ไขปมความขัดแย้งทะเลจีนใต้ "จีน - ฟิลิปปินส์" ก่อนคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศ

Filipino students hold replicas of Chinese maritime surveillance ships as they shout anti-Chinese slogans during a rally near Malacanang Palace in Manila on March 3, 2016, to denounce reported Chinese vessels dropping anchor near a South China Sea atoll a

คาดกันว่า ศาลประจำอนุญาโตตุลาการที่กรุงเฮก จะมีคำตัดสินเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องทะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์กับจีนลงมาในเดือนมิถุนายนนี้

Your browser doesn’t support HTML5

Phi China

จีนกล่าวอ้างสิทธิ์อธิปไตยเหนือบริเวณ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตรของทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด ซึ่งทับซ้อนกับการอ้างสิทธิ์บางส่วนในทะเลแห่งเดียวกันนี้ของฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม และไต้หวัน บริเวณที่จีนกล่าวอ้างสิทธิ์ ซึ่งเรียกว่าบริเวณ “nine-dashed line” นั้น ทางการจีนกล่าวว่าอาศัยแผนที่โบราณเป็นพื้นฐาน

ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้บางส่วนนี้เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว แต่สภาพการณ์เลวลงในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมื่อจีนเคลื่อนไหวแสดงอำนาจเหนือบริเวณดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด

ในเดือนมกราคม 2013 ฟิลิปปินส์ยื่นคำร้องต่อศาลประจำอนุญาโตตุลาการ คัดค้านการอ้างสิทธิ์ของจีน และกล่าวหาว่าการดำเนินการเชิงรุกต่างๆ ของจีนในทะเลจีนใต้ ขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ปี ค.ศ. 1982 ซึ่งทั้งจีนและฟิลิปปินส์ได้ให้สัตยาบันไว้

จีนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกระบวนการที่ศาล โดยให้เหตุผลว่า ตนไม่มีพันธะผูกพันที่จะต้องทำเช่นนั้นตามอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ รวมทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศ ซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลนี้

ในขณะเดียวกัน จีนได้ถมทะเลขยายพื้นที่ของบริเวณหมู่เกาะที่มีความขัดแย้ง รวมทั้งก่อสร้างอาคารสถานที่และสนามบินทางการทหารขึ้นด้วย

ฟิลิปปินส์ระบุข้อกล่าวหาจีนไว้ 15 ข้อด้วยกัน ที่สำคัญที่สุดคือข้อที่สอง ซึ่งคัดค้านเส้น “nine-dashed line” ว่าขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

A map showing differences in China's maritime claims in the South China Sea, based on maps created by China in 1947 and 2009.

​ศาลประจำอนุญาโตตุลาการยังไม่ได้ตัดสินลงมาว่ามีอำนาจจะพิจารณาข้อสองนี้หรือไม่ แต่ประกาศไว้ปลายปีที่แล้วว่า จะพิจารณาข้ออื่นๆ ที่สำคัญรวม 7 ข้อด้วยกัน ซึ่งรวมทั้งคำร้องคัดค้านการดำเนินการต่างๆ ของจีนในบริเวณที่มีความขัดแย้ง และคาดกันด้วยว่า ศาลจะให้คำนิยามจัดประเภทที่ดินในทะเลแห่งนี้ว่า อะไรคือโขดหิน เกาะ หรือที่ดินที่ผุดขึ้นเมื่อน้ำลด ซึ่งจะช่วยในการตัดสินว่าใครเป็นเจ้าของพื้นที่ส่วนไหนบ้าง

ประเด็นที่สำคัญในเรื่องนี้ คือคำตัดสินของศาลจะจะมีพันธะผูกพันอย่างไรหรือไม่ คำตอบก็คือ มีความผูกพันในทางเทคนิค แต่ไม่มีทางจะบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสินหรือมาตรการลงโทษ ผลกระทบอย่างมากที่สุด คือการสร้างความกดดันทางการทูต และเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะเหนือจีนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะอยากจะสร้างอำนาจในภูมิภาคนี้

แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่า คำตัดสินไม่เห็นด้วยกับการกระทำของจีน จะกลายเป็นหลักกฎหมายที่นำคำตัดสินนี้ไปเป็นบรรทัดฐานส่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ และยังอาจจูงใจให้ประเทศอื่นๆ ที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกับจีน คิดดำเนินการทางกฎหมายในลักษณะเดียวกันได้ด้วย

จีนกล่าวไว้ว่า ต้องการแก้ปัญหานี้โดยการเจรจาทวิภาคี แต่เท่าที่ปรากฏจีนไม่ได้กำหนดการเจรจากับใครไว้เลย แต่มุ่งมั่นกับการถมทะเลสร้างเกาะในบริเวณที่มีความขัดแย้ง

ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ซึ่งเพิ่งชนะการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์เมื่อไม่นานมานี้ และกำลังรอการเข้ารับตำแหน่ง กล่าวไว้ว่าพร้อมจะเจรจากับจีน ถ้าทำความตกลงกันไม่ได้ภายในสองปีข้างหน้า แต่ก็กล่าวไว้ด้วยว่า บริเวณหมู่เกาะที่มีความขัดแย้งกันนั้น เป็นของฟิลิปปินส์ ไม่ใช่ของจีน

การที่ทะเลจีนใต้มีหลายประเทศเข้าไปอ้างสิทธิ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเรือสินค้าเดินทางผ่านที่คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ในแต่ละปี เป็นแหล่งการประมงที่สำคัญ และคาดกันว่า เป็นแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องชาตินิยมของประเทศเหล่านี้ด้วย