Your browser doesn’t support HTML5
การตรวจดวงตาเเบบใหม่นี้ น่าจะถือได้ว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการวินิจฉัยหาโรคพาร์คินสันได้เเต่เนิ่นๆ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองเริ่มเป็นโรคนี้จนกระทั่งหลายปีผ่านไป เมื่อโรคลุกลามจนสร้างความเสียหายแก่เซลล์ประสาทในสมอง และส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเเล้ว
ก่อนหน้านี้ ยังไม่มีการตรวจหาโรคหรือการตรวจสแกนสมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันจักษุวิทยา (Institute of Ophthalmology) University College London ได้พัฒนาการตรวจดวงตาวีธีใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีการฉายรังสี เพื่อมองหาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในจอประสาทตา หรือเรติน่าของคนเรา
อันดับเเรก ทีมนักวิทยาศาสตร์ทำการฉีดสารเคมีชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคพาร์คินสันเข้าไปในหนูทดลอง เมื่อทีมงานเริ่มสังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในเรติน่าของหนูทดลอง ทีมงานจะบำบัดหนูทดลองดังกล่าวด้วยยา Rosiglitazone ยาบำบัดโรคเบาหวานที่ช่วยปกป้องรักษาเซลล์ประสาท
พวกเขาเชื่อว่ายาต้านเบาหวานนี้อาจจะมีศักยภาพในการบำบัดโรคพาร์คินสัน
Dr. Eduardo Normando จักษุแพทย์และสมาชิกทีมวิจัยชี้ว่า ยา Rosiglitazone ต้านเบาหวานที่ฉีดให้หนูทดลอง มีผลช่วยบำบัดความเสียหายที่เริ่มเกิดขึ้นในดวงตาและในสมอง
ไม่มีใครรู้ว่าทำไมคนเราจึงเป็นโรคพาร์คินสัน ซึ่งประมาณว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคน 1 ใน 500 คน
Mohammad Ali นักมวยแชมป์โลกชาวอเมริกันผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ป่วยด้วยโรคนี้ การตรวจวินิจฉัยพาโรคพาร์คินสันด้วยการตรวจดูการเปลี่ยนแปลงในจอประสาทตาเป็นด่านแรก น่าจะมีสร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงในการตรวจหาและบำบัดโรคพาร์คินสัน
Dr. Franscesa Cordeiro จักษุแพทย์และสมาชิกทีมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษกล่าวว่า การตรวจดวงตาวิธีใหม่นี้จะช่วยพยากรณ์ได้ว่า ใครควรเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมว่าเป็นโรคพาร์คินสันหรือไม่ และยังสามารถใช้การตรวจจอประสาทตานี้ เฝ้าติดตามดูความก้าวหน้าของโรค และดูว่าผู้ป่วยได้รับการบำบัดที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งนี่ถือว่าจะเป็นความสำเร็จที่สำคัญมาก
(รายงานโดย Deborah Block / เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว)