ปลาหมอสีอาจเป็นกุญแจไขความลับวิธีสร้างฟันชุดใหม่ให้งอกแทนฟันที่หลุดร่วงไป

Lake Malawi cichlids, popular tropical fish, can regenerate lost teeth, making the species an excellent subject for understanding the mechanism for tooth replacement. (Courtesy of Rob Felt, Georgia Tech)

30% ของผู้คนทั่วโลกสูญเสียฟันทั้งหมดในวัย 65 ปี แต่ฟันของปลาบางชนิดสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้อยู่เรื่อยๆตลอดอายุของมัน

Your browser doesn’t support HTML5

กุญแจไขความลับวิธีสร้างฟันชุดใหม่ให้งอกแทนฟันที่หลุดร่วงไป

ปลาซิคลิดส์ หรือปลาหมอสี ซึ่งเป็นปลาเขตร้อนสีสันสวยงาม คือหนึ่งในสายพันธุ์ปลาที่มีฟันงอกขึ้นมาใหม่ได้เรื่อยๆตลอดช่วงอายุของพวกมัน

อาจารย์ Todd Steelman แห่งภาควิชาชีววิทยา แห่งสถาบันเทคโนโลยีรัฐจอร์เจีย หรือ Georgia Tech นำปลาหมอสีจากทะเลสาบมาลาวี มาศึกษาถึงคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว และพบว่าปลาหมอสีและปลาอีกหลายพันธุ์มีฟันมีสามารถงอกขึ้นมาใหม่ทั้งปากได้ในทุกๆ 50 วัน

ในรายงานการศึกษาชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of National Academy of Sciences อาจารย์ Todd Steelman และคณะ ได้ศึกษาเนื้อเยื่อของเซลล์ตัวอ่อนปลาหมอสี ก่อนที่จะมีการพัฒนาเป็นฟันหรือตุ่มรับรส และพบว่ามีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจ ระหว่างเซลล์ของฟันกับเซลล์ของตุ่มรับรส ในช่วงแรกๆ ของชีวิต

นักวิจัยชุดนี้พบว่าการถ่ายทอดพันธุกรรมบางอย่างของปลาหมอสี คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เซลล์ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นฟันหรือเป็นตุ่มรับรส โดยระบุว่าฟันและตุ่มรับรสของปลาชนิดนี้เกิดมาจากเนื้อเยื่อแบบเดียวกัน ซึ่งอยู่ในกรามของปลาที่ยังเป็นตัวอ่อน ก่อนที่จะพัฒนาแตกต่างกันไปเมื่อเติบโตขึ้น

Scientists at Georgia Tech and Kings College, London studied 7-day-old embryonic fish to determine the pathways that differentiate teeth or taste buds. (Courtesy: Rob Felt, Georgia Tech)

นักวิจัยใช้วิธีระบุตำแหน่งและแทรกแซงการเติบโตของเนื้อเยื้อดังกล่าวของปลาหมอสี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาไปเป็นฟันแทนตุ่มรับรสตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน

อาจารย์ Todd Steelman ชี้ว่าปลาไม่ใช่สัตว์สายพันธุ์เดียวที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ว่านี้ เพราะในการทดลองที่จัดทำโดยผู้ร่วมโครงการที่มหาวิทยาลัย Kings College ในกรุงลอนดอน แสดงให้เห็นว่าหนูทดลองก็มีพันธุกรรม ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาเซลล์ตัวอ่อนไปเป็นฟันหรือตุ่มรับรสเช่นกัน

คณะนักวิจัยจาก Georgia Tech เชื่อว่า การศึกษาทั้งที่ทำกับปลาหมอสีและหนูทดลอง ถือเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า เนื้อเยื่อบางอย่างของมนุษย์ก็อาจสามารถนำไปพัฒนาเป็นฟันเพื่อทดแทนส่วนที่หลุดร่วงไปได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามการศึกษาชิ้นนี้ยังเป็นแค่เพียงช่วงเริ่มต้น ซึ่งยังต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามมาอีกมากมาย และคงไม่ใช่ในเร็ววันนี้ที่เราจะสามารถสร้างฟันชุดใหม่ให้งอกขึ้นมาแทนฟันชุดเดิมที่หายไป


(ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียงรายงานจากผู้สื่อข่าว Rosanne Skirble )