ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ฟิลิปปินส์เร่งเร้าให้คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศตัดสินคำร้องเรื่องทะเลจีนใต้


Filipino student activists hold mock Chinese ships to protest recent island-building and alleged militarization by China off the disputed Spratlys group of islands in the South China Sea during a rally near the Malacanang presidential palace in Manila, Ph
Filipino student activists hold mock Chinese ships to protest recent island-building and alleged militarization by China off the disputed Spratlys group of islands in the South China Sea during a rally near the Malacanang presidential palace in Manila, Ph

แต่จีนยืนยันไม่ยอมรับหรือปฏิบัติตามคำตัดสินของของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:05 0:00
Direct link

เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์แสดงความหวังว่า คำร้องของฟิลิปปินส์ต่อคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่กรุงเฮก เกี่ยวกับข้อพิพาทกับจีนในประเด็นพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ จะได้รับการตัดสินชี้ขาดภายในเดือน เม.ย หรือ พ.ค นี้

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ Charles Jose กล่าวในวันพฤหัสบดีว่า ฟิลิปปินส์กำหนดเงื่อนเวลาเกี่ยวกับการตัดสินในข้อพิพาทกับจีนในประเด็นพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ โดยอ้างอิงจากวันที่ยื่นคำร้องต่อคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่กรุงเฮก

และแม้จีนประกาศหนักแน่นว่าไม่เข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาเรื่องนี้ แต่นาย Jose ยืนยันว่าฟิลิปปินส์จะยึดตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร โฆษกกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์กล่าวว่า ฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆ ขอให้จีนเคารพในคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศนี้เช่นกัน

เมื่อเดือน ม.ค. ปี ค.ศ. 2013 ฟิลิปปินส์ได้ยื่นคำร้องต่อคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ให้พิจารณาว่าการที่จีนกล่าวอ้างสิทธิครอบครองพื้นที่ทั้งหมดในทะเลจีนใต้ โดยอาศัยแผนที่โบราณที่เรียกว่าแผนที่เส้นประ 9 เส้นนั้น ถูกต้องหรือไม่

นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังขอให้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า กลุ่มหินบางกลุ่มที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาด 370 กิโลเมตรของฟิลิปปินส์นั้น เรียกว่าเป็นเกาะหรือไม่

จีนประกาศในเวลาต่อมาว่าจะไม่เข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาคำร้องของฟิลิปปินส์ และย้ำว่าจะไม่ยอมรับหรือปฏิบัติตามคำตัดสินของของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไม่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศจีน Wang Yi นำประเด็นนี้ขึ้นมาพูดระหว่างการปราศรัยที่ Center for Strategic and International Studies ในกรุงวอชิงตัน โดยบอกว่าฟิลิปปินส์ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ เมื่อไม่ยอมเจรจาแบบตัวต่อตัวกับจีนเพื่อหาทางจัดการข้อพิพาทเรื่องนี้ แต่กลับยื่นคำร้องต่อคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแทน

อาจารย์ Jay Batongbacal แห่งสถาบันศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ University of Philippines กล่าวว่าคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการน่าจะเป็นประโยชน์ต่อฟิลิปปินส์มากกว่าจีน และอาจมีการระบุด้วยว่าแผนที่เส้นประ 9 เส้นที่จีนใช้กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์นั้น ไม่ถูกต้อง

อาจารย์ Batongbacal ระบุว่าหากคำตัดสินออกมาเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่าจีนต้องพยายามหาเหตุผลหรือหลักฐานอื่นๆเท่าที่จะทำได้ เพื่อมาใช้สนับสนุนคำกล่าวอ้างของตน ซึ่งอาจรวมถึงการกระทำที่ขัดกับคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการด้วย แต่ก็จะเป็นเรื่องยากที่จีนจะโน้มน้าวให้ประเทศอื่นเห็นด้วยกับการกระทำของจีน

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างเกาะเทียมขึ้น 7 แห่งบนกลุ่มหินในทะเลจีนใต้ และล่าสุดจีนได้ตั้งฐานยิงจรวดและเรดาห์บนเกาะ Woody ซึ่งก่อความกังวลให้กับหลายประเทศที่อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เหล่านั้น

Satellite imagery analysis by geopolitical intelligence firm Stratfor shows overall land, building and military expansion by China on Woody Island in the South China Sea. (Courtesy of Stratfor)
Satellite imagery analysis by geopolitical intelligence firm Stratfor shows overall land, building and military expansion by China on Woody Island in the South China Sea. (Courtesy of Stratfor)

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ Batongbacal เชื่อว่าคณะอนุญาโตตุลาการคงจะไม่มีคำสั่งให้จีนต้องรื้อถอนเกาะเทียม แต่อาจมีคำแถลงว่าการที่จีนสร้างเกาะเทียมนั้นขัดแย้งข้อผูกพันของจีนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เพราะเป็นการสร้างขึ้นในขณะที่ยังไม่มีคำตัดสินเรื่องนี้ออกมา และไม่เป็นธรรมกับคู่กรณี

นักวิเคราะห์ผู้นี้ยังชี้ด้วยว่า ในที่สุดแล้วไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร คำสั่งของคณะอนุญาโตตุลาการจะไม่รวมถึงการตัดสินว่าประเทศใดที่สิทธิ์ครอบครองกลุ่มหินในพื้นที่ทับซ้อนเหล่านั้น

(ผู้สื่อข่าว Simone Orendain รายงานจากกรุงมะนิลา / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG