ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ยูเอ็นเสนอตั้งคณะสอบกองทัพเมียนมา “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”


Rohingya refugees take part in a protest at the Kutupalong refugee camp to mark the one-year anniversary of their exodus from Myanmar, in Cox's Bazar, Bangladesh, Aug. 25, 2018.
Rohingya refugees take part in a protest at the Kutupalong refugee camp to mark the one-year anniversary of their exodus from Myanmar, in Cox's Bazar, Bangladesh, Aug. 25, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:23 0:00

หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN เตรียมเสนอให้เปิดการสอบสวนนายทหารระดับสูงของรัฐบาลเมียนมา และเรียกร้องให้มีการดำเนินคดี “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” จากประเด็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ กับชาวมุสลิมโรฮิงจะทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ และการก่ออาชญากรรมในรัฐคะฉิ่นและรัฐฉาน

ทีมสืบสวนสอบสวนอิสระเพื่อหาข้อเท็จจริงของหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN นำเสนอรายงานความยาว 400 หน้า ว่าด้วยการกระทำอันชั่วร้ายและการก่อกรรมทำเข็ญ ที่ทาง UN ระบุว่าเป็นคำสั่งของกองทัพในการจัดการกับชนกลุ่มน้อยในเมียนมา

ในรายงานฉบับดังกล่าว ได้กล่าวหาผู้นำระดับสูงของกองทัพเมียนมา 6 นาย ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมที่สร้างความรุนแรงมากที่สุดภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ

เจ้าหน้าที่ 3 คนจากคณะทำงานอิสระของ UN ระบุว่า การก่ออาชญากรรมเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเมียนมา ทำให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ของผู้ลี้ภัยมุสลิมโรฮิงจะมากกว่า 700,000 คน ไปยังบังคลาเทศเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผู้นำระดับสูงของกองทัพเมียนมาได้เตรียมการเรื่องนี้มานานหลายปี

Rohingya refugee women arrange a cradle for child in their makeshift tent in the Balukhali refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Aug. 23, 2018.
Rohingya refugee women arrange a cradle for child in their makeshift tent in the Balukhali refugee camp in Cox's Bazar, Bangladesh, Aug. 23, 2018.

นาย Christopher Sidoti หนึ่งในทีมสืบสวนอิสระของ UN ระบุว่า คณะทำงานกำลังรวบรวมหลักฐานการก่ออาชญากรรมเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และเรียกร้องให้มีการสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้นำระดับสูงของกองทัพเมียนมาทั้ง 6 นายที่ถูกกล่าวถึงโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ

ในรายงานของ UN ได้กล่าวหารัฐบาลพลเรือนของเมียนมาว่ามีอำนาจเพียงน้อยนิดในการควบคุมกองทัพและเพิกเฉยต่อการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อน รวมทั้งวิพากษ์ตำหนิบทบาทของนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ซึ่งเคยเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ว่าไม่ใช้บทบาทการเป็นผู้นำของตัวเองในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงในรัฐยะไข่

ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธที่จะให้คณะสืบสวนสอบสวนของ UN เข้าถึงและลงพื้นที่ในเมียนมา ทาง UN จึงทำได้แค่รวบรวมข้อมูลจากผู้ประสบเหตุและพยาน 875 คน การใช้ภาพถ่ายทางดาวเทียม เอกสารข้อมูล รูปถ่าย และคลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ในเมียนมา

ทีมสืบสวนได้ส่งรายงานฉบับนี้ให้กับรัฐบาลเมียนมาก่อนการเปิดเผยรายงานต่อสาธารณชน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาลเมียนมาแต่อย่างใด

XS
SM
MD
LG