงจะที่อาศัยในค่ายนี้เป็นเด็กเล็ก เเละเด็กจำนวนมากต้องการความช่วยเหลือ เพราะได้รับผลกระทบทางจิตใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่บอกว่าปัญหานี้อยู่ในระดับที่รุนแรงมากเกินความสามารถของพวกเขา เเละจำเป็นต้องพึ่งความร่วมมือจากทั่วโลกในการแก้ปัญหานี้

นายกรัฐมนตรีหญิงของบังคลาเทศ นาง Sheikh Hasina กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ที่สำนักงานใหญ่ชองสหประชาชาติว่า บังคลาเทศได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อเด็กเเห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) ในการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ 1,106 เเห่ง เพื่อสอนหนังสือเเก่เด็กๆ ในค่ายผู้อพยพ

เธอกล่าวว่า ต้องการแรงสนับสนุนในระดับนานาชาติเนื่องจากศูนย์การเรียนรู้เหล่านี้ไม่สามารถให้การศึกษานอกระบบ การบริการทางจิตวิทยาและสังคม ตลอดจนการสอนความสามารถพื้นฐานทางชีวิตเเก่เด็กผู้อพยพชาวโรฮิงจะ 136,000 คน

ยูนิเซฟชี้ว่าได้ช่วยเหลือรัฐบาลบังคลาเทศในการฉีดวัคซีนแก่เด็กและผู้ใหญ่ชาวโรฮิงจะ 900,000 คนเพื่อป้องกันอหิวาตกโรค เเละได้ตรวจร่างกายเด็กถึงเกือบ 263,000 คนเพื่อดูว่าขาดอาหารหรือไม่

สำหรับสมาชิกของตัวตลกไร้พรมเเดนแห่งอังกฤษ เสียงหัวเราะเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเด็กอพอพชาวโรฮิงจะที่ยังเจ็บปวดจากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวเเละดินแดนบ้านเกิด

โครงการคุชชิ คุชชินี้ (Project Kushi Kush) เริ่มต้นขึ้ืนเมื่อไม่นานมานี้และจัดแสดงนาน 5 วัน ได้สร้างความบันเทิงแก่ผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชาวโรฮิงจะมากกว่า 2,000 คน ช่วยให้เด็กๆ สามารถเข้าใจการแสดงเพราะไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสื่อกลาง

คุณโฮล์ดสเวิร์ธ กล่าวว่า การแสดงได้เน้นการมีส่วนร่วมของเด็กๆ โดยเชื้อเชิญเด็กๆ ให้ออกโรงเป็นตัวเอกของเรื่อง เธอกล่าวว่า เด็กพลัดถิ่นทุกคนจะได้มีโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งในฉากการเเสดงตัวตลกเพื่อสร้างความสุขสนาน

เพราะเสียงหัวเราะเป็นยาวิเศษที่ช่วยลดความเศร้าลงได้ เเม้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม ก็ถือว่าคุ้มค่า



(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)